พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม, การจำกัดสิทธิฎีกา, ความผิดฐานทำลายพยานหลักฐาน และการพิจารณาความเสียหายที่แท้จริง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใดต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและฐานลักทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ส่วนความผิดเกี่ยวกับการทำลายพยานหลักฐานไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง แม้จำเลยจะย้ายศพ จ. ผู้ตายเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตายก็ตามโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายก็ไม่ได้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาทำลายพยานหลักฐานจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักในข้อหาทำลายพยานหลักฐาน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวแล้วพิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ข้อห้ามฎีกาดังกล่าวนี้ย่อมใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (14) ได้นิยามศัพท์คำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ข้อห้ามฎีกาดังกล่าวนี้ย่อมใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (14) ได้นิยามศัพท์คำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8701/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์-ทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา เน้นเจตนาต่อเนื่อง และความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยทั้งสองวางแผนลวงโจทก์ร่วมไปในที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยที่ 1 กระชากคอเสื้อโจทก์ร่วมลงมาจากรถและร้องบอกจำเลยที่ 2 ว่ามาแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเดินออกมาจากข้างทาง เมื่อโจทก์ร่วมปฏิเสธไม่ยอมถอดเสื้อผ้าตามคำสั่ง จึงถูกจำเลยที่ 1 ต่อยท้องและใบหน้าหลายครั้งจนล้มคว่ำ จำเลยที่ 2 ร้องบอกว่า "เอามันให้สลบก่อน" จากนั้นจำเลยทั้งสองจึงรุมเตะทำร้ายโจทก์ร่วมจนกระทั่งสิ้นสติไป จำเลยทั้งสองเพียงแต่ใช้หมัดและเท้าทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม ไม่ปรากฏว่ามีการใช้อาวุธหรือเลือกทำร้ายโจทก์ร่วมตรงบริเวณที่เป็นอวัยวะสำคัญอันอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ทั้งที่มีกำลังคนและแรงกายภาพเหนือกว่าอยู่ในทำเลปลอดคน กับมีเวลาและโอกาสที่จะเลือกกระทำแก่โจทก์ร่วมได้ตามอำเภอใจ บาดแผลที่โจทก์ร่วมถูกทำร้ายไม่ร้ายแรงจนทำให้ถึงแก่ความตายได้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเท่านั้น จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจนได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 298
หลังจากจำเลยทั้งสองรุมทำร้ายจนโจทก์ร่วมสลบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงกระชากสร้อยคอของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อแรกวางแผนลวงโจทก์ร่วมมายังที่เกิดเหตุจนกระทั่งรุมทำร้ายโจทก์ร่วมสลบนั้น จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาจะเอาทรัยพ์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากหยุดทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเกิดเจตนาโลภปลดทรัพย์ของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แล้วพากันหลบหนี เจตนาต่อทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส บาดแผลของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการมีเจตนาต่อทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะใช้แรงกายภาพกระชากสร้อยไปจากคอโจทก์ร่วม แต่สร้อยคอและสร้อยข้อมือของโจทก์ร่วมเป็นสร้อยเส้นเล็กจึงค่อนข้างขาดง่าย สภาพบาดแผลที่คอโจทก์ร่วมไม่มีร่องรอยบาดแผลจากการถูกสร้อยบาดตามแรงกระชากที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อทรัพย์ปรากฏให้เห็น แสดงว่าแรงกายภาพที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นไม่ถึงกับอันตรายแก่กายของโจทก์ร่วม สภาพเช่นนี้ไม่พอให้ถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่กายของโจทก์ร่วมตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
จำเลยที่ 1 ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายในที่เกิดเหตุ แม้โจทก์ร่วมจะหลงกลจนถูกทำร้ายและลักทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองพาทรัพย์ขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์ก็เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองตั้งใจใช้เพื่อการลวงทำร้ายโจทก์ร่วมโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่เพื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่เกิดในภายหลังด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดอันเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสกับความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนดังกล่าวล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดต่อเนื่อง และต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไว้ด้วย แต่ปัญหาทุกข้อดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.อ. มาตรา 89 ซึ่งกำหนดให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
หลังจากจำเลยทั้งสองรุมทำร้ายจนโจทก์ร่วมสลบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงกระชากสร้อยคอของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อแรกวางแผนลวงโจทก์ร่วมมายังที่เกิดเหตุจนกระทั่งรุมทำร้ายโจทก์ร่วมสลบนั้น จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาจะเอาทรัยพ์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากหยุดทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเกิดเจตนาโลภปลดทรัพย์ของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แล้วพากันหลบหนี เจตนาต่อทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส บาดแผลของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการมีเจตนาต่อทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะใช้แรงกายภาพกระชากสร้อยไปจากคอโจทก์ร่วม แต่สร้อยคอและสร้อยข้อมือของโจทก์ร่วมเป็นสร้อยเส้นเล็กจึงค่อนข้างขาดง่าย สภาพบาดแผลที่คอโจทก์ร่วมไม่มีร่องรอยบาดแผลจากการถูกสร้อยบาดตามแรงกระชากที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อทรัพย์ปรากฏให้เห็น แสดงว่าแรงกายภาพที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นไม่ถึงกับอันตรายแก่กายของโจทก์ร่วม สภาพเช่นนี้ไม่พอให้ถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่กายของโจทก์ร่วมตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
จำเลยที่ 1 ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายในที่เกิดเหตุ แม้โจทก์ร่วมจะหลงกลจนถูกทำร้ายและลักทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองพาทรัพย์ขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์ก็เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองตั้งใจใช้เพื่อการลวงทำร้ายโจทก์ร่วมโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่เพื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่เกิดในภายหลังด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดอันเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสกับความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนดังกล่าวล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดต่อเนื่อง และต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไว้ด้วย แต่ปัญหาทุกข้อดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.อ. มาตรา 89 ซึ่งกำหนดให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่กับการลักทรัพย์น้ำยางพารา ต้นยางพาราไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน
การที่ผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่ปลูกต้นยางพาราลงในที่ดินซึ่งอยู่ในเขตเหมืองแร่ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือประทานบัตรตาม พ.ร.บ. เหมืองแร่ฯ มาตรา 73 ไม่ทำให้ต้นยางพาราที่ปลูกไว้เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ยางพารายังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ผู้ถือประทานบัตร การที่จำเลยกรีดเอาน้ำยางพาราจากต้นยางพาราของโจทก์ไปจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษทางอาญาจากความเสียหายที่ชดใช้ และการใช้ดุลพินิจศาลในการกำหนดโทษที่เหมาะสม
จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 20 เครื่อง ราคาทรัพย์รวม 90,000 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 อย่างไรก็ตาม ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่าจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 45,000 บาท จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป นับว่าจำเลยที่ 2 ได้พยายามบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการร่วมกันกระทำความผิดจึงเปลี่ยนแปลงไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 76 โดยวางโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 2 ปี ก่อนลดโทษให้นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษที่หนักเกินไป เห็นสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รู้เห็นการรับซื้อของโจร: การครอบครองชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ที่ได้จากการลักทรัพย์โดยมีพิรุธ
จำเลยเห็นเหตุการณ์ที่คนร้ายผู้ลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเข้ามาในบ้านของจำเลยและถอดชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในยามวิกาล ซึ่งเป็นเรื่องที่คนร้ายเคยกระทำมาแล้วและจำเลยก็รับรู้โดยถือเป็นเรื่องปกติ ทั้งที่ความจริงการซ่อมรถ การถอดชิ้นส่วนรถควรจะกระทำในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการงานของคนทั่วไป การดำเนินการถอดชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ในเวลากลางคืนย่อมส่อแสดงถึงความผิดปกติ เมื่อถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยก็นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่นำชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ไปทิ้งได้ถูกต้อง แสดงว่าจำเลยน่าจะมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการนำชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปทิ้ง สำหรับชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากบ้านของจำเลยวางอยู่ด้านหน้าของบ้านลักษณะเป็นห้องรับแขก บางส่วนอยู่ในกล่องไม่มีอะไรปิดบัง แม้จะเป็นการวางไว้อย่างเปิดเผยและบ้านของจำเลยยังไม่มีประตูรั้วกับประตูบ้านทั้งยังสร้างไม่เสร็จ แต่โดยสภาพของบ้านที่พักอาศัยย่อมถือเป็นที่รโหฐาน บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิเข้าไปโดยมิได้รับอนุญาต การเก็บชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ไว้ในบ้านของจำเลยในลักษณะดังกล่าว ไม่พอให้รับฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยเปิดเผยและโดยสุจริตของจำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองบ้าน น่าเชื่อว่าจำเลยรู้ว่ารถจักรยานยนต์ที่นำไปถอดชิ้นส่วนที่บ้านของจำเลยเป็นรถจักรยานยนต์ที่คนร้ายได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยซ่อนเร้น หรือรับไว้ด้วยประการใด ๆ ซึ่งชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักมา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยย่อมมีความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลไม่ใช่ทรัพย์สินทางแพ่ง การลอกข้อมูลไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อมูล ตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า "ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ" ส่วนข้อเท็จจริงหมายความว่า "ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง" ดังนั้น ข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูลโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 137 บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกข้อมูลและเอกสารจากบริษัท ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือเอาไปเสียซึ่งเอกสาร เนื่องจากข้อมูลไม่ใช่ทรัพย์และเอกสารไม่ใช่ความลับ
เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือรับรองของบริษัท บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น งบบัญชีกำไร-ขาดทุน และ สำเนาหนังสือเดินทาง เป็นเอกสารที่บุคคลสามารถไปขอตรวจสอบและขอคัดสำเนาได้จากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์จึงไม่ถือเป็นความลับของบริษัทลูกค้าโจทก์ร่วมอันต้องปกปิด การที่จำเลยใช้เอกสารดังกล่าวปฏิบัติในหน้าที่ให้แก่โจทก์ร่วมเสร็จแล้วไม่นำกลับคืนแก่โจทก์ร่วม จึงไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหรือลูกค้าของโจทก์ร่วมต้องเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่โจทก์ร่วมหรือผู้อื่น
ข้อมูล ตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า ข้อเท็จจริง หรือ สิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ส่วนข้อเท็จจริง หมายความว่า ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่จริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง ดังนั้นข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูล โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 137 บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อมูล ตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า ข้อเท็จจริง หรือ สิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ส่วนข้อเท็จจริง หมายความว่า ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่จริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง ดังนั้นข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูล โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 137 บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในศาลาการเปรียญ: พิจารณาความหมายของ 'สถานที่บูชาสาธารณะ' ตาม ป.อ. มาตรา 335
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฯ ให้ความหมายของคำว่า ศาลาการเปรียญหมายถึงศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม ศาลาการเปรียญจึงหาใช่สถานที่บูชาสาธารณะตามความหมายแห่งบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 335 (9) วรรคแรก คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า พระยอดขุนพลของกลางที่จำเลยเข้าไปลัก ขณะเกิดเหตุติดอยู่ที่แผงบริเวณเสาของศาลาการเปรียญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหานี้ไว้ด้วย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3684/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์กระทบสาธารณูปโภค ลดโทษเมื่อชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยลักคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ที่ส่งผ่านสายสัญญาโทรศัพท์ จากสายสัญญาณและตู้โทรศัพท์สาธารณะ 7,192 หน่วย มีมูลค่าราคารวม 7,192 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต ลักษณะของการกระทำความผิดเป็นผลเสียต่อกิจการที่เป็นประโยชน์ในทางสาธารณะ เกิดผลกระทบต่อระบบการสื่อสารในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงลำพังแต่การที่จำเลยมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัว ยังไม่เหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะ ศาลยืนตามดุลพินิจศาลล่าง ไม่รอการลงโทษจำคุก เนื่องจากพฤติการณ์ร้ายแรง
จำเลยลักเอาเงินจำนวน 2,051 บาท ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจากเครื่องโทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งไว้ให้บริการแก่ประชาชนในเวลากลางคืน โดยใช้กุญแจและอุปกรณ์อื่นที่จัดเตรียมมาเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด และใช้จักรยานเป็นพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด พาทรัพย์ไปและเพื่อให้พ้นการจับกุม พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ และอาจก่อให้เกิดความขัดข้องในการใช้โทรศัพท์สาธารณะของประชาชนทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอีกด้วย ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 18 ปีเศษ นับว่าอยู่ในวัยที่มีวุฒิภาวะและมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีพอสมควรแล้ว แต่กลับกระทำความผิดดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงความสงบสุขของสังคมส่วนรวมจึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้นเหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว