คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อธิราช มณีภาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกช่วงสมรสเป็นสินสมรส แม้พินัยกรรมไม่ระบุเป็นสินส่วนตัว
การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาโจทก์ได้รับมรดกคือที่ดินพิพาทเมื่อปี 2509 ขณะที่มีการใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม การพิจารณาว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า สินสมรสได้แก่ทรัพย์สินทั้งหมดที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส นอกจากที่ระบุไว้ว่าเป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวตามมาตรา 1463หรือ 1464 เมื่อจำเลยได้รับที่ดินพิพาททางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ต่อมาจะมีการแบ่งแยกและออกโฉนดใหม่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใหม่ใช้บังคับแล้ว ก็ไม่ทำให้เปลี่ยนสินส่วนตัว โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเภททรัพย์สินสมรส: พิจารณาตามกฎหมายขณะได้มา แม้มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา
จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในขณะที่ใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่ เมื่อป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท vs. หลายกรรมต่างกัน และการสืบพยานความผิดฐานนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์
การกระทำครั้งเดียวคราวเดียวอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้ หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันหรือมีเจตนา อย่างเดียวกันแต่ประสงค์ให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐานต่างกัน การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปร่วมกันเลื่อยตัดทำไม้ประดู่ ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยได้เลื่อยตัดฟันออกจากต้น แล้วเลื่อยออกเป็นแผ่น จำนวน 97 แผ่น ปริมาตร 1.40 ลูกบาศก์เมตร ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้กระทำ ในคราวเดียวกันนั้น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นหลายกรรมในความผิดต่างฐานต่างหากจากกัน โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27,27 ทวิแสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง เพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน จะลงโทษจำเลยทั้งสามในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิด และเป็นความจริงตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ไม่ขอต่อสู้คดี และไม่ต้องการทนายความย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่า จำเลยทั้งสามได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งสาม เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งสามไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ: เจ้าของแท้จริงมีสิทธิแม้ไม่ใช่เจ้าของขณะกระทำผิด
ตาม ป.อ. มาตรา 36 ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ ไม่จำกัดเฉพาะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะมีการกระทำความผิดเท่านั้น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมมีอำนาจจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของตนได้ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางยังไม่ทำให้รถจักรยานยนต์ของกลางตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.อ.มาตรา 35 เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากมีการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ควรริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนี้ในระหว่างที่คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลฎีกา เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้โดยชอบ และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงและมีสิทธิมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วได้ภายในกำหนด 1 ปี และเมื่อผู้ร้องและ ส.เจ้าของเดิมของรถจักรยานยนต์ของกลางขณะที่จำเลยนำไปใช้ในการกระทำความผิด มิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ถูกริบ: สิทธิของเจ้าของเดิมก่อนคดีถึงที่สุด
ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบจะตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 ก็ต่อเมื่อคดีถึงที่สุด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่เมื่อมีการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในข้อดังกล่าวและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา รถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าว จึงยังหาตกเป็นของแผ่นดินไม่ ดังนั้น เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางย่อมโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ร้องได้ เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริง และมีสิทธิยื่นคำร้อง ขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วภายในกำหนด 1 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงมีสิทธิแม้โอนกรรมสิทธิ์ก่อนคดีถึงที่สุด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบไม่จำกัดเฉพาะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะมีการกระทำความผิดเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมมีอำนาจจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของตนได้ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางยังไม่ทำให้รถจักรยานยนต์ของกลางตกเป็น ของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากมีการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ควรริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนี้ในระหว่างที่คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลฎีกา เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้โดยชอบ และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงและมีสิทธิมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วได้ภายในกำหนด 1 ปี และเมื่อผู้ร้องและ ส. เจ้าของเดิมของรถจักรยานยนต์ของกลางขณะที่จำเลยนำไปใช้ในการกระทำความผิด มิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญารับฝากขายและการหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายจากการไม่คืนพื้นที่
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงินไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้าจำเลยเช่ามาจากบริษัท ซ. ต่อมาบริษัท ซ. บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อจำเลยได้ ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลา ที่ยังไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน หักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน
การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหายให้จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาท นั้น เป็นฎีกาที่เกินกว่าคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญารับฝากขาย การหักกลบลบหนี้ค่าเสียหาย และสิทธิในการได้รับเงินประกันคืน
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงิน ไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้า จำเลยเช่ามาจากบริษัทซ.ต่อมาบริษัทซ.บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การชำระหนี้ ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน มาใช้บังคับโจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมแต่โจทก์เมื่อยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยก ขึ้นมาวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อ จำเลยได้ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับ จำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์ แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการ ไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลาที่ยังไม่ส่งมอบ พื้นที่พิพาทคืนหักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย ดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่ จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหาย ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาทนั้นเป็นฎีกาที่เกินกว่า คำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้เพราะฟ้องแย้ง เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามคำพิพากษาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรส: การยอมรับจำนวนเงินที่ระบุในคำฟ้องถือเป็นการชำระหนี้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสโดยระบุจำนวนราคาสินสมรสมาในคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสโดยกำหนดราคาทรัพย์แต่ละอันดับไว้ ศาลฎีกาเห็นว่าการแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1533 จึงพิพากษาว่าถ้าจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งสินสมรสอันดับใดให้นำสินสมรสอันดับนั้นออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง นอกจากที่แก้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งหมายถึงว่าการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทอันดับใดได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ระบุในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาที่ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทนั้น แต่ในทางกลับกันจำเลยก็คงจะรับผิดต่อโจทก์ไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่โจทก์กล่าวอ้างและมีคำขอมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยยอมแบ่งสินสมรสตามจำนวนเงินที่ระบุมาในคำฟ้องแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอระบุพยานเพิ่มเติมหลังพ้นกำหนด ต้องแสดงเหตุอันสมควร
การที่จำเลยจะยื่นคำร้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว จำเลยจะต้องแสดงถึงเหตุอันสมควรให้ฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่า ต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนหรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใดไว้ในคำร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสี่ แต่ตามคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยระบุเพียงว่าจำเลยเพิ่งได้พบกับพยานเท่านั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเหตุอันสมควรที่จำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานที่จำเลยขออ้างเพิ่มเติมนั้นมาสืบ หรือไม่ทราบว่าพยานนั้นได้มีอยู่ หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงชอบแล้ว
of 55