คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933-1949/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จลูกจ้างต่อเนื่องจากนายจ้างเดิมหลังการเช่าโรงงาน และการคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระ
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่ากำหนดว่าระยะเวลาทำงานอันเป็นเกณฑ์ทำงานเงินบำเหน็จทดแทนของพนักงานและคนงานเดิมของโรงงานสุรากรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ผู้เช่ารับโอนมาทำงานกับผู้เช่าต่อไปมีอยู่แล้วเพียงใด ผู้เช่ายอมให้นำมานับต่อเนื่องกับระยะเวลาทำงานของพนักงานและคนงานนั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณจ่ายเงินบำเหน็จดังนั้นจะนำเฉพาะระยะเวลาที่ลูกจ้างจะทำงานกับจำเลยมาคำนวณบำเหน็จหาได้ไม่ข้อความอื่นในสัญญาเช่าที่กำหนดว่าจำเลยต้องนำเงินจำนวนเท่ากับค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้างทุก ๆ ปี ฝากประจำไว้กับธนาคารพาณิชย์เป็นเพียงหลักประกันว่าจำเลยว่าจำเลยจะมีเงินจ่ายเป็นบำเหน็จให้แก่ลูกจ้าเท่านั้นหาอาจแปลว่าจำเลยคงต้องจ่ายบำเหน็จเท่าค่าจ้างปีละเดือนเฉพาะระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานกับจำเลยไม่ ส่วนที่ลูกจ้างเคยรับบำเหน็จตัดตอนไปจากรมโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด นั้น เมื่อจำเลยเข้าดำเนินการในโรงงานสุรา จำเลยได้ตกลงทำสัญญาเช่าให้นำระยะเวลาทำงานของลูกจ้างตั้งแต่เข้าทำงานในโรงงานสุรามารวมเป็นฐานคำนวณบำเหน็จ จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า ดังนั้นการคำนวณบำเหน็จของลูกจ้างจึงต้องคำนวณโดยเอาค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้าง คูณด้วยระยะเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มทำงานกับโรงงานสุราบางยี่ขันตลอดมาจนออกจากงานหรือตาย ได้จำนวนเงินเท่าใดลบด้วยจำนวนเงินบำเหน็จโดยเอาค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้างที่ได้รับจากบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดคูณด้วยระยะเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มทำงานในโรงงานสุราบางยี่ขันตลอดมาจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2522 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเช่าโรงงานสุรา ผลลัพธ์เป็นจำนวนเงินบำเหน็จที่จำเลยต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง
คำสั่งของกระทรวงอุตสาหกรรมให้นับระยะเวลาเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จเป็นอย่างเดียวกับบทบัญญัติว่าด้วยการนับเวลาราชการทวีคูณของข้าราชการตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494มีความมุ่งหมายว่าพนักงานและคนงานโรงงานสุนามีฐานะใกล้เคียงกับข้าราชการ สมควรได้นับเวลางานทวีคูณอย่างเดียวกับข้าราชการแต่ไม่มีเหตุที่พนักงานและคนงานดังกล่าวจะได้นับเวลาทำงานทวีคูณนอกเหนือไปกว่าข้าราชการพึงได้รับ ดังนั้นหากมีเหตุตามกฎหมายที่ข้าราชการไม่อาจนับเวลาราชการทวีคูณ เหตุนั้นย่อมทำให้พนักงานและคนงานไม่อาจนับเวลาทำงานเป็นทวีคูณด้วย
เมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย จำเลยต้องชำระบำเหน็จแก่ลูกจ้างหรือทายาทตามสัญญาเช่า หนี้เงินบำเหน็จจึงถึงกำหนดชำระ หลังจากลูกจ้างหรือโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคหนึ่งหนี้บำเหน็จเป็นหนี้เงินจึงต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เมื่อวันทวงถามและผิดนัดสำหรับลูกจ้างไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นวันใด โจทก์จึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ: เวลาราชการทวีคูณและเศษของปี
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 14 วรรคสอง มิได้ใช้ถ้อยคำแต่เพียงว่า "เวลาราชการ" แต่ใช้คำว่า "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" ซึ่งมีความหมายกว้างกว่า เพราะ "เวลาราชการ" นั้น หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ ส่วน "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ รวมทั้งเวลาราชการที่ไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ ด้วย เช่น มาตรา 24 วรรคสอง ให้นับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่ได้มีประกาศใช้กฎอัยการศึกเป็นทวีคูณเป็นต้นซึ่งไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ แต่ก็ถือว่าเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ ด้วยเหตุนี้ มาตรา 14 วรรคสอง จึงไม่ใช้ถ้อยคำว่า"ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" แต่ใช้ว่า "ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" เพื่อให้มีความหมายกว้างและเพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการผู้ลาออกจากราชการนั่นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์มีเวลาราชการจริง ๆ 17 ปี 10 เดือน 30 วัน และมีเวลาราชการทวีคูณในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก อีก 6 ปี 9 เดือน 27 วัน หักวันลากิจลาป่วยระหว่างเวลาราชการทวีคูณแล้ว รวมเป็นเวลาราชการทั้งสิ้น 25 ปี 7 เดือน18 วัน อันเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามนัยดังกล่าวแต่โดยที่ มาตรา 4 ประกอบด้วยมาตรา 29 วรรคแรก บัญญัติให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญแต่จำนวนปีเศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี ซึ่งโจทก์มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญที่เป็นเศษของปีถึงครึ่งปี คือ 7 เดือน 18 วัน จึงต้องนับเป็นหนึ่งปี เมื่อรวมกับ 24 ปีแรก จึงเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปีบริบูรณ์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำนาญ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิได้รับบำนาญซึ่งขณะยื่นฟ้อง ไม่อาจกำหนดจำนวนเงินได้แน่นอนโดยโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใด จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเวลาราชการสำหรับบำนาญ: เวลาราชการจริงรวมเวลาราชการทวีคูณ และการนับเศษปีเป็นปี
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 14 วรรคสอง มิได้ใช้ถ้อยคำแต่เพียงว่า "เวลาราชการ" แต่ใช้คำว่า "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" ซึ่งมีความหมายกว้างว่า เพราะ "เวลาราชการ" นั้น หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ ส่วน "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ รวมทั้งเวลาราชการที่ไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ ด้วย เช่นมาตรา 24 วรรคสองให้นับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่ได้รับประกาศให้กฎอัยการศึกเป็นทวีคูณเป็นต้น ซึ่งไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ แต่ก็ถือว่าเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ ด้วยเหตุนี้มาตรา 14 วรรคสอง จึงไม่ใช้ถ้อยคำว่า "ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" แต่ใช้ว่า "ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" เพื่อให้มีความหมายกว้างและเพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการผู้ลาออกจากราชการนั่นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์มีเวลาราชการจริง ๆ 17 ปี 10 เดือน 30 วัน และมีเวลาราชการทวีคูณในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึกอีก 6 ปี 9 เดือน 27 วัน หักวันลากิจ ลาป่วยระหว่างเวลาราชการทวีคูณแล้ว รวมเป็นเวลาราชการทั้งสิ้น 24 ปี 7 เดือน 18 วัน อันเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามนัยดังกล่าว แต่โดยที่มาตรา 4 ประกอบด้วยมาตรา 29 วรรคแรก บัญญัติให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญแต่จำนวนปีเศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
ซึ่งโจทก์มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญที่เป็นเศษของปีถึงครึ่งปี คือ 7 เดือน 18 วัน จึงต้องนับเป็นหนึ่งปีเมื่อรวมกัน 24 ปีแรกจึงเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปีบริบูรณ์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำนาญ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิได้รับบำนาญซึ่งขณะยื่นฟ้องไม่อาจกำหนดจำนวนเงินได้แน่นอนโดยโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใดจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
of 2