คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อธิราช มณีภาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ผู้เยาว์ใช้รถจักรยานยนต์โดยประมาท ผู้ปกครองมีส่วนร่วมความผิด
การที่ผู้ร้องเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ที่บ้านโดยบุคคลในบ้านทุกคนรวมทั้งจำเลยสามารถนำกุญแจไปใช้ขับขี่ รถจักรยานยนต์ของกลางได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบุคคลใด แสดงว่า ผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ดังกล่าว ไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการ โดยไม่คำนึงถึงว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์และอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถ ไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่ แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเช่นนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องเห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ผู้เยาว์ใช้รถจักรยานยนต์โดยประมาทเลินเล่อถือเป็นความรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
ผู้ร้องเป็นมารดาจำเลยผู้เยาว์ ผู้ร้องเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ที่บ้านโดยบุคคลในบ้านทุกคนสามารถนำกุญแจไปใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลางได้ จำเลยสามารถหยิบกุญแจนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบุคคลใด ในวันเกิดเหตุจำเลยได้นำกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกกล่าวผู้ร้องและผู้ร้องไม่ทราบว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดนั้น แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถไปใช้ในกิจการใดเมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุโต้แย้งข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้ว และฎีกาโต้เถียงดุลยพินิจศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานรับของโจรสามกรรม ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีความผิดเพียงกรรมเดียว เมื่อพิจารณาคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าจำเลยรับทรัพย์ ของผู้เสียหายไว้คราวเดียวเท่านั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การรับสารภาพแล้ว และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย แต่จำเลยกลับฎีกาในปัญหาข้อนี้ว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่า จำเลยได้รับทรัพย์ ของกลางดังกล่าวไปแต่ละคราวอย่างไร จึงถือได้ว่าทรัพย์ของกลาง นั้นจำเลยได้รับไว้ในคราวเดียวกัน และความผิดฐานรับของโจรสำเร็จทันทีตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับทรัพย์นั้นไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นจำเลยจะได้แยกทรัพย์ที่ได้รับมาออกใช้หรือจำหน่าย ประการใดก็ตาม ก็หาเป็นความผิดฐานรับของโจรขึ้นอีกไม่จำเลยจึงมีความผิดเพียงกรรมเดียวนั้น เป็นฎีกาที่หาได้โต้แย้ง คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกา ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินแก่บุคคลที่สามโดยสุจริต แม้มีสัญญาจะซื้อขายก่อนหน้านี้ ผู้ซื้อรายแรกไม่อาจเพิกถอนได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือสำคัญเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ซึ่งทางราชการออกให้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมา จำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดิน โดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ตามหนังสือสัญญาขายฝากแต่โจทก์ยื่นคำคัดค้านอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2515 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายแม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม2515 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตามฐานะของโจทก์ก็มีเพียงขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น แต่การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดิน-พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจที่จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สุจริตของผู้ซื้อฝาก-การเพิกถอนนิติกรรมขายฝาก: แม้มีสัญญาจะซื้อขายก่อน แต่ผู้ซื้อฝากสุจริตและชำระค่าตอบแทนแล้ว โจทก์ไม่อาจเพิกถอนได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือสำคัญเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ซึ่งทางราชการออกให้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมาจำเลยที่ 2นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดินโดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาขายฝากโจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ได้ขายให้โจทก์ก่อนแล้วตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังนี้ แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท กันก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตามฐานะของโจทก์ก็มีเพียงขอให้ เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น แต่ในการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาท จากจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียน ขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทน และกระทำการโดยสุจริตแล้วโจทก์ย่อมไม่อาจที่ จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดิน: สิทธิของโจทก์ผู้ทำสัญญาจะซื้อขายก่อน และผลของการจดทะเบียนโดยสุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมาจำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดิน โดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก การที่โจทก์ยื่นคำคัดค้านอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2515 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1ได้สละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ดังนี้ ฐานะของโจทก์ย่อมมีเพียงขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1และโดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจที่จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถปล่อยเช่าโดยไม่ดูแลการใช้งาน ย่อมถือว่ารู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิด
หลังจากจำเลยเช่ารถจากผู้ร้องโดยอ้างว่าเพื่อ บรรทุกพืชไร่ พืชสวนแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้สนใจว่าจำเลย จะนำรถของกลางไปบรรทุกสิ่งของใด หรือจะบรรทุกน้ำหนักเกิน อย่างไรก็ได้ ซึ่งผู้ร้องไม่เคยห้ามปรามหรือทักท้วงมิให้จำเลย นำรถไปบรรทุกน้ำหนักเกิน ทั้งในสัญญาเช่ารถที่ผู้ร้องและจำเลยทำต่อกันก็มิได้ระบุห้ามไว้ด้วย ตามพฤติการณ์จึงส่อแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องไม่ได้ใส่ใจดูแลรถของตนเท่าที่ควร แต่ปล่อยให้จำเลยนำรถไปใช้ได้ตามอำเภอใจแม้เป็นความผิด ผู้ร้องก็ไม่ห้ามปรามหรือหาทางเลิกสัญญาเช่านั้นเสีย ผู้ร้องพอใจเพียงขอให้ตนได้รับเงินค่าเช่าเท่านั้นเอง กรณีเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุม-สืบสวนข้ามเขต: ความผิดต่อเนื่องและความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) จ่าสิบตำรวจ ส.มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้ และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้น เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส.ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78, 81 และ 92
จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส.เป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส.จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1 ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส.เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส.ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 81 (1), 92 (2)
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนและสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามป.วิ.อ.มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสาม (ก) พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมและสอบสวนข้ามเขตท้องที่: ความผิดซึ่งหน้าและต่อเนื่อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และตามมาตรา 17 ยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ซึ่งอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นอันหมายความว่าเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจนั้น ย่อมเป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน แล้วได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 1 ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร เป็นการต่อเนื่องกันทันทีเช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการจับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกันซึ่งหากล่าช้าจำเลยที่ 1 อาจหลบหนีไปได้และจากการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังได้เมทแอมเฟตามีนอีกด้วย ดังนั้น แม้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยที่ 1ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม ก็ย่อมมีอำนาจจับกุมได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 81(1),92(2) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนและสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3)และวรรคสาม (ก) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตำรวจในการจับกุมและสอบสวนนอกเขตท้องที่: ความผิดต่อเนื่องและเหตุความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)จ่าสิบตำรวจ ส. มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะ ในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส. ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่ สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78,81 และ 92 จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดซึ่งหน้าเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจ ส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบ เมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95 เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่ รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส. ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81(1),92(2) การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน และสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมี อำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก) พนักงานอัยการโจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
of 55