พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวบุคคลในคดีอาญา: พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการลงโทษ จำเลยปฏิเสธ และไม่มีพฤติการณ์หลบหนี
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน คนร้ายได้มาดักซุ่ม ยิงผู้เสียหายอยู่ที่บริเวณหลังจอมปลวกอย่างกะทันหันขณะนั้นในที่เกิดเหตุก็มีเพียงแสงสว่างจากไฟหน้ารถคันที่เกิดเหตุเท่านั้น โอกาสที่ผู้เสียหายทั้งสามจะมองเห็นและจดจำใบหน้าคนร้ายให้ได้ทุกคนจึงเป็นไปไม่ได้ โอกาสจำ บุคคลผิดพลาดไปก็มีได้มาก ทั้งหากผู้เสียหายทั้งสามเห็น และจำคนร้ายได้แน่ชัดว่าเป็นจำเลยทั้งสามจริงก็จะต้อง พูดคุยกันและแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจไปติดตามจับกุมตัว จำเลยทั้งสามให้ได้โดยเร็ว แต่ผู้เสียหายก็มิได้กระทำการ ดังกล่าวนั้น ดังนั้น แม้ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 จะชี้ตัวจำเลยทั้งสามว่าเป็นคนร้ายก็ตาม ก็ไม่ทำให้พยานโจทก์ มีน้ำหนักดีขึ้น เพราะผู้เสียหายทั้งสามรู้จักกับ จำเลยทั้งสามมาก่อนแล้วเป็นอย่างดี ส่วนจำเลยทั้งสามนั้น นอกจากจะยืนยันให้การปฏิเสธมาโดยตลอดแล้ว หลังเกิดเหตุ จำเลยทั้งสามก็มิได้หลบหนีไปอยู่ที่อื่นอันจะถือเป็น ข้อพิรุธแต่ประการใด ฉะนั้นพยานหลักฐานของโจทก์จึง ไม่มีน้ำหนักพอที่จะฟังลงโทษจำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหลังสัญญา และเบี้ยปรับ: ศาลฎีกาชี้ขาดขอบเขตการบังคับใช้
เบี้ยปรับนั้นเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่ลูกหนี้ตกลงไว้ล่วงหน้ายอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทกำหนดว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนดังนี้ ปีแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ12.95 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ HLR-0.5 ต่อปี(ซึ่ง ณ วันทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย HLR-14.0 ต่อปี) แต่หากธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่ากฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ผู้กู้ตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ โดยให้ถือว่า ผู้กู้ได้ทราบและให้ความยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้วโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น และตามสัญญาจำนองที่ดินฉบับพิพาทก็กำหนดให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในทำนองเดียวกันนั้น อันเป็นกรณีที่จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในวันทำสัญญาให้สูงขึ้นอีกได้ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์ทุกเดือนตามสัญญาเรื่อยมาโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 แล้วก็ผิดนัดจนโจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยดำเนินการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่5 ตุลาคม 2540 และหนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2540 สัญญากู้จึงเป็นอันสิ้นสุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงมีอยู่ก่อนวันที่สัญญากู้สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนวันดังกล่าวโจทก์มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ19 ต่อปี ตามประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อมิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540ตามอัตราที่โจทก์คิดคำนวณเอาโดยอาศัยตามประกาศ เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประกาศของของโจทก์หลังจากที่สัญญากู้ได้สิ้นสุดไปแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยตามสัญญา และการบังคับจำนอง: ศาลไม่อาจลดเบี้ยปรับ
เบี้ยปรับนั้นเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่ลูกหนี้ตกลงไว้ล่วงหน้ายอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา
ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทกำหนดว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนดังนี้ ปีแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12.95 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FLOATING RATE) ในอัตราร้อยละ HLR - 0.5 ต่อปี (ซึ่งณ วันทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย HLR = 14.0 ต่อปี) แต่หากธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่ากฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ผู้กู้ตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ โดยให้ถือว่า ผู้กู้ได้ทราบและให้ความยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยไม่โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น และตามสัญญาจำนองที่ดินฉบับพิพาทก็กำหนดให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในทำนองเดียวกันนั้น อันเป็นกรณีที่จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในวันทำสัญญาให้สูงขึ้นอีกได้ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์ทุกเดือนตามสัญญาเรื่อยมาโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 แล้วก็ผิดนัด จนโจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยดำเนินการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2540 และหนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยแล้วเมื่อวันที่ 18กันยายน 2540 สัญญากู้จึงเป็นอันสิ้นสุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงมีอยู่ก่อนวันที่สัญญากู้สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนวันดังกล่าวโจทก์มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ มิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540 ตามอัตราที่โจทก์คิดคำนวณเอาโดยอาศัยตามประกาศ เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประกาศของโจทก์หลังจากที่สัญญากู้ได้สิ้นสุดไปแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทกำหนดว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนดังนี้ ปีแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12.95 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FLOATING RATE) ในอัตราร้อยละ HLR - 0.5 ต่อปี (ซึ่งณ วันทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย HLR = 14.0 ต่อปี) แต่หากธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่ากฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ผู้กู้ตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ โดยให้ถือว่า ผู้กู้ได้ทราบและให้ความยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยไม่โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น และตามสัญญาจำนองที่ดินฉบับพิพาทก็กำหนดให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในทำนองเดียวกันนั้น อันเป็นกรณีที่จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในวันทำสัญญาให้สูงขึ้นอีกได้ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์ทุกเดือนตามสัญญาเรื่อยมาโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 แล้วก็ผิดนัด จนโจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยดำเนินการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2540 และหนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยแล้วเมื่อวันที่ 18กันยายน 2540 สัญญากู้จึงเป็นอันสิ้นสุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงมีอยู่ก่อนวันที่สัญญากู้สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนวันดังกล่าวโจทก์มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ มิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540 ตามอัตราที่โจทก์คิดคำนวณเอาโดยอาศัยตามประกาศ เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประกาศของโจทก์หลังจากที่สัญญากู้ได้สิ้นสุดไปแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่: ผลของพฤติการณ์นอกเหนือความควบคุม และกำหนดเวลาตามกฎหมาย
แม้พนักงานเดินหมายปิดคำบังคับไว้ที่ภูมิลำเนาของจำเลยตามทะเบียนราษฎร์เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ในวันที่ 7 มีนาคม 2540 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสองจำเลยจึงอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดเวลา 15 วันนับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดวันที่21 มีนาคม 2540 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยอ้างว่าจำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 กรณีถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลา 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยทราบว่าถูกฟ้องดังนี้ จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลา15 วัน นับแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่พฤติการณ์ดังกล่าวนั้นสิ้นสุดลงเป็นต้นไป แต่เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คือภายในวันที่7 สิงหาคม 2540 ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่งจำเลยจึงสิ้นสิทธิที่จะขอให้พิจารณาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่า เครื่องถ่ายเอกสารของศาลเสียทำให้ไม่มีเอกสารใช้ประกอบคำขอให้พิจารณาใหม่ เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น เมื่อจำเลยสิ้นสิทธิที่จะขอพิจารณาใหม่ไปแล้วข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ปรากฏในคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือบังคับได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่: กำหนดเวลาและพฤติการณ์นอกเหนือควบคุม
แม้พนักงานเดินหมายปิดคำบังคับไว้ที่ภูมิลำเนาของจำเลยตามทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ในวันที่7 มีนาคม 2540 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง จำเลยจึงอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดวันที่ 21 มีนาคม 2540 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยอ้างว่าจำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 กรณีถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยทราบว่าถูกฟ้อง ดังนี้จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ 23กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่พฤติการณ์ดังกล่าวนั้นสิ้นสุดลงเป็นต้นไป แต่เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คือภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2540ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงสิ้นสิทธิที่จะขอให้พิจารณาใหม่
ที่จำเลยฎีกาว่า เครื่องถ่ายเอกสารของศาลเสียทำให้ไม่มีเอกสารใช้ประกอบคำขอให้พิจารณาใหม่ เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น เมื่อจำเลยสิ้นสิทธิที่จะขอพิจารณาใหม่ไปแล้ว ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ปรากฏในคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือบังคับได้อีก
ที่จำเลยฎีกาว่า เครื่องถ่ายเอกสารของศาลเสียทำให้ไม่มีเอกสารใช้ประกอบคำขอให้พิจารณาใหม่ เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น เมื่อจำเลยสิ้นสิทธิที่จะขอพิจารณาใหม่ไปแล้ว ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ปรากฏในคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือบังคับได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: พฤติการณ์เลี้ยงดูฉันสามีภริยา ไม่เข้าข่ายความผิด
ผู้เยาว์กับจำเลยรู้จักสนิทสนมกันมานานประมาณ 4 ปีมีความรักใคร่ชอบพอกันอยู่ก่อนแล้ว ผู้เยาว์เองก็รับว่าสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลย นอกจากนี้บิดามารดาจำเลยเคยติดต่อสู่ขอผู้เยาว์จากบิดามารดาผู้เยาว์แต่ตกลงในจำนวนเงินค่าสินสอดกันไม่ได้ ผู้เยาว์จึงติดตามไปอยู่กับจำเลย และหลังจากนั้นก็อยู่กินกับจำเลยมาโดยตลอดมิได้กลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของตนจนผู้เยาว์ตั้งครรภ์ พฤติการณ์ของจำเลยที่พาผู้เยาว์ไปอยู่กินด้วยกันก็ด้วย ประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยาจริง ๆ ประกอบกับจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อน จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเลี้ยงดูผู้เยาว์ฉันสามีภริยาได้โดยแท้ การกระทำของจำเลยไม่อาจถือว่าเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ และโจทก์ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 48,000 บาท แต่ตกลงผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน เดือนละ 800 บาท นับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2529 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 25 ของทุกเดือนถัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งจะชำระเสร็จสิ้นภายในวันที่ 25 กันยายน 2534 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นมา ฉะนั้น หนี้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นไป โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังไม่เกินกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 48,000 บาทแต่ตกลงผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน เดือนละ 800 บาท นับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม2529 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 25 ของทุกเดือนถัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ซึ่งจะชำระเสร็จสิ้นภายในวันที่ 25 กันยายน 2534 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นมา ฉะนั้นหนี้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน2530 เป็นต้นไป โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังไม่เกินกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วางเพลิงรถและพยายามวางเพลิงอาคารผู้เสียหาย ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษตามเดิม
เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วมีจำเลยคนเดียวเท่านั้นที่เดินออกมาจากที่เกิดเหตุเพลิงไหม้โดยที่เกิดเหตุ มีเศษผ้าที่มีกลิ่นน้ำมันเหลือเป็นเศษให้เห็นอยู่ และจากการ จุดไฟวางเพลิงนี้เองทำให้ไฟไหม้ข้อเท้าทั้งสองข้างของจำเลย บาดแผลที่เกิดจากไฟไหม้จึงปรากฏให้เห็นเป็นรอยแผลสดอยู่ โดยในวันรุ่งขึ้นจำเลยได้ไปทำการรักษาบาดแผลนี้ จึงมิใช่ เป็นเหตุบังเอิญที่จำเลยถูกน้ำร้อนลวกในคืนเกิดเหตุ แล้ววันรุ่งขึ้นจึงได้ไปทำการรักษาดังที่จำเลยอ้าง และที่จำเลยวางเพลิงรถของผู้เสียหายก็เพราะจำเลยโกรธ ที่ผู้เสียหายกีดกันไม่ให้จำเลยคืนดีกับพี่สาวของผู้เสียหาย นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อรถที่จำเลยวางเพลิงอยู่ในโรงเก็บรถ ซึ่งอยู่ติดกับอาคารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภัตตาคารและเป็น อาคารที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายกับพวกแล้วจำเลยย่อม เล็งเห็นว่าเพลิงนั้นย่อมลุกลามไปเผาผลาญอาคาร ที่ตั้งภัตตาคารและที่ผู้เสียหายกับพวกอยู่อาศัยนั้นด้วย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้แจ้งชัดว่าจำเลย เป็นผู้วางเพลิงรถของผู้เสียหายและพยายามวางเพลิงอาคาร ที่ผู้เสียหายกับพวกอยู่อาศัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายบุพการี แม้ผู้เสียหายไม่ประสงค์เอาโทษ ก็ไม่เป็นเหตุรอการลงโทษ
จำเลยทำร้ายผู้เสียหายซึ่งเป็นบุพการีของจำเลย นับเป็น การกระทำที่ขาดความยำเกรงเคารพนับถืออย่างยิ่ง ดังนั้น แม้ผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะเอาโทษจำเลย ก็ไม่เป็น เหตุที่จะรอการลงโทษ