พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานล่าสัตว์ในเขตป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ การกระทำความผิดกรรมเดียวแต่หลายบท และการแก้ไขปรับบทโทษ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย บัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐานในการลงโทษจำเลย แต่เป็นการห้ามมิให้รับฟังเฉพาะคำรับสารภาพของจำเลยเป็นพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยนั้นเอง มิได้ห้ามรับฟังถ้อยคำในชั้นจับกุมของจำเลยอื่นด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลย่อมนำถ้อยคำในชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกที่พาดพิงว่า จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกระทำความผิดด้วย มารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ และคำให้การในชั้นสอบสวนถือเป็นพยานบอกเล่าและพยานซัดทอด แต่กฎหมายมิได้ห้ามรับฟังเสียทีเดียว หากมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานประกอบอื่นมาสนับสนุน ก็สามารถรับฟังลงโทษจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 227/1
ป่าที่เกิดเหตุเป็นเขตอุทยานแห่งชาติและเป็นป่าสงวนแห่งชาติ การล่าสัตว์ป่าคุ้มครองจึงเป็นความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง อีกกระทงหนึ่งด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความผิดฐานนี้เป็นการไม่ชอบ และความผิดฐานร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติกับความผิดฐานร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ฐานร่วมกันกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ฐานร่วมกันกระทำให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ภายในเขตอุทยานแห่งชาติด้วยประการใด ๆ และฐานร่วมกันยิงปืนในเขตอุทยานแห่งชาติ ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความผิดฐานร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติต่างกรรมกับความผิดฐานอื่นจึงไม่ถูกต้องเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ป่าที่เกิดเหตุเป็นเขตอุทยานแห่งชาติและเป็นป่าสงวนแห่งชาติ การล่าสัตว์ป่าคุ้มครองจึงเป็นความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง อีกกระทงหนึ่งด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความผิดฐานนี้เป็นการไม่ชอบ และความผิดฐานร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติกับความผิดฐานร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ฐานร่วมกันกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ฐานร่วมกันกระทำให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ภายในเขตอุทยานแห่งชาติด้วยประการใด ๆ และฐานร่วมกันยิงปืนในเขตอุทยานแห่งชาติ ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความผิดฐานร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติต่างกรรมกับความผิดฐานอื่นจึงไม่ถูกต้องเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ต้องระบุการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลและผู้กระทำต้องรู้
คำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แม้พอจับใจความได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากผิดสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่การโอนทรัพย์ไปให้แก่ผู้อื่นเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ อันจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 นั้น จะต้องปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และผู้กระทำก็ต้องรู้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุเช่นนั้น คงบรรยายเพียงว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยคาดหมายว่าโจทก์อาจฟ้องร้องบังคับคดีเท่านั้น คำฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง คดีไม่มีมูลแม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้อง
การที่จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมคือมารดาโจทก์เพราะการอ้างเอกสารดังกล่าวอาจมีผลให้มารดาโจทก์แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่มารดาโจทก์ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์มิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5, 6
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องแล้ว และป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้คดีมีมูลได้ แต่หากคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์และเห็นว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องแล้ว และป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้คดีมีมูลได้ แต่หากคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์และเห็นว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2564 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายที่แท้จริง vs. ผู้จัดการมรดก กรณีใช้เอกสารปลอม
บุคคลซึ่งจะมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล ต้องเป็นพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 และผู้เสียหายหมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 ตามมาตรา 2 (4)
จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงคือ จ. เพราะการที่จำเลยอ้างส่งเอกสารดังกล่าวอาจมีผลทำให้ จ. แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทน จ. ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 อีกด้วย ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนไม่ปรากฏว่า คดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นสัญญาปลอมดังข้อต่อสู้ของ จ. โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ จ. จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาคดีนี้เพราะเหตุจากการที่จำเลยอ้างส่งสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งดังกล่าว และแม้คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา และ ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่าคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงคือ จ. เพราะการที่จำเลยอ้างส่งเอกสารดังกล่าวอาจมีผลทำให้ จ. แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทน จ. ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 อีกด้วย ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนไม่ปรากฏว่า คดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นสัญญาปลอมดังข้อต่อสู้ของ จ. โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ จ. จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาคดีนี้เพราะเหตุจากการที่จำเลยอ้างส่งสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งดังกล่าว และแม้คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา และ ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่าคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารปลอมเพื่อขอสินเชื่อ ศาลฎีกาแก้ให้ไม่รอการลงโทษ
จำเลยปลอมลายมือชื่อ ธ. ในฐานะผู้แทนนิติบุคคลผู้เสียหายที่ 1 ในสัญญาเงินกู้จำนวน 4,200,000 บาท สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชีจำนวน 1,800,000 บาท และสัญญามอบสิทธิเรียกร้องเงินฝากเป็นประกันจำนวน 1,800,000 บาท และปลอมลายมือชื่อ ธ. ในฐานะส่วนตัว ในสัญญาค้ำประกันสองฉบับเพื่อค้ำประกันสัญญาเงินกู้ข้างต้น หลังจากนั้นจำเลยนำสัญญาทุกฉบับไปใช้อ้างแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมเพื่อขอกู้ยืมเงินในเวลาเดียวกัน ดังนี้ แม้สัญญาดังกล่าวจะเป็นเอกสารคนละฉบับกัน แต่จำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาเดียวกันคือเพื่อมุ่งหมายที่จะให้ได้เงินจากโจทก์ร่วมเป็นหลัก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4375/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยสนับสนุนผู้อื่นปลอมเอกสารสิทธิเพื่อฉ้อโกง โทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกง
จำเลยเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการที่มีการปลอมลายมือชื่อผู้เสียหายที่ 2 กรณีมีเหตุเชื่อได้ว่า จำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อให้ผู้อื่นปลอมเอกสารสิทธิ การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ ย่อมลงโทษจำเลยได้เพียงฐานสนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ เมื่อจำเลยใช้เอกสารสิทธิปลอมโดยเป็นผู้สนับสนุนให้ปลอมเอกสารสิทธินั้น จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 ให้ลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมแต่กระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นสาธารณสมบัติฯ หลังศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องคดีที่ดิน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารออกไปจากที่ดิน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้ยกคำร้องขอให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดิน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน คดีจึงมีประเด็นว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน โจทก์มิได้ฎีกา คดีอาญาจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ส่วนข้อวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประเด็นว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เป็นเพียงมูลเหตุแห่งคดีอาญาเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดแล้ว คู่ความชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง, 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ยกฎีกาจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีไม้หวงห้าม จำเลยต้องพิสูจน์ที่มาของไม้ หากไม่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายถือว่าผิด
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีภาระพิสูจน์ว่าไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่านั้น เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไม้พะยูงอันยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีไม้พะยูงแปรรูปไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48, 69 และ 73 ตามคำฟ้องโจทก์ดังกล่าว หากจำเลยจะต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยจะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าไม้ท่อนของกลางเป็นไม้ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ส่วนไม้แปรรูปของกลางก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 50 (4) เมื่อมาตรา 69 วรรคหนึ่งและมาตรา 50 (4) ได้บัญญัติในเรื่องภาระการพิสูจน์ไว้เป็นการเฉพาะเช่นนี้แล้ว แม้ต่อมาภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วมี พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 7 ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม" บทบัญญัติมาตรา 7 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวก็หามีผลทำให้โจทก์มีภาระพิสูจน์ถึงที่มาของไม้ท่อนและไม้แปรรูปของกลางไม่ แต่ยังคงเป็นภาระของจำเลยที่ได้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวในการนำสืบข้อเท็จจริงอันจะทำให้ตนพ้นผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษและรอการลงโทษคดีไม้หวงห้าม โดยพิจารณาจากคำรับสารภาพ การยอมสละข้อต่อสู้ และเหตุผลในการบรรเทาโทษ
การที่จำเลยยอมรับในชั้นอุทธรณ์ว่า กระทำความผิดทุกกระทงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่เป็นการแก้ไขคำให้การปฏิเสธเป็นรับสารภาพในชั้นอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง แต่ถือได้ว่าจำเลยยอมสละข้อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ด้วยการยอมรับข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่อีกต่อไป ถือเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาตาม ป.อ. มาตรา 78 จึงมีเหตุลดโทษให้แก่จำเลยบางส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามตาม ป.วิ.พ. เนื่องจากจำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกาเพื่ออ้างประโยชน์จากกฎหมายใหม่ที่ใช้บังคับหลังมีคำพิพากษา
จำเลยให้การว่าไม้พะยูงของกลางมิใช่เป็นของจำเลย และไม่ทราบว่าเป็นไม้ของผู้ใด โดยไม่เคยให้การว่าเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ของ ป. อีกทั้งในชั้นอุทธรณ์จำเลยยังคงโต้เถียงว่าไม้พะยูงของกลางมิใช่เป็นไม้ของจำเลย มิได้กล่าวอ้างว่าเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ของ ป. การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาอ้างว่า ไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ของ ป. ถือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15