พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิด ต้องเกิดขึ้นขณะกระทำผิด ไม่ใช่หลังกระทำผิด
ในเมื่อขณะคนร้ายลักทรัพย์ จำเลยมิได้ร่วมกระทำผิดหรือสนับสนุนการกระทำผิดด้วยแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยอยู่ที่บ้าน ล.ในขณะที่คนร้ายนำของที่ลักมาเก็บที่บ้าน ล.นั้น เป็นเหตุการณ์หลังจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการลักทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาว่าเพิงพักแผงลอยเป็นเคหสถานตามกฎหมายอาญา เพื่อใช้ในการพิจารณาคดีลักทรัพย์
ผู้เสียหายเช่าแผงลอยที่ทางราชการจัดแบ่งให้พ่อค้าแม่ค้าเช่าเป็นที่ขายสินค้าเป็นล็อกซึ่งกันไว้เป็นสัดส่วนแล้วทำเพิงพักใช้เป็นที่ขายสินค้าและพักอาศัยในบริเวณที่ค้าขายนั้นด้วย เพิงพักแผงลอยของผู้เสียหายจึงเป็นเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญา: การลักทรัพย์ในสภาวะที่สามารถรู้ผิดชอบได้ และการลดโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง
ก่อนกระทำผิดจำเลยให้แพทย์ตรวจร่างกาย 2 ครั้ง เนื่องจากจำเลยปวดศีรษะ สับสน และนอนไม่หลับ ถ้ามีการดื่มสุรามากหรือเกิดความเครียดมากอาจไม่รู้สึกตัวประมาณ 12-13 ชั่วโมง ในคืนเกิดเหตุจำเลยได้ดื่มสุราแล้วจำเลยได้ใช้มีดงัดสายยูประตูห้องที่เกิดเหตุเข้าไปลักทรัพย์แล้วนำทรัพย์ที่ลักไปเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้าที่บ้านพักจำเลย วันรุ่งขึ้นผู้บังคับบัญชาจำเลยสอบถามเรื่องคนร้ายลักทรัพย์ จำเลยรับสารภาพและคืนของกลางทั้งหมดชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ถ้าจำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบ คงไม่อาจให้รายละเอียดในการกระทำของตนได้ พฤติการณ์ในคดีรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดในขณะที่สามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้งต้องห้าม - โจทก์ขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แต่ฎีกาเสนอให้ลงโทษทั้งสองฐานโดยไม่ระบุเหตุผล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดฐานรับของโจร จึงถือว่ายกฟ้องฐานลักทรัพย์โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องฐานรับของโจร ความผิดฐานลักทรัพย์จึงยุติการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ผิดฐานรับของโจรและไม่ลงโทษฐานลักทรัพย์ จึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์มิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานรับของโจร คงโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาในฎีกาว่าเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานรับของโจรเท่ากับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานลักทรัพย์ก็ต้องพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์และก็สรุปเอาว่า หากศาลฎีกาไม่ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์และเห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานรับของโจร ก็ให้ลงโทษฐานรับของโจร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานบุกรุกเมื่อฟ้องพยายามลักทรัพย์: ศาลไม่ถือว่าเป็นการลงโทษนอกคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์ และฐานบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80,335,362,364,365ทั้งสองกระทงความผิดเมื่อได้ความตามทางพิจารณาว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์แต่กระทำผิดฐานบุกรุกเท่านั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยฐานบุกรุกได้ไม่เป็นการลงโทษนอกคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์เปลี่ยนฐานความผิดจากลักทรัพย์เป็นยักยอก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานยักยอก ตามมาตรา 352 วรรคแรกจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์บนรถบรรทุกไม่ถือเป็นความผิดตาม ม.336 ทวิ หากไม่ได้ใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการกระทำผิด
จำเลยมีหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกขนส่ง และลักเอาโทรทัศน์สีที่บรรทุกอยู่บนรถนั้นเอง แม้จะได้ความว่า จำเลยขับรถคันเกิดเหตุออกนอกเส้นทางหลบไปที่อื่น เพื่อประสงค์จะลักโทรทัศน์สีของผู้เสียหายก็ตาม การกระทำของจำเลยก็มิใช่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกฟ้องฐานรับของโจร แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ เนื่องจากข้อหาดังกล่าวสิ้นสุดแล้วหลังศาลชั้นต้นพิพากษาเฉพาะความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ต้องถือว่าข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ยุติไปแล้ว จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ ประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะวินิจฉัยคือ จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีความผิดฐานรับของโจร และลงโทษจำเลยฐานรับของโจรซึ่งยุติไปแล้วนั้นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกา ขอให้ยกฟ้องข้อหาฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ยกฟ้องจำเลยในข้อหาฐานลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาที่ศาลอุทธรณ์ผิดขั้นตอน โดยวินิจฉัยข้อหาที่ยุติแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
การที่จำเลยช่วยจำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียซึ่งโคของผู้เสียหายอันเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรณีจะเป็นความผิดก็เข้าลักษณะฐานรับของโจร แม้จำเลยร่วมกับผู้อื่นยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ก็ไม่แสดงว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักโคของผู้เสียหายไป โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานลักทรัพย์ ถือว่ายกฟ้องข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาฐานรับของโจรย่อมยุติ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องฐานลักทรัพย์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์แต่มีความผิดฐานรับของโจร และพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานรับของโจรจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยทั้งสองมีสิทธิฎีกาขอให้ยกฟ้องฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: การกระทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันปราบปรามการลักลอบตัดไม้ ไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร
จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรรถเข็นและไม้แปรรูป โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงได้ว่า รถเข็นและไม้ของผู้เสียหายถูกลักไปอย่างไร ผู้เสียหายเบิกความว่าพบคนแต่งเครื่องแบบคล้ายทหาร กลัวจะจับผู้เสียหายในข้อหามีไม้ผิดกฎหมาย จึงทิ้งรถเข็นและไม้ไว้ จำเลยนำสืบว่าทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ได้สั่งให้อาสาสมัครผู้ใต้บังคับบัญชานำไม้ผิดกฎหมายที่ตรวจพบไปเก็บรักษาไว้ ดังนี้การกระทำของจำเลยและอาสาสมัครเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์รถเข็นและไม้ไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยรับทรัพย์สินดังกล่าวไว้ จึงไม่ผิดฐานรับของโจร.