คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อธิราช มณีภาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่า: การแยกกันอยู่โดยสมัครใจต้องมีพฤติการณ์แสดงเจตนาชัดเจนของทั้งสองฝ่าย
โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้วได้อยู่กินด้วยกันที่บ้านเลขที่611แสดงว่าบ้านเลขที่611ดังกล่าวเป็นบ้านที่โจทก์และจำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัยกินอยู่หลับนอนฉันสามีภริยาซึ่งต่อมาก็มีบุตรด้วยกัน1คนแม้ในระหว่างอยู่กินด้วยกันโจทก์ต้องเดินทางไปรับราชการในต่างจังหวัดและบางครั้งโจทก์และจำเลยได้ทะเลาะกันก็ตามโจทก์ก็ต้องกลับมากินอยู่หลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยเช่นปกติที่สามีภริยาพึงต้องปฏิบัติต่อกันแต่โจทก์กลับไปมีภริยาใหม่และไปอยู่กับภริยาใหม่ถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยแต่ฝ่ายเดียวจำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์การที่โจทก์ได้ส่งเงินให้บุตรและจำเลยไม่ได้ไปมาหาสู่ร่วมอยู่กินหลับนอนกับโจทก์ฉันสามีภริยามิใช่พฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีที่สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน3ปีอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(4/2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกกันอยู่ของสามีภริยาและการขาดเจตนาที่จะอยู่ร่วมกัน
โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้วได้อยู่กินด้วยกันที่บ้านเลขที่ 611 แสดงว่าบ้านเลขที่ 611 ดังกล่าวเป็นบ้านที่โจทก์และจำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัยกินอยู่หลับนอนฉันสามีภริยา ซึ่งต่อมาก็มีบุตรด้วยกัน 1 คนแม้ในระหว่างอยู่กินด้วยกันโจทก์ต้องเดินทางไปรับราชการในต่างจังหวัดและบางครั้งโจทก์และจำเลยได้ทะเลาะกันก็ตาม โจทก์ก็ต้องกลับมากินอยู่หลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยเช่นปกติที่สามีภริยาพึงต้องปฏิบัติต่อกัน แต่โจทก์กลับไปมีภริยาใหม่และไปอยู่กับภริยาใหม่ ถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ การที่โจทก์ได้ส่งเงินให้บุตรและจำเลยไม่ได้ไปมาหาสู่ร่วมอยู่กินหลับนอนกับโจทก์ฉันสามีภริยามิใช่พฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีที่สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 (4/2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6646/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยเบี้ยปรับในสัญญากู้เงิน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้ แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นเป็นประเด็น
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 18 ต่อปี ตามสัญญาข้อ 2 อยู่แล้วส่วนการที่สัญญาข้อ 4 กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไว้ร้อยละ 21 ต่อปี ก็คือการที่จำเลยที่ 1สัญญาให้เบี้ยปรับในฐานผิดสัญญากู้เงินในอัตราร้อยละ 3 ต่อปีซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ให้การถึงและศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดปัญหาเรื่องนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคดีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6491/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่อที่ไม่ผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์: สิทธิการเช่าเป็นบุคคลสิทธิ ไม่ใช่ทรัพยสิทธิ
สัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าเดิมกับจำเลยระบุว่าผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าต่อระยะเวลาการเช่าไปอีกหลังจากที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วเป็นเพียงข้อตกลงต่างหากนอกเหนือจากสัญญาเช่าซึ่งเป็นบุคคลสิทธิไม่ใช่เป็นทรัพยสิทธิที่จะได้เช่าต่อไปคงผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือผู้ให้เช่าห้องพิพาทเดิมกับจำเลยเท่านั้นไม่มีผลผูกพันโจทก์วิ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทซึ่งมิได้ตกลงกับจำเลยในข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้โจทก์ต่อสัญญาเช่าให้อีกเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ในห้องพิพาทต่อไปจำเลยก็ต้องออกไปจากห้องพิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6491/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่อเป็นข้อตกลงเฉพาะคู่สัญญา บุคคลภายนอกผู้รับโอนสิทธิไม่มีผลผูกพัน
สัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าเดิมกับจำเลยระบุว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าต่อระยะเวลาการเช่าไปอีกหลังจากที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วเป็นเพียงข้อตกลงต่างหากนอกเหนือจากสัญญาเช่าซึ่งเป็นบุคคลสิทธิ ไม่ใช่เป็นทรัพยสิทธิที่จะได้เช่าต่อไป คงผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือผู้ให้เช่าห้องพิพาทเดิมกับจำเลยเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์วึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทซึ่งมิได้ตกลงกับจำเลยในข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้โจทก์ต่อสัญญาเช่าให้อีก เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ในห้องพิพาทต่อไป จำเลยก็ต้องออกไปจากห้องพิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักค่าวัสดุค้างชำระ: สิทธิของผู้รับโอนจำกัดตามข้อตกลง
ตามข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยินยอมให้โอนสิทธิเรียกร้องที่ร. จะได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้รับโดยมีเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างให้ต่อเมื่อจำเลยได้หักค่าวัสดุที่ร.ค้างชำระอยู่กับจำเลยเรียบร้อยแล้วย่อมเท่ากับว่าจำเลยได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าวไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308วรรคหนึ่งแล้วสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่ร.มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องประกอบกับสัญญาว่าจ้างที่ตนมีต่อร. ซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้จำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินบรรดาค่าวัสดุที่ค้างชำระอยู่กับจำเลยได้โดยไม่จำกัดว่าค่าวัสดุที่ค้างจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อจำเลยได้คำนวณค่าวัสดุที่ร. ค้างชำระเสร็จสิ้นก่อนที่จะจ่ายเงินค่าจ้างจำเลยย่อมนำไปหักออกจากค่าจ้างคงชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักชำระหนี้ จำเลยมีสิทธิหักค่าวัสดุค้างชำระจากค่าจ้างที่โอนให้โจทก์ได้
ตามข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง มีข้อตกลงกันว่าจำเลยยินยอมให้โอนสิทธิเรียกร้องที่ ร.จะได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้รับโดยมีเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างให้ต่อเมื่อจำเลยได้หักค่าวัสดุที่ ร.ค้างชำระอยู่กับจำเลยเรียบร้อยแล้ว ย่อมเท่ากับว่าจำเลยได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าวไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 วรรคหนึ่ง แล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่ ร.มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องประกอบกับสัญญาว่าจ้างที่ตนมีต่อ ร.ซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ จำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินบรรดาค่าวัสดุที่ค้างชำระอยู่กับจำเลยได้ โดยไม่จำกัดว่าค่าวัสดุที่ค้างจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง เมื่อจำเลยได้คำนวนค่าวัสดุที่ ร.ค้างชำระเสร็จสิ้นก่อนที่จะจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยย่อมนำไปหักออกจากค่าจ้าง คงชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนาย: การเลิกสัญญา, ค่าสินจ้าง, และเบี้ยปรับ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของถือเอาผลสำเร็จของงานคือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความตั้งแต่ตระเตรียมคดีและว่าต่างหรือแก้ต่างในศาลไปจนคดีถึงที่สุดและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่าย สินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้สัญญาจ้างระบุว่า "ผู้ว่าจ้างจะไม่ถอนทนายหรือผู้แทนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หากมีการถอนทนายก่อนคดีถึงที่สุด ผู้ว่าจ้างตกลงที่จะชำระค่าสินจ้างให้เต็มตามจำนวนในสัญญาจ้างนี้" ก็ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ผูกมัดตัดทอนเสรีภาพของผู้ว่าจ้างเพราะมิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ว่าจ้างถอนทนายเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถอนทนายผู้ว่าจ้างก็ยังต้องชำระค่าสินจ้างให้ผู้รับจ้างเต็มจำนวนในสัญญาเท่านั้น ข้อตกลงนี้จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่การที่ผู้ว่าจ้างได้ถอนทนายก่อนคดีถึงที่สุดเช่นนี้ถือว่าผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จซึ่งผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานนั้น ๆ รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้แก่ผู้รับจ้างด้วย ข้อตกลงที่ว่าหากมีการถอนทนายก่อนคดีถึงที่สุดผู้ว่าจ้างยอมใช้ค่าสินจ้างเต็มจำนวนเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าทำนองเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วนศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับขายที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ผู้รับโอนไม่ได้รับการชดใช้ค่าใช้จ่ายในการโอน ย่อมไม่เป็นธรรม
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่2ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์เป็นการพิพากษาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งซึ่งเป็นการบังคับขายตามกฎหมายมิใช่เป็นการซื้อขายโดยสมัครใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวมิใช่เพียงแต่ต้องการคุ้มครองผู้เช่านาให้ได้สิทธิซื้อที่นาที่เช่าอยู่ก่อนคนอื่นเท่านั้นแต่ยังต้องการคุ้มครองผู้รับโอนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ไม่ต้องเสียหายเกินสมควรโดยให้ได้รับการชดใช้คืนซึ่งสิ่งที่ได้ลงไปในการซื้อที่นานั้นมาอย่างบริบูรณ์ด้วยการให้ผู้รับโอนรับภาระค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งอาจเป็นจำนวนท่วมราคาซื้อขายทั้งๆที่ผู้รับโอนถูกบังคับขายเช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าทำให้ผู้รับโอนมิได้รับการชดใช้ซึ่งสิ่งที่ได้ลงไปในการซื้อที่นามาอย่างบริบูรณ์และไม่เป็นธรรมแก่ผู้รับโอนตามเจตนารมณ์ของกฎหมายค่าธรรมเนียมในการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่านาจะต้องรับภาระเองดังนั้นแม้คำพิพากษาศาลฎีกาจะมิได้กำหนดให้โจทก์เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโจทก์ก็จะอาศัยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการซื้อขายหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากราคาซื้อขายที่กำหนดในคำพิพากษาไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษาและจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลโดยมิใช่คำร้องที่สามารถทำได้ฝ่ายเดียวศาลย่อมมีอำนาจส่งสำเนาให้โจทก์เพื่อให้โอกาสคัดค้านและเมื่อศาลฟังคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วก็สามารถมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(2)หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้วหากโจทก์ยังคงไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษาจำเลยที่2ก็ชอบที่จะขอออกคำบังคับและหมายบังคับคดีเพื่อบังคับคดีแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการซื้อที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ และการชดใช้ค่าใช้จ่ายของผู้รับโอน
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ เป็นการพิพากษาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการบังคับขายตามกฎหมาย มิใช่เป็นการซื้อขายโดยสมัครใจตาม ป.พ.พ. บทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวมิใช่เพียงแต่ต้องการคุ้มครองผู้เช่านาให้ได้สิทธิซื้อที่นาที่เช่าอยู่ก่อนคนอื่นเท่านั้น แต่ยังต้องการคุ้มครองผู้รับโอนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ไม่ต้องเสียหายเกินสมควร โดยให้ได้รับการชดใช้คืนซึ่งสิ่งที่ได้ลงไปในการซื้อที่นานั้นมาอย่างบริบูรณ์ด้วย การให้ผู้รับโอนรับภาระค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งอาจเป็นจำนวนท่วมราคาซื้อขายทั้ง ๆ ที่ผู้รับโอนถูกบังคับขายเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่า ทำให้ผู้รับโอนมิได้รับการชดใช้ซึ่งสิ่งที่ได้ลงไปในการซื้อที่นามาอย่างบริบูรณ์ และไม่เป็นธรรมแก่ผู้รับโอนตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ค่าธรรมเนียมในการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในกรณีนี้จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่านาจะต้องรับภาระเอง ดังนั้นแม้คำพิพากษาศาลฎีกาจะมิได้กำหนดให้โจทก์เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์ก็จะอาศัยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการซื้อขายหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากราคาซื้อขายที่กำหนดในคำพิพากษาไม่ได้
เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาและจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลโดยมิใช่คำร้องที่สามารถทำได้ฝ่ายเดียว ศาลย่อมมีอำนาจส่งสำเนาให้โจทก์เพื่อให้โอกาสคัดค้าน และเมื่อศาลฟังคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็สามารถมีคำสั่งได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว หากโจทก์ยังคงไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะขอออกคำบังคับและหมายบังคับคดีเพื่อบังคับคดีแก่โจทก์ได้
of 55