พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน และการจ่ายรางวัลผู้แจ้งความนำจับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 4,6,9,14,31,35 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4,11,48,73,74,74 ทวิ,74 จัตวา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91 พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพ.ศ. 2489 มาตรา 4,5,6,7,8,9 ริบของกลางจ่ายเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับและจ่ายรางวัลแก่ผู้จับ จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งยกเลิกโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 และได้บัญญัติความแทนว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ จำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็น ไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้จำคุก คนละ 4 เดือน ต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายระวางโทษไว้จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัล ร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า การที่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคา เครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษา แก้เป็นให้ จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลาง ที่ศาลสั่งให้ริบตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน และการจ่ายรางวัลผู้แจ้งความนำจับต้องเป็นไปตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา4, 6, 9, 14, 31, 35 พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4, 11, 48,73, 74, 74 ทวิ, 74 จัตวา ป.อ.มาตรา 83, 91 พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 4, 5, 6, 7, 8, 9ริบของกลาง จ่ายเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับและจ่ายรางวัลแก่ผู้จับจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 และได้บัญญัติความแทนว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้จำคุกคนละ 4 เดือน ต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายระวางโทษไว้ จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางที่ศาลสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางที่ศาลสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายป่าสงวนที่แก้ไข และสิทธิจำเลยในการมีทนาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ขอให้ลงโทษตามมาตรา31แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา31 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 แม้โจทก์จะมิได้อ้างกฎหมายฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมศาลปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีจึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องทนาย การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีจึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องทนาย การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายป่าสงวนฯ ที่แก้ไข และการสอบถามจำเลยเรื่องทนายเมื่อมีโทษจำคุกสูง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 แม้โจทก์จะมิได้อ้างกฎหมายฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ศาลปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี จึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องพยาน การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี จึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องพยาน การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง