พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ: การปรับบทมาตรา 336 ทวิ และความถูกต้องของการลงโทษ
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิเป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335,335 ทวิหรือมาตรา 336 ต้องรับโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากจากบทมาตราดังกล่าวไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)(8) วรรคสาม,336 ทวิเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 336 ทวิ ซึ่งเป็นบทหนัก และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามมาจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(3)(8) วรรคสาม ประกอบด้วย มาตรา 336 ทวิ,83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ กรณีอายุจำเลยปรากฏหลังพิจารณาชั้นต้น: ไม่ต้องโอนคดี
ข้อเท็จจริงเรื่องอายุของจำเลยมิได้ปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ เมื่อคดีนี้ได้ทำการพิจารณาโดยศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันถือได้ว่าเป็นการโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 15 แล้วจึงไม่ต้องโอนคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลาภมิควรได้กับการซื้อขาย: สิทธิเกิดขึ้นเมื่อใด, อายุความเท่าไร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467 ห้ามฟ้อง ในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องหรือ ล้ำจำนวนจากที่ตกลงซื้อขายกันเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่ เวลาส่งมอบ ดังนั้น หากผู้ซื้อต้องการเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบที่ดินที่ขาดจำนวนเพื่อให้ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน ผู้ซื้อ ต้องฟ้องให้ผู้ขายรับผิดส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดดังกล่าวแก่ผู้ซื้อภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนซื้อขาย โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ซื้อขายกันแก่โจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปบางส่วนคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน และจำเลยไม่อาจ อ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ จึงเป็นการฟ้อง เรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 กรณีต้องบังคับด้วยอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม มาตรา 419 ที่บัญญัติห้าม มิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่า ตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้ มีขึ้น โจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2533 อันถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดินซื้อขายกัน ให้แก่โจทก์โดยชอบในวันดังกล่าว สิทธิที่โจทก์จะเรียกร้องให้ จำเลยคืนเงินฐานลาภมิควรได้เกิดขึ้นแล้ว แต่โจทก์เพิ่งมา รู้ว่าที่ดินที่ซื้อจากจำเลยขาดตกบกพร่องจำนวนไปเมื่อ ได้มีการเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากหนังสือรับรองการ ทำประโยชน์มาเป็นโฉนดที่ดินที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 และนำคดีมาฟ้องเรียกเงิน คืนฐานลาภมิควรได้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 จึงยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการซื้อขาย เป็นอย่างอื่น การปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายจึงต้องถือ อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์และขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกัน ตามฟ้อง และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องที่จำเลยได้ส่งมอบ ที่ดินให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว และที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ ขาดไปเพราะถูกกันเป็นถนนและในปัญหาอื่นนอกจากนี้ ขึ้นมาแม้จำเลยจะได้นำสืบไว้ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอก คำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาท ถือได้ว่าเป็นข้อที่ มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งการที่ที่ดินที่ซื้อขายจะส่งมอบให้แก่กันขาดจำนวนมากน้อย เพียงใดและด้วยเหตุใดนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่รับ วินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเหล่านี้ของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลาภมิควรได้ vs. สัญญาซื้อขาย: ศาลยืนตามคำตัดสินเดิม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467 ห้ามฟ้อง ในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จากที่ตกลงซื้อขายกันเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ ดังนั้น หากผู้ซื้อต้องการเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบที่ดิน ที่ขาดจำนวนเพื่อให้ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน ผู้ซื้อต้องฟ้องให้ผู้ขายรับผิดส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดดังกล่าวแก่ผู้ซื้อภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนซื้อขาย โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดตกบกพร่อง จากจำนวนที่ซื้อขายกันแก่โจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้อง เรียกเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปบางส่วน คืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน และจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมาย ที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์ คืนฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 กรณีต้องบังคับด้วยอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม มาตรา 419 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่ เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน กันเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2533 อันถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดิน ที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยชอบในวันดังกล่าว สิทธิที่โจทก์ จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินฐานลาภมิควรได้เกิดขึ้นแล้ว แต่โจทก์เพิ่งมารู้ว่าที่ดินที่ซื้อจากจำเลยขาดตกบกพร่อง จำนวนไปเมื่อได้มีการเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจาก หนังสือรับรองการทำประโยชน์มาเป็นโฉนดที่ดินที่ทางราชการ ออกให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 และนำคดีมาฟ้อง เรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536จึงยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการซื้อขายกัน เป็นอย่างอื่น การปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายทั่วไปจึงต้องถือ อายุความทั่วไปสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับ โจทก์และคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกัน ตามฟ้อง และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น การที่ จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องที่จำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ ครบถ้วนแล้วและที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ขาดไปเพราะถูกกัน เป็นถนนและในปัญหาอื่นนอกจากนี้ขึ้นมาแม้จำเลยจะได้ นำสืบไว้ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ข้อพิพาทถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งการที่ที่ดินที่ซื้อขายจะส่งมอบให้แก่กันขาดจำนวนมากน้อยเพียงใดและด้วยเหตุใดนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเหล่านี้ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 225 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินขาดจำนวน: พิจารณาจากวันที่รู้สิทธิและอายุความทั่วไปสิบปี
ป.พ.พ.มาตรา 467 ห้ามฟ้องในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนจากที่ตกลงซื้อขายกันเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบดังนั้น หากผู้ซื้อต้องการเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบที่ดินที่ขาดจำนวนเพื่อให้ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน ผู้ซื้อต้องฟ้องให้ผู้ขายรับผิดส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดดังกล่าวแก่ผู้ซื้อภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนซื้อขาย
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ซื้อขายกันแก่โจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปบางส่วนคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน และจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406กรณีต้องบังคับด้วยอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม มาตรา 419 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันเมื่อวันที่ 27พฤศจิกายน 2533 อันถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยชอบในวันดังกล่าว สิทธิที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินฐานลาภมิควรได้เกิดขึ้นแล้วแต่โจทก์เพิ่งมารู้ว่าที่ดินที่ซื้อจากจำเลยขาดตกบกพร่องจำนวนไปเมื่อได้มีการเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาเป็นโฉนดที่ดินที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 และนำคดีมาฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 จึงยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการซื้อขายกันเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายทั่วไปจึงต้องถืออายุความทั่วไปสิบปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/30
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์และคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันตามฟ้อง และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องที่จำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ครบถ้วนแล้วและที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ขาดไปเพราะถูกกันเป็นถนนและในปัญหาอื่นนอกจากนี้ขึ้นมาแม้จำเลยจะได้นำสืบไว้ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งการที่ที่ดินที่ซื้อขายจะส่งมอบให้แก่กันขาดจำนวนมากน้อยเพียงใดและด้วยเหตุใดนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเหล่านี้ของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 225 ชอบแล้ว
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ซื้อขายกันแก่โจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปบางส่วนคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน และจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406กรณีต้องบังคับด้วยอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม มาตรา 419 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันเมื่อวันที่ 27พฤศจิกายน 2533 อันถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยชอบในวันดังกล่าว สิทธิที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินฐานลาภมิควรได้เกิดขึ้นแล้วแต่โจทก์เพิ่งมารู้ว่าที่ดินที่ซื้อจากจำเลยขาดตกบกพร่องจำนวนไปเมื่อได้มีการเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาเป็นโฉนดที่ดินที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 และนำคดีมาฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 จึงยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการซื้อขายกันเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายทั่วไปจึงต้องถืออายุความทั่วไปสิบปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/30
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์และคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันตามฟ้อง และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องที่จำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ครบถ้วนแล้วและที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ขาดไปเพราะถูกกันเป็นถนนและในปัญหาอื่นนอกจากนี้ขึ้นมาแม้จำเลยจะได้นำสืบไว้ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งการที่ที่ดินที่ซื้อขายจะส่งมอบให้แก่กันขาดจำนวนมากน้อยเพียงใดและด้วยเหตุใดนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเหล่านี้ของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 225 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดเจตนา: การไถดินในพื้นที่ครอบครองตามปกติ ไม่เป็นความผิดป่าสงวน
บริเวณที่เกิดเหตุเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติชื่อป่าขุนซ่องซึ่งการกำหนดเขตป่าสงวนดังกล่าวได้ออกเป็นกฎกระทรวงและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งได้ปิดประกาศให้ ประชาชนทั่วไปทราบแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่เขตป่าสงวนแห่งชาติ บริเวณนี้มีราษฎรเข้าทำประโยชน์อยู่ทั่วไป โดยทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลังและไร่ต้นยูคาลิปตัส ซึ่งทางกรมป่าไม้และ ฝ่ายปกครองอนุโลมผ่อนผันให้ราษฎรที่ทำประโยชน์อยู่แล้วได้ทำ ประโยชน์ต่อไปเป็นแต่ไม่ให้บุกรุกป่าเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันจะได้รับหนังสือสิทธิทำกิน บริเวณที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ผ่านการทำประโยชน์มาแล้ว สภาพทั่วไปมีแต่กิ่งไม้ ตอไม้จะมีต้นไม้ขึ้นบ้างเป็นต้นเล็ก ๆ แสดงว่าบริเวณที่เกิดเหตุเป็น ที่ดินที่ได้รับการผ่อนผันให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ได้ จำเลยที่ 1 เป็นคนอยู่นอกพื้นที่ห่างไกลจากเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณ ที่เกิดเหตุมีอาชีพรับจ้างขับรถ แบคโฮ ขุดสระน้ำและไถดิน เมื่อ จำเลยที่ 3 ว่าจ้างมาขุดสระน้ำในไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 ทั้งบริเวณใกล้เคียงก็ล้วนเป็นที่ดินทำไร่มีผู้ครอบครอง หลังจากขุด สระน้ำให้จำเลยที่ 3 เสร็จแล้วก็ถูกว่าจ้างให้เข้าไปไถในบริเวณ ที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับที่ดินไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 อีก ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจได้ว่าที่เกิดเหตุ เป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองที่จะนำรถขุดเข้าไปไถได้เช่นที่ จำเลยที่ 3 ให้ขุดสระน้ำในไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 ซึ่งในชั้นจับกุม และชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ก็ให้การยืนยันว่ามีผู้ว่าจ้าง ให้เข้าไปไถดินในบริเวณที่เกิดเหตุ ทำให้เห็นว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำไปโดยสำคัญผิดเข้าใจว่าสามารถที่จะเข้าไปไถที่บริเวณที่เกิดเหตุได้ เป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินผ่านนายหน้า: จำเลยไม่ต้องรับผิดฐานฉ้อโกง หากโจทก์ทราบสถานะนายหน้าและไม่ได้พิสูจน์การหลอกลวง
ขณะตกลงซื้อขายที่ดินกันโจทก์ร่วมรู้อยู่แล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของ แต่เป็นนายหน้าขายที่ดินเท่านั้น แสดงว่า โจทก์ร่วมซึ่งประกอบอาชีพจัดสรรบ้านและที่ดินขายย่อมทราบว่าผู้ทำธุรกิจเป็นนายหน้านำที่ดินของบุคคลอื่นมาเสนอขายย่อมต้องการบำเหน็จเป็นค่าตอบแทนทั้งเมื่อโจทก์ร่วมตกลง ซื้อที่ดินแล้วโจทก์ร่วมก็ไม่ได้พบเจ้าของที่ดินเลยนั้นก็ไม่เป็น การผิดปกติที่จะฟังว่าเป็นการปกปิดหลอกลวงโจทก์ร่วม เพราะจำเลยอาจต้องการผลต่างของราคาที่ดินเป็นกำไร อีกส่วนหนึ่งจากการขายที่ดินก็เป็นได้ ทั้ง ท.และอ. เจ้าของที่ดินก็รับว่าได้รับเงินมัดจำที่โจทก์ร่วมมอบผ่านจำเลย มาให้ตนแล้ว นอกจากนี้ก่อนที่โจทก์ร่วมจะตกลงซื้อที่ดิน โจทก์ร่วมได้ไปดูที่ดินกับจำเลยแล้วด้วย ดังนั้น การที่ โจทก์ร่วมนำหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดินไปตรวจแล้ว ปรากฏว่าชื่อผู้ถือสิทธิครอบครองไม่ใช่ ท.กับอ. ก็ดีหรือต่อมาภายหลังเมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบแล้วไม่อาจที่จะออกหนังสือรับรอง การทำประโยชน์เพื่อโอนขายให้แก่โจทก์ร่วมได้ตามที่ตกลงกันก็เป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเป็นไปตามที่ตกลงกันเท่านั้น เมื่อพิจารณาถึงการที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ร่วมเพื่อนำไปให้เจ้าของที่ดินจำนวน 600,000 บาทนั้นจำเลยได้ทำหลักฐานการรับเงินให้แก่โจทก์ร่วมจนครบถ้วน และเมื่อโจทก์ร่วมขอเงินคืน จำเลยก็รับว่าจะคืนให้ แต่ขอเลื่อนเวลาออกไปก่อน พฤติการณ์เช่นนี้จึงเป็น เรื่องผูกพันกันในทางแพ่งว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายผิดสัญญาคดีของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะให้ฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่ง ควรบอกให้แจ้ง อันจะเป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมให้ผู้เยาว์ใช้รถ-รู้เห็นการกระทำผิด
กุญแจที่ใช้กับรถจักรยานยนต์ของกลางมีจำนวน 2 ชุด โดยชุดหนึ่งแขวนไว้ในบ้านเพื่อให้บุคคลในบ้านสามารถหยิบไปใช้ได้ ส่วนอีกชุดหนึ่งจะเก็บรักษาไว้สำหรับเมื่อกุญแจที่แขวนไว้ดังกล่าวสูญหาย และจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ร้อง และส่วนใหญ่จำเลยจะนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถจักรยานยนต์ไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเช่นนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ปกครองยินยอมให้ผู้เยาว์ใช้รถโดยขาดการควบคุม ย่อมถือว่ารู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
กุญแจที่ใช้กับรถจักรยานยนต์ของกลางมีจำนวน 2 ชุดโดยชุดหนึ่งแขวนไว้ในบ้านเพื่อให้บุคคลในบ้านสามารถหยิบไปใช้ได้ ส่วนอีกชุดหนึ่งจะเก็บรักษาไว้สำหรับเมื่อกุญแจที่แขวนไว้ดังกล่าวสูญหาย และจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ร้อง และส่วนใหญ่จำเลยจะนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถจักรยานยนต์ไปใช้ในกิจการใดเมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเช่นนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ปกครองต่อการกระทำผิดของผู้เยาว์ กรณีอนุญาตให้ใช้รถโดยขาดการควบคุมดูแล
ผู้ร้องเป็นมารดาจำเลยผู้เยาว์ ผู้ร้องเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ที่บ้านโดยบุคคลในบ้านทุกคนสามารถนำกุญแจไปใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลางได้ จำเลยสามารถหยิบกุญแจนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบุคคลใด ในวันเกิดเหตุจำเลยได้นำกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกกล่าวผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ทราบว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดนั้น แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว