คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อธิราช มณีภาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีมรดก - การอ้างกรรมสิทธิ์จากการครอบครองเมื่อเคยมีคำพิพากษาแล้ว
คดีแพ่งเรื่องก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว โดยโจทก์กับพวกรวม 5 คนฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์กับพวก โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์กับพวกดังกล่าวเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ผู้เดียวฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกแปลงดังกล่าวอีกโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกโดยการครอบครอง เนื่องจากทายาทอื่นและจำเลยมิได้เข้าครอบครองที่ดินส่วนนี้และมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกภายในเวลา 1 ปี นับแต่ ท.เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ประเด็นสำคัญในคดีก่อนมีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกเพียงใด การที่โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์ได้ครอบครองทรัพย์มรดกจนได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าส่วนที่ตนมีสิทธิได้รับตามคำพิพากษาของศาลที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อนว่าโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกในที่ดินพิพาทเพียงใดนั้น แม้จะเป็นการเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอีก 4 คน และต่อมาทายาทดังกล่าวก็ได้สละสิทธิที่จะพึงได้ให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม เมื่อศาลต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงใด คดีนี้จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีมรดกเดิมวินิจฉัยสิทธิแล้ว การฟ้องใหม่โดยอ้างกรรมสิทธิ์จากการครอบครองจึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งเรื่องก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว โดยโจทก์กับพวกรวม 5 คน ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์กับพวกโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์กับพวกดังกล่าวเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ผู้เดียวฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกแปลงดังกล่าวอีกโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดก โดยการครอบครอง เนื่องจากทายาทอื่นและจำเลยมิได้ เข้าครอบครองที่ดินส่วนนี้และมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกภายในเวลา 1 ปี นับแต่ท.เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ประเด็นสำคัญในคดีก่อนมีว่า โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกเพียงใด การที่โจทก์ กลับมาฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์ได้ครอบครองทรัพย์มรดกจน ได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าส่วนที่ตนมีสิทธิได้รับตามคำพิพากษา ของศาลที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อนว่าโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดก ในที่ดินพิพาทเพียงใดนั้น แม้จะเป็นการเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอีก 4 คน และต่อมาทายาทดังกล่าวก็ได้สละสิทธิที่จะพึงได้ให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม เมื่อศาล ต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และโจทก์ มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงใด คดีนี้จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีมรดกเดิมมีข้อพิพาทเรื่องสิทธิส่วนแบ่ง หากฟ้องใหม่ประเด็นเดิม แม้เปลี่ยนเหตุผล ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์กับพวกรวม 5 คน ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดก ตามโฉนดที่ดิน เลขที่ 803 โดยอ้างว่าโจทก์กับพวกเป็นทายาท ขอแบ่งมรดกจากจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 803 โดยอ้างว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกโดยการครอบครอง เนื่องจากทายาทอื่นและจำเลยมิได้เข้าครอบครองที่ดินส่วนนี้ และมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกภายในเวลา 1 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย ประเด็นสำคัญแห่งคดีก่อนจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกเพียงใด และคดีนี้ ศาลก็คงต้องวินิจฉัยอีกว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงใด ดังนั้น คดีนี้ จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบตามสัญญา และการคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญากู้
ตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันระบุว่าบรรดาหนังสือ จดหมาย คำบอกกล่าว และเอกสารใด ๆของผู้รับจำนอง หากได้ส่งไปยังสถานที่ที่ผู้จำนองระบุว่าเป็น ภูมิลำเนาของผู้จำนองตามสัญญาฉบับนี้ หรือสถานที่แห่งอื่นที่ผู้จำนองแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าผู้รับจำนองจะได้นำส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ ไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ และไม่ว่าจะมีผู้รับหรือไม่ก็ตามผู้จำนองยินยอมให้ถือว่า บรรดาหนังสือหรือเอกสารดังกล่าวได้จัดส่งให้แก่ผู้รับจำนองโดยชอบแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวไปให้จำเลยตามที่อยู่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาที่จำเลยระบุไว้ในสัญญาจำนอง จึงเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปให้แก่จำเลยที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยอีกด้วย การส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองถึงจำเลย ทั้งสองแห่งดังกล่าว เป็นทางการโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและส่งถึงสถานที่อยู่ทั้งสองแห่งแล้วเช่นนี้ ย่อมถือ ได้ว่าจำเลยได้รับและทราบหนังสือที่โจทก์บอกกล่าวบังคับ จำนอง และการที่โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายใน กำหนดอันเป็นเวลาพอสมควรก่อนที่โจทก์จะฟ้องบังคับจำนองโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ตาม สัญญากู้เงินฉบับพิพาทแล้ว จำเลยผิดนัด โจทก์จึงมีหนังสือทวงถาม ให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองภายใน วันที่กำหนด อันเป็นระยะเวลาอันสมควร แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินโดยเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว ดังนั้นความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมสิ้นสุดไปด้วยภายในวันที่กำหนดและปรากฏว่าในวันที่ดังกล่าวตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 19 ต่อปี เท่านั้น ดังนี้โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้ สินเชื่อในขณะฟ้องคดีที่ให้โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 25 ต่อปี ได้ไม่เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญากู้สิ้นผลไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองและการสิ้นสุดสิทธิปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
ตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน ระบุว่าบรรดาหนังสือ จดหมาย คำบอกกล่าว และเอกสารใด ๆ ของผู้รับจำนอง หากได้ส่งไปยังสถานที่ที่ผู้จำนองระบุว่าเป็นภูมิลำเนาของผู้จำนองตามสัญญาฉบับนี้ หรือสถานที่แห่งอื่นที่ผู้จำนองแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าผู้รับจำนองจะได้นำส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ ไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ และไม่ว่าจะมีผู้รับหรือไม่ก็ตาม ผู้จำนองยินยอมให้ถือว่า บรรดาหนังสือหรือเอกสารดังกล่าว ได้จัดส่งให้แก่ผู้รับจำนองโดยชอบแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวไปให้จำเลยตามที่อยู่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาที่จำเลยระบุไว้ในสัญญาจำนอง จึงเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปให้แก่จำเลยที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยอีกด้วย การส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองถึงจำเลยทั้งสองแห่งดังกล่าว เป็นทางการโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและส่งถึงสถานที่อยู่ทั้งสองแห่งแล้วเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้รับและทราบหนังสือที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง และการที่โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในกำหนดอันเป็นเวลาพอสมควรก่อนที่โจทก์จะฟ้องบังคับจำนองโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 728
เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทแล้ว จำเลยผิดนัด โจทก์จึงมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองภายในวันที่กำหนด อันเป็นระยะเวลาอันสมควร แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินโดยเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว ดังนั้นความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมสิ้นสุดไปด้วยภายในวันที่กำหนด และปรากฏว่าในวันที่ดังกล่าวตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 19 ต่อปี เท่านั้น ดังนี้โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อในขณะฟ้องคดีที่ให้โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 25ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญากู้สิ้นผลไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะ
โจทก์ไม่ได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกัน การที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน200 ตารางวา อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นทำให้โจทก์เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดิน ดังกล่าวโดยตรง เพราะหากจำเลยแพ้คดีโจทก์จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความ ซึ่งแสดงว่าสัญญาจ้างว่าความมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิ ในการดำเนินคดีของจำเลยมาจัดการให้ โดยขอรับส่วนแบ่ง จากที่ดินเป็นค่าตอบแทนเมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการ ช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นเป็นความกัน วัตถุประสงค์ ของสัญญาจ้างว่าความจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาจ้างว่าความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะ
นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 นั้น นอกจากเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัยแล้วยังมีกรณีที่เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอีกด้วย ซึ่งหมายความว่า แม้การกระทำนั้นจะไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง ตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้เลย แต่ถ้าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วนิติกรรมนั้นก็ย่อม ตกเป็นโมฆะเช่นกัน แม้การที่โจทก์เรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยโดยใช้ วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้ จากคู่ความนั้นจะไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 สัญญาจ้างว่าความจึงไม่ตกเป็นโมฆะเพราะเหตุ ดังกล่าวก็ตาม แต่สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท ซึ่งเดิมโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกันเลยการที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน 200 ตารางวาอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นนั้น ย่อมทำให้ โจทก์เป็นผู้เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าวโดยตรง เพราะ หากจำเลยต้องแพ้คดีแล้ว โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความเนื่องจาก จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์จะได้รับส่วนแบ่ง เป็นค่าจ้างตามฟ้องนั้นทั้งแปลง ดังนี้ สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท จึงมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิในการดำเนินคดีของจำเลย มาจัดการให้โดยขอรับส่วนแบ่งจากที่ดินดังกล่าวเป็นค่าตอบแทน เมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่น เป็นความกันวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาจ้างว่าความ: การรับส่วนแบ่งทรัพย์สินพิพาทขัดต่อความสงบเรียบร้อย
นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 นั้น นอกจากเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัยแล้วยังมีกรณีที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอีกด้วยซึ่งหมายความว่า แม้การกระทำนั้นจะไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เลย แต่ถ้าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วนิติกรรมนั้นก็ย่อมตกเป็นโมฆะเช่นกัน
แม้การที่โจทก์เรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยโดยใช้วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้จากคู่ความนั้นจะไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ. 2529 สัญญาจ้างว่าความจึงไม่ตกเป็นโมฆะเพราะเหตุดังกล่าวก็ตาม แต่สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท ซึ่งเดิมโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกันเลยการที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน 200 ตารางวา อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นนั้น ย่อมทำให้โจทก์เป็นผู้เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าวโดยตรง เพราะหากจำเลยต้องแพ้คดีแล้ว โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความเนื่องจากจำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์จะได้รับส่วนแบ่งเป็นค่าจ้างตามฟ้องนั้นทั้งแปลง ดังนี้ สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิในการดำเนินคดีของจำเลยมาจัดการให้โดยขอรับส่วนแบ่งจากที่ดินดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนเมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นเป็นความกันวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินและขอบเขตการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ตรงกับศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ และด้านทิศใต้อีกประมาณ 2 งานขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า ที่ดินเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ปีละ600 บาท จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาที่ดินพิพาทคือทุนทรัพย์ชั้นฎีกามีเพียง 101,500 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง: ทุนทรัพย์น้อยเกินไป แม้โต้เถียงข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่และด้านทิศใต้อีกประมาณ 2 งาน ขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหายจำเลยให้การว่า ที่ดินเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ปีละ 600 บาทจำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาที่ดินพิพาทคือทุนทรัพย์ชั้นฎีกามีเพียง 101,500 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 55