คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 335

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์ด้วยกลอุบายร้ายแรง ศาลลดโทษจำคุกจากเดิม
จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาทรัพย์หลายรายการใส่ในกล่องกระดาษใส่พัดลม และนำผ่านเครื่องเก็บเงินของผู้เสียหาย และชำระราคาสินค้าเท่ากับราคาค่าพัดลม 3 เครื่อง ซึ่งมีราคา น้อยกว่าราคาสินค้าในกล่องกระดาษเป็นการลักทรัพย์โดยใช้ กลอุบาย แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันคบคิด แสวงหาวิธีการ หลอกลวงตบตาผู้เสียหายไว้ก่อน ลักษณะและพฤติการณ์แห่งความผิด จึงถือได้ว่าร้ายแรง จำเลยทั้งสองเป็นผู้ใหญ่ และจำเลยที่ 2 มีครอบครัวและบุตรแล้ว ถือได้ว่ามีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี พอสมควรกลับมากระทำผิดจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกจากดุลพินิจของศาลชั้นต้น และการพิจารณาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76, 78
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปีเพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6)ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) และมาตรา 247 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกันโดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก. ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค.สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม 2539เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต วันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้าง ไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน 25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคา เป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาทซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลย เท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขโทษจำคุก และการกำหนดโทษตามความร้ายแรงของแต่ละกรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปี เพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกัน โดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก.ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริตวันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรม เป็นกระทงความผิดไปได้ ตาม ป.อ.มาตรา 91
จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคาเป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาท ซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ต่อเนื่องกัน ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษแม้โจทก์มิได้ฟ้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายนั้นนาฬิกาของผู้เสียหายหลุดจากข้อมือ จำเลยที่ 1 กับพวกมิได้เข้าหยิบฉวยนาฬิกาแต่อย่างใด กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกวิ่งไล่ตามผู้เสียหายไปจนถึงปากซอย แสดงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย แต่เมื่อทำร้ายผู้เสียหาย แล้วเห็นนาฬิกาของผู้เสียหายตกอยู่จึงมีเจตนาที่จะเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน และเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายและฐานลักทรัพย์เท่านั้น การทำร้ายร่างกายและการลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องให้ลงโทษในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์อันเป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลถึงจำเลยอื่นที่ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89 แม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์และการรับฟังพยานหลักฐานสนับสนุนข้อต่อสู้ โดยไม่ขัดต่อหลักการรับฟังพยานเอกสาร
คดีซึ่งห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารหรือสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้น ได้แก่คดีซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสาร มาแสดง แต่คดีความผิดฐานลักทรัพย์หาได้มีกฎหมายบังคับ ไว้เช่นนั้นไม่ คู่ความจึงอาจนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อต่อสู้ของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การรับสารภาพแล้วปฏิเสธภายหลัง ศาลต้องเปิดโอกาสโจทก์สืบพยาน หากไม่ทำเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรจำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพฐานรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นสอบจำเลย จำเลยกลับแถลงเพิ่มเติมว่า จำเลยไม่รู้ว่าทรัพย์ที่เอามาเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา แม้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ทราบคำแถลงเพิ่มเติมที่เป็นการให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรไปโดยผิดหลง เพราะเห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลชั้นต้นจึงมิได้เปิดโอกาสให้โจทก์สืบพยานเช่นนี้ เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธ แต่โจทก์ไม่ติดใจสืบพยานการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีลงโทษจำเลยไป จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพแล้วปฏิเสธฟ้อง: ศาลต้องเปิดโอกาสโจทก์สืบพยานก่อนพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรจำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพฐานรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นสอบจำเลย จำเลยกลับแถลงเพิ่มเติมว่า จำเลยไม่รู้ว่าทรัพย์ที่เอามาเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา แม้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ทราบคำแถลงเพิ่มเติมที่เป็นการให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรไปโดยผิดหลง เพราะเห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลชั้นต้นจึงมิได้เปิดโอกาสให้โจทก์สืบพยานเช่นนี้ เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธ แต่โจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีลงโทษจำเลยไป จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา243 (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6118/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาแก้โทษคดีรับของโจรของจำเลยเยาวชน โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แม้ว่าโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่เมื่อในทางพิจารณารับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้ว ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม แม้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษกับคดีนี้ต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ศาลฎีกาจะเพิ่มเติมโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6118/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาลงโทษฐานรับของโจรได้แม้โจทก์ฎีกาขอลงโทษฐานลักทรัพย์ และจำกัดโทษตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แม้ว่าโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่เมื่อในทางพิจารณารับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้วศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสาม
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษกับคดีนี้ต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ศาลฎีกาจะเพิ่มเติมโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีลักทรัพย์: การขยายผลไปยังทรัพย์สินของผู้เสียหายอื่น
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 ไม่ใช่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความกันได้ ไม่จำต้องร้องทุกข์ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนทราบว่ามีการกระทำความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นจากการแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหายที่ 1 ว่าคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านและรายการทรัพย์สินที่ถูกลักไปมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 2 รวมอยู่ด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนเรื่องเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 2
of 57