พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสก่อน/หลังการตรวจชำระใหม่ พ.ร.บ. 2519: สิทธิสามีในการจำหน่ายที่ดิน
โจทก์กับ ป. อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ.2477 ใช้บังคับจึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับ ป. ได้มาเมื่อปี 2491 เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477มาตรา 1468,1473 และมาตรา 1462 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ป. ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 1476 จะบัญญัติว่า นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันและมาตรา 1480 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตามแต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 7 ของ พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ป. สามีโจทก์ จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา 7 ของ พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 บัญญัติไว้ และอำนาจจัดการนั้น มาตรา 1477 ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่า ให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ป. สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างป. กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป. ได้จดทะเบียนสมรสกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป. ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสก่อนและหลังการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับปรับปรุง
โจทก์กับป. อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ใช้บังคับจึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับป. ได้มาเมื่อปี2491เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1468,1473และมาตรา1462อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมาที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นป. ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1476จะบัญญัติว่านอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นสามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันและมาตรา1480วรรคสองบัญญัติว่าในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตามแต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา7ของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ป. สามีโจทก์จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา7ของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519บัญญัติไว้และอำนาจจัดการนั้นมาตรา1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่าให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ป. สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างป. กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน การสมรสระหว่างโจทก์กับป. ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้วแม้ต่อมาโจทก์กับป. ได้จดทะเบียนสมรสกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปี2522ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับป. ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรส: สามีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินที่เป็นสินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยาผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี2513ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466,1462วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับผ. ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ. จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1468,1473วรรคหนึ่งเดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่แก้ไขใหม่ในปี2519พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของผ. ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรส: ที่ดินรับมรดกเป็นสินสมรส สามีมีอำนาจจำหน่ายได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยา ผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี 2513 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466,1462 วรรคสอง เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับ ผ.ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ.จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468,1473 วรรคหนึ่ง เดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วบรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ในปี 2519 พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของ ผ.ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจำหน่ายสินสมรส: สามีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยาผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี2513ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466,1462วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับผ. ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ.จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1468,1473วรรคหนึ่งเดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วบรรพ5ที่แก้ไขใหม่ในปี2519พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของผ. ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทที่เป็นสินสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนโอน
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี 2525เป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 99 เดิม เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งมาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯ และไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ดังนั้น สามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 มาตรา 1468 การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1469 ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อน หากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล โจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1475
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากสามี หากไม่ได้รับความยินยอมถือว่าขาดความสามารถในการฟ้อง
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี2525เป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา99เดิมเมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ซึ่งมาตรา7บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯและไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ดังนั้นสามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477มาตรา1468การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนหากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลโจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1475 โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56วรรคสองก่อนแต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จจึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินบริคณห์ก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่ และการแบ่งสินสมรสหลังการขาย
ที่พิพาทเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ของโจทก์ และจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 อำนาจจัดการนั้นตามมาตรา 1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้รวมถึงกรณีจำหน่ายด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่พิพาทในวันที่ 24 เมษายน 2533 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่ไม่อาจเพิกถอน การโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้เท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งของโจทก์ในสินสมรส ซึ่งการแบ่งสินสมรสจะมีได้เมื่อมีการหย่าเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่พิพาทแก่โจทก์ กฎหมายก็ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากัน และศาลมิได้มีคำสั่งให้แยกสินสมรส จึงยังไม่มีการแบ่งสินสมรสกัน โจทก์จึงยังไม่ได้รับความเสียหายไม่มีอำนาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายจากสติไม่สมบูรณ์และการฉ้อฉล ทายาทมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์กับ พ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2514ที่ดินตามฟ้อง พ. ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินเดิมของ พ. ต่อมาเมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้วที่ดินนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของ พ. ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง พ. จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้
พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้
พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากสติไม่สมบูรณ์และฉ้อฉล ทายาทมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์กับ พ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2514ที่ดินตามฟ้อง พ. ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินเดิมของ พ. ต่อมาเมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้วที่ดินนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของ พ. ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง พ. จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.