พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงโทษทางวินัยของนายจ้าง: การไล่ออกที่ไม่ต้องสอบสวน และการไม่ผูกพันตามความเห็นคณะกรรมการสอบสวน
ข้อบังคับของจำเลยข้อ 19 กำหนดว่า การลงโทษไล่ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อพนักงานกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่ระบุไว้ในข้อนี้ โดยใน (4) ได้ระบุการกระทำความผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไว้ด้วยข้อ 20 กำหนดว่าการลงโทษไล่ออกนั้นถ้ามิใช่เป็นกรณีความผิดปรากฏชัดแจ้งให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งกรรมการอย่างน้อย 3 นายเพื่อทำการสอบสวนก่อนและข้อ 21 กำหนดว่า การลงโทษปลดออกนั้นจะกระทำได้เมื่อพนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ยังไม่ถึงกับจะต้องไล่ออกหรือมีเหตุอันควรลดหย่อนในกรณีนี้ให้นำความในข้อ 19 และ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้ ความผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา อาจจะถูกลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใดได้ แล้วแต่ความร้ายแรงของการกระทำหาใช่จะต้องลงโทษไล่ออกหรือปลดออกเท่านั้นไม่หากผู้มีอำนาจสั่งลงโทษอย่างอื่นซึ่งมิใช่โทษไล่ออกหรือปลดออกแล้วก็ไม่ต้องทำการสอบสวนก่อน ฉะนั้น การที่ผู้อำนวยการของจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานแม้มิได้มีการสอบสวนก่อนก็เป็นการชอบแล้ว
ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โดยมิได้ทำการสอบสวนก่อนต่อมาจำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามที่โจทก์ร้องเรียน ว่าถูกสั่งให้ออกโดยไม่เป็นธรรมคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าความผิดของโจทก์ควรลงโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ดังนี้เมื่อตามระเบียบของจำเลยไม่มีกำหนดได้ว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว จำเลยก็หาต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวไม่
ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โดยมิได้ทำการสอบสวนก่อนต่อมาจำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามที่โจทก์ร้องเรียน ว่าถูกสั่งให้ออกโดยไม่เป็นธรรมคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าความผิดของโจทก์ควรลงโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ดังนี้เมื่อตามระเบียบของจำเลยไม่มีกำหนดได้ว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว จำเลยก็หาต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งและขาดงาน แม้ขาดงานเพียง 1 วัน ก็มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หากเคยตักเตือนแล้ว
ประมวลการลงโทษผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจัดให้มีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ว่า กรณีลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานมีโทษให้ไล่ออกจากงาน ข้อนี้มิได้ระบุว่าต้องขาดงานกี่วันจึงจะมีความผิด ดังนั้น หากโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานแม้เพียง1 วัน ก็มีความผิดและถูกลงโทษให้ออกจากงานได้กรณีนี้เป็นเรื่องที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานฯ ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามข้อ 47(4)ฉะนั้น ประมวลการลงโทษฯ จึงหาได้ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำหนดว่าลูกจ้างต้องขาดงานติดต่อกัน 3 วันไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนมาแล้ว 3 ครั้งฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนมาแล้ว 3 ครั้งฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261-2264/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จจากการเกษียณอายุ ต้องรวมเงินรางวัลพิเศษคำนวณตามข้อบังคับและกฎหมายแรงงาน
จำเลยเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมมาดำเนินการ ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยรับโอนพนักงานและคนงานเข้าทำงานต่อไปและให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงาน โดยที่เงินบำเหน็จตามคำสั่งดังกล่าวได้วางระเบียบให้จ่ายเท่ากับค่าจ้างปกติในเดือนสุดท้ายของปีที่ออกปีละ 1 เดือนโจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้โดยคำนวณเฉพาะเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีทำงานแต่ไม่นำเงินรางวัลพิเศษที่โจทก์ได้รับเป็นรายเดือนมารวมคำนวณด้วยดังนี้ คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาทำงาน เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งจำเลยในฐานะผู้เช่าโรงงานสุราจะต้องถือปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ทำไว้กับผู้ให้เช่าและจำเลยในฐานะที่เป็นนายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่วางไว้ด้วยเมื่อได้ความว่าเงินรางวัลพิเศษที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานและคนงานที่มีเงินเดือนหรือค่าจ้างเต็มอัตรา เกินอัตรา หรือไม่มีอัตราโดยจ่ายเป็นรายเดือนและมีขั้นวิ่งเหมือนเงินเดือนถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงาน ฯลฯและเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ และเงินรางวัลพิเศษนี้เป็นค่าจ้างปกติตามบทนิยามคำว่า 'ค่าจ้างปกติ' ในคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงานฯ ฉะนั้น จึงต้องนำเงินรางวัลพิเศษไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างคำนวณเป็นเงินบำเหน็จตามคำสั่งดังกล่าวด้วยแม้จำเลยได้มีหนังสือแจ้งทุกหน่วยงานว่า ไม่ถือว่าเงินรางวัลพิเศษเป็นค่าจ้างที่จะนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จก็ไม่มีผลบังคับเพราะขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยและคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้ว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 5 เป็นเรื่องกำหนดข้อยกเว้นการจ่ายเงินค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างไม่เกี่ยวกับจ่ายเงินบำเหน็จเช่นคดีนี้ทั้งเป็นกฎหมายที่ออกมาภายหลังที่โจทก์เกษียณอายุออกจากงานแล้วไม่อาจนำมาปรับกับคดีนี้ได้
เงินบำเหน็จมิใช่เป็น 'ส่วนหนึ่งของเงินจ้าง' ตามความหมายในมาตรา 165(9) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันจะมีอายุความ 2 ปีแต่เป็นการเรียกร้องเงินบำเหน็จในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุออกจากงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามีอายุความฟ้องร้องเท่าใดจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 5 เป็นเรื่องกำหนดข้อยกเว้นการจ่ายเงินค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างไม่เกี่ยวกับจ่ายเงินบำเหน็จเช่นคดีนี้ทั้งเป็นกฎหมายที่ออกมาภายหลังที่โจทก์เกษียณอายุออกจากงานแล้วไม่อาจนำมาปรับกับคดีนี้ได้
เงินบำเหน็จมิใช่เป็น 'ส่วนหนึ่งของเงินจ้าง' ตามความหมายในมาตรา 165(9) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันจะมีอายุความ 2 ปีแต่เป็นการเรียกร้องเงินบำเหน็จในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุออกจากงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามีอายุความฟ้องร้องเท่าใดจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164