พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรรายได้จากสัญญาต่างประเทศ: ค่าสิทธิ vs. วิชาชีพอิสระ (วิศวกรรม) และการหักภาษี
โจทก์ทำสัญญาตกลงจ่ายค่าตอบแทนเป็นค่าสิทธิในการใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าให้แก่บริษัท ซ. และโจทก์ยังได้ทำสัญญาจ่ายค่าตอบแทนการให้ความรู้ทางวิศวกรรมกับบริษัท น. โดยบริษัท ซ. และบริษัท น. มีสำนักงานบริษัทตั้งอยู่ที่ เวเว่ย์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ แห่งเดียวกันสัญญาที่โจทก์ทำกับบริษัททั้งสองดังกล่าวมีอายุสัญญาและมีรายละเอียดเริ่มต้นกับวันสิ้นสุดเหมือนกันทั้งมีเงื่อนไขว่าหากบริษัท น. เลิกสัญญากับโจทก์บริษัท ซ.ก็มีสิทธิเลิกสัญญากับโจทก์เช่นเดียวกันและสัญญาทั้งสองฉบับยังระบุให้บริษัททั้งสองซึ่งเป็นสัญญากับโจทก์จัดหาและแนะนำกรรมวิธีการผลิตตำรับสูตรหรือความรู้อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์โดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งโจทก์ทำไว้กับบริษัท น. นั้นนอกจากบริษัท น. จะต้องให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเทคนิคทางวิศวกรรมแล้วยังต้องให้ข้อแนะนำวิธีในการผลิตแก่โจทก์ศึกษาและแนะนำวิธีการใช้กรรมวิธีใหม่และพัฒนาให้ดีขึ้นส่วนบริษัท ซ.ไม่ปรากฏว่าเคยให้ข้อแนะนำแก่โจทก์เกี่ยวกับเรื่องสูตรหรือกรรมวิธีการผลิตเลยแสดงว่าการผลิตของโจทก์อยู่ภายใต้เงื่อนไขและควบคุมของบริษัท น. เงินค่าตอบแทนที่บริษัท น. ได้รับจึงไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระประเภทวิศวกรรมตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา40(6)แต่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิตามมาตรา40(3) บริษัท น. เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยดังนั้นเงินได้ซึ่งบริษัท น.ได้รับจากโจทก์โจทก์ต้องหักภาษีแล้วนำส่งจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา70(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าบริการทางวิศวกรรมและค่าสิทธิใช้เครื่องหมายการค้า ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 40(3) และ 70(2) ไม่ใช่ 40(6) และ 70(4)
การที่โจทก์ทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศไว้ 2 ประเภท คือสัญญาประเภทให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรม กับสัญญาประเภทให้ใช้เครื่องหมายการค้า โดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมเลิกกัน โจทก์ต้องส่งคำแนะนำและเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับข้อมูลการผลิตอันถือเป็นความลับคืน โดยห้ามทำสำเนาไว้ และผลของการเลิกสัญญาดังกล่าวมีผลให้สัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้าเลิกกัน สิทธิของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าย่อมหมดไปสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทนสัญญาจึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(3) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตาม มาตรา 70(2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6)ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70(4) แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวไม่ โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบและไม่ถูกต้องแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับเงินปันผลที่โจทก์จ่ายจากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524 ที่โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้องจึงต้องเสียเงินเพิ่มว่าไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากสัญญาช่วยเหลือทางวิศวกรรมและใช้เครื่องหมายการค้า: เงินได้จากการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทน vs. วิชาชีพอิสระ
การที่โจทก์ทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศไว้ 2 ประเภท คือสัญญาประเภทให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรม กับสัญญาประเภทให้ใช้เครื่องหมายการค้า โดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมเลิกกัน โจทก์ต้องส่งคำแนะนำและเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับข้อมูลการผลิตอันถือเป็นความลับคืน โดยห้ามทำสำเนาไว้ และผลของการเลิกสัญญาดังกล่าวมีผลให้สัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้าเลิกกัน สิทธิของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าย่อมหมดไปสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทนสัญญาจึงเป็นเงินได้ตาม มาตรา 40 (3) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา40 (6) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 (4) แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวไม่
โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบและไม่ถูกต้องแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ที่วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับเงินปันผลที่โจทก์จ่ายจากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524 ที่โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้องจึงต้องเสียเงินเพิ่มว่าไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษี•อากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบและไม่ถูกต้องแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ที่วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับเงินปันผลที่โจทก์จ่ายจากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524 ที่โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้องจึงต้องเสียเงินเพิ่มว่าไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษี•อากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามประเทศ: เจตนารมณ์กฎหมายและการยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทปิโตรเลียม
ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2) มีเจตนารมณ์มุ่งเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะเป็นเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยในกรณีของโจทก์คดีนี้ บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นได้กู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นเพื่อส่งมาใช้จ่ายในกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยโดยเฉพาะ และเมื่อโจทก์สาขาในประเทศไทยประกอบกิจการมีรายได้แล้วก็จัดส่งไปให้บริษัทโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้น จึงเห็นได้ว่าเงินที่สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นให้กู้ยืมมานั้นก็เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ในประเทศไทย เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามเจตนารมณ์ของ ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเป็นผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้นโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นเพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใดก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืมนั่นเอง
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 มีว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามอัตราและวิธีการพิเศษต่างหากจากภาษีเงินได้ที่เก็บตามป.รัษฎากร ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า เหตุที่มาตรา 13 บัญญัติให้บริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรและภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก็เพราะบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 อยู่แล้ว และบริษัทหรือนิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมดังที่ปรากฏในเหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 จะต้องเป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 คือ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม กล่าวคือ (1) ได้รับสัมปทานหรือมีส่วนได้เสียร่วมกันในสัมปทาน หรือ (2) ซื้อน้ำมันดิบที่บริษัทตาม (1) เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งน้ำมันดิบนั้นทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร แต่คดีนี้ได้ความว่า สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แต่อย่างใด สถาบันการเงินดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทหรือนิติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เมื่อมีเงินได้จากบริษัทตามกฎหมายปิโตรเลียมแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่น เท่ากับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลยซึ่งกฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 มีว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามอัตราและวิธีการพิเศษต่างหากจากภาษีเงินได้ที่เก็บตามป.รัษฎากร ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า เหตุที่มาตรา 13 บัญญัติให้บริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรและภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก็เพราะบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 อยู่แล้ว และบริษัทหรือนิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมดังที่ปรากฏในเหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 จะต้องเป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 คือ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม กล่าวคือ (1) ได้รับสัมปทานหรือมีส่วนได้เสียร่วมกันในสัมปทาน หรือ (2) ซื้อน้ำมันดิบที่บริษัทตาม (1) เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งน้ำมันดิบนั้นทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร แต่คดีนี้ได้ความว่า สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แต่อย่างใด สถาบันการเงินดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทหรือนิติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เมื่อมีเงินได้จากบริษัทตามกฎหมายปิโตรเลียมแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่น เท่ากับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลยซึ่งกฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าสิทธิที่จ่ายให้บริษัทต่างประเทศจากการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค
บริษัท ฮ. ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการผลิตกระดาษตามสัญญาที่บริษัท ฮ. ทำไว้กับโจทก์ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญ 15 คนเข้ามาประจำอยู่ ณ โรงงานโจทก์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2522 บริษัท ฮ. ได้รับเงินค่าธรรมเนียมในการช่วยเหลือดังกล่าวดังนี้ การที่บริษัท ฮ. ให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ มิได้เป็นการประกอบกิจการของบริษัท ฮ. ในประเทศไทย แต่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง จึงไม่อาจถือได้ว่าบริษัท ฮ. ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ แต่บริษัท ฮ. ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) ที่จ่ายจากประเทศไทย เพราะเงินดังกล่าวเป็นค่าสิทธิตามความหมายของอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ข้อ 8 (2) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 (2) ประกอบอนุสัญญาดังกล่าวข้อ 8 (1) และ (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกรณีบริษัทต่างชาติส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในไทย
บริษัท ฮ. ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการผลิตกระดาษตามสัญญาที่บริษัท ฮ. ทำไว้กับโจทก์ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญ 15 คนเข้ามาประจำอยู่ณ โรงงานโจทก์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2522 บริษัท ฮ. ได้รับเงินค่าธรรมเนียมในการช่วยเหลือดังกล่าว ดังนี้ การที่บริษัท ฮ.ให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์มิได้เป็นการประกอบกิจการของบริษัท ฮ.ในประเทศไทย แต่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง จึงไม่อาจถือได้ว่าบริษัท ฮ. ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ แต่บริษัท ฮ.ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ที่จ่ายจากประเทศไทยเพราะเงินดังกล่าวเป็นค่าสิทธิตามความหมายของอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ข้อ 8(2) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70(2) ประกอบอนุสัญญาดังกล่าวข้อ 8(1) และ (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริการทางวิศวกรรมเป็นเงินได้จากอาชีพอิสระ หักค่าใช้จ่ายได้ตามกฎหมายภาษีอากร
โจทก์จ้างบริษัท ด. เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงงานออกแบบแปลนโรงงานรวมทั้งการสำรวจสถานที่ตั้งโรงงาน จัดนำเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศมาปรับปรุงให้ใช้การได้กับโรงงานของโจทก์และเมื่อติดตั้งเครื่องจักรโรงงานแล้วจะต้องทำการฝึกวิศวกรไทยของโจทก์ให้รู้จักใช้เครื่องจักรรวมทั้งการบำรุงรักษาด้วย โดยโจทก์จะต้องจ่ายค่าตอบแทนในการบริการให้แก่เจ้าหน้าที่ของบริษัท ด. ตลอดระยะเวลาตามข้อตกลง กรณีดังกล่าวถือเป็นการให้บริการทางวิศวกรรม เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้กับบริษัท ด. จึงเป็นเงินได้จากอาชีพอิสระ วิศวกรรมตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่ค่าแห่งสิทธิตามมาตรา 40 (3) โจทก์ย่อมหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 40 ก่อนหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมินได้ตามมาตรา 70 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบริการวิศวกรรมเป็นการให้บริการทางอาชีพอิสระ หักค่าใช้จ่ายได้ตามกฎหมาย
โจทก์จ้างบริษัท ด. เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงงานออกแบบแปลนโรงงานรวมทั้งการสำรวจสถานที่ตั้งโรงงานจัดนำเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศมาปรับปรุงให้ใช้การได้กับโรงงานของโจทก์และเมื่อติดตั้งเครื่องจักรโรงงานแล้วจะต้องทำการฝึกวิศวกรไทยของโจทก์ให้รู้จักใช้เครื่องจักรรวมทั้งการบำรุงรักษาด้วย โดยโจทก์จะต้องจ่ายค่าตอบแทนในการบริการให้แก่เจ้าหน้าที่ของบริษัท ด. ตลอดระยะเวลาตามข้อตกลง กรณีดังกล่าวถือเป็นการให้บริการทางวิศวกรรม เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้กับบริษัท ด. จึงเป็นเงินได้จากอาชีพอิสระ วิศวกรรมตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่ค่าแห่งสิทธิตามมาตรา 40(3)โจทก์ย่อมหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 40 ก่อนหักภาษี ณที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมินได้ตามมาตรา 70(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือว่ามีสถานประกอบการในไทย
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248,600 บาทจึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามมาตรา40(3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70(2),54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา76 ทวิและ 71(1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2