คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีการเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ต้องใช้ฐานจากอัตรากลาง (ตารางที่ 1) ไม่ใช่อัตราลด/เพิ่ม
การที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนกฎหมายได้คำนึงถึงลักษณะและประเภทกิจการของนายจ้างว่าลูกจ้างมีการเสี่ยงภัยที่จะได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างมากน้อยเพียงใด จึงได้กำหนดรหัสประเภทของกิจการนั้นไว้ว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละเท่าใดของค่าจ้างไว้ อันเป็นการกำหนดอัตราเงินสมทบกลางไว้เป็นหลักตามสมควรแก่กิจการนั้น ๆไว้เป็นการทั่วไปเสียก่อน ถ้าอัตราการสูญเสียลดลงกฎหมายจะลดอัตราเงินสมทบให้ และอัตราเงินสมทบจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนการสูญเสียสูงขึ้น ดังนั้นการลดหรือเพิ่มจึงต้องคำนวณโดยถืออัตราเงินสมทบกลางหรืออัตราเงินสมทบหลักตามที่ตารางที่ 1กำหนดไว้เป็นฐานคำนวณ มิใช่ถือเอาอัตราลด/เพิ่ม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเป็นฐานคำนวณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง เงินโบนัสไม่เป็นค่าจ้างในการคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ลักษณะการจ่ายเงินค่าครองชีพซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างพื้นฐานมีลักษณะเป็นการจ่ายประจำและแน่นอนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง แม้จะจ่ายเพื่อช่วยเหลือในภาวะเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพสูงขึ้นก็ตามเงินค่าครองชีพก็เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และไม่ใช่เงินประเภทเดียวกันกับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ซึ่งไม่ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ดังนั้น เงินค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนด้วย
ส่วนเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสนั้น คณะกรรมการบริษัทนายจ้างจะไม่อนุมัติให้จ่ายในปีใดก็ได้ ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสบทบกองทุนเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพ-โบนัส: การคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน - ค่าจ้าง vs. เงินรางวัล
เมื่อนายจ้างมีนโยบายและระเบียบที่จะเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น การที่นายจ้างจ่ายเงินค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นจึงแสดงว่าเป็นการเพิ่มค่าจ้างให้สูงขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังได้ความว่า ภายหลังต่อมานายจ้างก็รวมเงินค่าครองชีพเข้าเป็นค่าจ้างปกติ แสดงให้เห็นว่านายจ้างประสงค์ให้เงินค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง แต่ที่ได้แยกจ่ายออกจากค่าจ้างปกติก็โดยหวังว่าจะทำให้ไม่ต้องนำมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินอื่นเท่านั้น ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ตามระเบียบของบริษัทนายจ้างบริษัทจะไม่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสในปีใดก็ได้ มิได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกปี ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
เพียงแต่จำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมแรงงานจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการคืนเงินสมทบที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนซึ่งมีฐานะเป็นกองสังกัดกรมจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเกินมาแก่โจทก์ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับเงินทดแทน: นายจ้างมีสิทธิทักท้วงการจ่ายเงินทดแทนซ้ำซ้อนหรือเกินสิทธิ
การที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนและได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า เป็นการแจ้งให้นายจ้างทราบ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 16 และย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามข้อ 2 ทั้งการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างนั้นอาจเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นได้ด้วยตามนัยแห่ง ข้อ 3 โจทก์จึงมีส่วนได้เสียอยู่ด้วยในการจ่ายหรือไม่จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ แม้เงินทดแทนนั้นจะจ่ายจากกองทุนเงินทดแทนก็ตาม เมื่อโจทก์ทักท้วงว่าจำเลยที่ 3ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยืนยันว่าจะจ่ายเงินทดแทนแก่จำเลยที่ 3ดังนี้ ย่อมต้องถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว ซึ่งข้อนี้ฝ่ายจำเลยก็ทราบดีดังจะเห็นได้จากหนังสือของจำเลยที่ 2 ยืนยันคำวินิจฉัยไปยังโจทก์ได้กล่าวไว้ด้วยว่า ถ้าโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย ก็ขอให้ร้องต่อศาลภายใน 15 วัน