พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลอนุญาตได้หากไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มอบอำนาจให้สามีโจทก์เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนประกอบกับสามีโจทก์เบิกความรับรองว่ายินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีถือได้ว่าโจทก์ได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีแล้ว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ได้รับความยินยอมจากสามี และการนำสืบราคาซื้อขายที่ไม่ตรงกับสัญญา
โจทก์มอบอำนาจให้สามีโจทก์เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนประกอบกับสามีโจทก์เบิกความรับรองว่ายินยอมให้โจทก์ฟ้องคดี ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน: ที่ดินที่ได้รับจากการยกให้ระหว่างสมรสเป็นสินสมรส แม้กฎหมายแก้ไข
จำเลยเป็นภรรยาชอบด้วยกฎหมายของ ส. ในระหว่างสมรสเมื่อพ.ศ. 2508 มารดาจำเลยยกที่ดินซึ่งเป็นส่วนของตนตามโฉนดเลขที่11878 ให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา 1464 และมาตรา 1466 แม้ต่อมาบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471และมาตรา 1474 จะบัญญัติแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิมก็ไม่ทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม ส. จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1481.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายฝากสินส่วนตัวในคดีล้มละลาย พิจารณาจากสินเดิมและสินส่วนตัวระหว่างสมรส
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2522 โดยมีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังนี้ ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนที่จำเลยกับล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466 เดิม บัญญัติไว้ไม่.
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ส. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1462,1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล. จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115.
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ส. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1462,1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล. จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115.
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส สินส่วนตัว และการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อ ที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนด ที่ดินเมื่อวันที่19 มกราคม 2522 โดย มีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ มาก่อนที่จำเลยกับ ล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้ มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตาม ที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466เดิม บัญญัติไว้ไม่ ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้ จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา14621463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตาม บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่ง เป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล.จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 เป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา ตราบใด ที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้ มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้อง รับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5748/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส และผลกระทบต่อบุคคลภายนอกที่สุจริต
ทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาโดยการยกให้โดยเสน่หาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1กับโจทก์นั้น หากต่อมาเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1ได้นำเอาสินสมรสนั้นไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์ผู้เป็นสามี และโจทก์ก็มิได้ให้สัตยาบัน ในเรื่องอำนาจของโจทก์ที่จะขอเพิกถอนนิติกรรมขายฝากนั้น ไม่พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 และมาตรา 137 วรรคสองซึ่งยกเลิกไปแล้ว แต่ต้องนำบทบัญญัติมาตรา 1480 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาปรับ โดยต้องพิจารณาว่าในขณะทำนิติกรรมขายฝากจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริตหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การจัดการสินบริคณห์, และขอบเขตความรับผิดของประกันภัย
คำฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิดได้บรรยายชัดแจ้งพอสมควรว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร ค่าเสียหายแต่ละรายการเป็นจำนวนเงินเท่าใด จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะหลักฐานและรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นเรื่องที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมสามีเป็นผู้จัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาหรือการใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ โจทก์สมรสกับภริยาก่อนใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด เพื่อความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินอันเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ได้ เพราะบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสได้มีอยู่แล้ว
โจทก์จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดมือและเท้าอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้การได้เป็นปกติ แต่โจทก์กะประมาณค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโดยปราศจากพยานสนับสนุน เป็นการพ้นวิสัยที่ศาลจะหยั่งรู้ได้แน่นอนความเสียหายมีเพียงใด ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ และสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 วรรคสอง
จำเลย ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลย ที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญา แต่จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลย ที่ 2 กับจำเลย ที่ 3 หาได้ไม่
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลดค่าเสียหายซึ่งจำเลย ที่ 2 จะต้องชดใช้ให้โจทก์น้อยลง และการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลย ที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมสามีเป็นผู้จัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาหรือการใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ โจทก์สมรสกับภริยาก่อนใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด เพื่อความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินอันเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ได้ เพราะบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสได้มีอยู่แล้ว
โจทก์จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดมือและเท้าอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้การได้เป็นปกติ แต่โจทก์กะประมาณค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโดยปราศจากพยานสนับสนุน เป็นการพ้นวิสัยที่ศาลจะหยั่งรู้ได้แน่นอนความเสียหายมีเพียงใด ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ และสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 วรรคสอง
จำเลย ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลย ที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญา แต่จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลย ที่ 2 กับจำเลย ที่ 3 หาได้ไม่
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลดค่าเสียหายซึ่งจำเลย ที่ 2 จะต้องชดใช้ให้โจทก์น้อยลง และการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลย ที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสหลัง พ.ร.บ. 2519: สามีมีอำนาจจำหน่ายมรดกที่เป็นสินสมรสได้หากไม่มีข้อตกลงอื่น
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 7 บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขข้อขัดข้องในระยะเริ่มแรกที่ประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ โดยให้คู่สมรสฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินบริคณห์อยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมคงมีอำนาจจัดการต่อไป ไม่ขัดต่อหลักการชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1477บัญญัติว่า อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้น ที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจ จำหน่ายด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยที่1(สามี) ได้รับมรดกจากบิดา ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากโจทก์ (ภรรยา)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1477บัญญัติว่า อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้น ที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจ จำหน่ายด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยที่1(สามี) ได้รับมรดกจากบิดา ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากโจทก์ (ภรรยา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสหลัง พ.ร.บ. 2519: สามีมีอำนาจจำหน่ายมรดกที่เป็นสินสมรสได้โดยไม่ต้องมียินยอมภรรยา
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขข้อขัดข้องในระยะเริ่มแรกที่ประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ โดยให้คู่สมรสฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินบริคณห์อยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมคงมีอำนาจจัดการต่อไป ไม่ขัดต่อหลักการชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1477 บัญญัติว่า อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้น ที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจ จำหน่ายด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1473แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยที่1 (สามี) ได้รับมรดกจากบิดา ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากโจทก์ (ภรรยา)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1477 บัญญัติว่า อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้น ที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจ จำหน่ายด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1473แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยที่1 (สามี) ได้รับมรดกจากบิดา ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากโจทก์ (ภรรยา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินจากสามีที่หย่าแล้ว: บ้านพิพาทเป็นสินเดิมของผู้ร้อง การยกให้บุตรไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
บ้านพิพาทผู้ร้องเอาเงินที่ได้จากการขายบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องซื้อมา บ้านพิพาทจึงเป็นสินเดิมของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 (เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 7 ได้บัญญัติให้สินเดิมดังกล่าวเป็นสินส่วนตัว บ้านพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2 ว่า ทรัพย์สิ้นทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าววเพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2 ว่า ทรัพย์สิ้นทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าววเพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง