พบผลลัพธ์ทั้งหมด 403 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างระหว่างบริษัทในเครือ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากบริษัทเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก
เดิมโจทก์ทำงานกับบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท ช. จำเลยต่อมาจำเลยรับโอนโจทก์มาทำงานกับจำเลยโดยโจทก์ยินยอม โจทก์ย่อมขาดจากการเป็นลูกจ้างของบริษัท อ. และเป็นลูกจ้างของจำเลยโดยเด็ดขาดนับแต่บัดนั้น การที่จำเลยจะโอน โจทก์กลับไปยังบริษัท อ. อีกจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ เพราะบริษัท อ. เป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การสูบบุหรี่ในโรงงานกับการจ่ายค่าชดเชย แม้ฝ่าฝืนระเบียบ แต่เหตุไม่ร้ายแรงพอที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย
แม้จำเลยจะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามคนงานสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงานผู้ฝ่าฝืนอาจถูกให้ออกจากงานก็ตาม แต่สถานที่โจทก์สูบบุหรี่อยู่โกดังเก็บกระดาษ 2.50 เมตร สภาพกระดาษก็ไม่ใช่วัตถุไวไฟถึงกับมีการสูบบุหรี่ในระยะดังกล่าวแล้วสามารถลุกไหม้ได้ทั้งที่ที่โจทก์ยืนสูบบุหรี่อยู่ก็มีน้ำนองพื้น ยากที่จะเกิดเหตุไฟไหม้เนื่องจากการสูบบุหรี่ จึงยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106-1107/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นสิทธิของลูกจ้าง ไม่ใช่สินสมรส สามีไม่จำเป็นต้องยินยอม
สิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิทั้งสองประเภทจึงเป็นสิทธิของลูกจ้าง สิทธิดังกล่าวมิใช่สินสมรส ฟ้องของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเพื่อจัดการสินสมรสหรือฟ้องเกี่ยวแก่สินสมรส โจทก์มีอำนาจฟ้องตามลำพังตน ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงาน: การกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารจำเลย ทำงานธุรการ ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การที่โจทก์ฉวยโอกาสละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งคราว และการที่มีเจ้าหนี้หลายรายมาทวงหนี้จำเลยที่สำนักงาน ยังถือไม่ได้ว่าพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ลูกจ้างขัดคำสั่งเนื่องจากเหตุผลส่วนตัวอันสมควร
โจทก์เป็นลูกจ้างที่นายจ้างยอมให้ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานตลอดมาเป็นเวลา 3 ปีเศษ เหตุที่โจทก์ไม่สามารถไปทำงานต่างจังหวัดเพราะต้องดูแลบุตรซึ่งยังเล็กและป่วยเป็นโรคหัวใจพิการ ต่อมาจำเลยผู้เป็นนายจ้างสั่งให้โจทก์ไปทำงานต่างจังหวัดโดยไม่ได้ให้โอกาสและเวลาแก่โจทก์ในการปรับตัวและหาทางแก้ไขข้อขัดข้องดังกล่าวบ้างตามสมควร โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อนจึงต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3223/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย คำนวณจากเบี้ยเลี้ยงชีพ-เงินเดือน, การบังคับตามกฎหมายสัญญาต่างประเทศ, สินจ้างบอกกล่าวเกินคำขอ
บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยย่อมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายเอกชนโดยเฉพาะในทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 บัญญัติว่าผู้ใดกระทำผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย ส่วนในทางแพ่งข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในบางกรณีหากมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ
ปัญหาแรงงานส่วนใหญ่ต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โดยเฉพาะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมวด 10 มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน หากมีการกระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ภายในราชอาณาจักรก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลไทยและบังคับตามกฎหมายไทยไม่มีเหตุผลใดที่จะแยกฟ้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยเฉพาะในทางอาญาแต่ปัญหาแรงงานแท้ ๆ ให้ฟ้องร้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศอื่น ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีการตกลงจ้างกันในประเทศอื่น ก็ต้องฟ้องร้องและบังคับคดีตามกฎหมายไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมามีการผิดสัญญาในประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินเดือนค่าเบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางค่าใช้พาหนะของโจทก์ ค่าซ่อมรถ ค่าภาษีและค่าปรับภาษีจากจำเลย กรณีต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ฯ มาตรา 13 คือต้องถือตามเจตนาของคู่กรณี แต่เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าขณะทำสัญญาคู่กรณีประสงค์จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับและปรากฏว่าคู่กรณีมีสัญชาติอเมริกันทั้งสองฝ่าย กฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีตามฟ้องจึงต้องเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่กรณีคือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่ากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 8 คือให้ใช้กฎหมายของประเทศไทย
อุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์นั้นเป็นการรับฟังขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนเพราะเป็นการฟังพยานบอกเล่า โจทก์สืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่นำสืบจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 55
เบี้ยเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างและเลิกจ้างในวันเดียวกันก็ยังไม่พออนุมานได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
ปัญหาแรงงานส่วนใหญ่ต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โดยเฉพาะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมวด 10 มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน หากมีการกระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ภายในราชอาณาจักรก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลไทยและบังคับตามกฎหมายไทยไม่มีเหตุผลใดที่จะแยกฟ้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยเฉพาะในทางอาญาแต่ปัญหาแรงงานแท้ ๆ ให้ฟ้องร้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศอื่น ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีการตกลงจ้างกันในประเทศอื่น ก็ต้องฟ้องร้องและบังคับคดีตามกฎหมายไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมามีการผิดสัญญาในประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินเดือนค่าเบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางค่าใช้พาหนะของโจทก์ ค่าซ่อมรถ ค่าภาษีและค่าปรับภาษีจากจำเลย กรณีต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ฯ มาตรา 13 คือต้องถือตามเจตนาของคู่กรณี แต่เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าขณะทำสัญญาคู่กรณีประสงค์จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับและปรากฏว่าคู่กรณีมีสัญชาติอเมริกันทั้งสองฝ่าย กฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีตามฟ้องจึงต้องเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่กรณีคือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่ากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 8 คือให้ใช้กฎหมายของประเทศไทย
อุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์นั้นเป็นการรับฟังขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนเพราะเป็นการฟังพยานบอกเล่า โจทก์สืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่นำสืบจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 55
เบี้ยเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างและเลิกจ้างในวันเดียวกันก็ยังไม่พออนุมานได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างกู้ยืมเงินจากลูกค้า แม้ฝ่าฝืนระเบียบ แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยประกอบกิจการธนาคาร ได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้พนักงานทราบว่าการกู้ยืมเงินลูกค้าถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพนักงาน และหากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษ โจทก์กู้ยืมเงินจากลูกค้าของจำเลยจำนวน 3,000 บาท และใช้คืนแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งบีบบังคับลูกค้าเพื่อให้ยอมให้กู้ยืมเงินแต่อย่างใด การกระทำของโจทก์จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย และฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปลดออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ถือเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ
เดิมจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งยุบตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่ ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและส่งมอบงานก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ส่งมอบงานภายในกำหนดอันเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำสั่งเดิมเป็นให้ปลดโจทก์ออกจากงานเพราะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงได้ ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง (หลับยาม) ต้องพิจารณาความร้ายแรงและประวัติการกระทำผิด
ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยหลับยาม แต่เป็นการกระทำผิดครั้งแรกและมิได้ทำให้ทรัพย์สินของนายจ้างเสียหายยามคนอื่นที่หลับยามเช่นเดียวกันก็ถูกลงโทษเพียงตัดค่าแรงงานและมีหนังสือตักเตือนเท่านั้น การหลับยามจึงไม่เป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
แม้ลูกจ้างเคยกระทำผิดวินัยตามระเบียบของนายจ้างและถูกตักเตือนเป็นหนังสือมาครั้งหนึ่งแล้วมากระทำผิดวินัยข้อเดียวกันนั้นอีก แต่มิใช่เรื่องเดียวกันกล่าวคือความผิดครั้งก่อนเป็นเรื่องปล่อยให้บุคคลนำอาหารเข้าไปรับประทานในโรงงานครั้งนี้เป็นเรื่องหลับยามดังนี้นายจ้างยังหามีสิทธิเลิกจ้างได้ทันทีไม่
แม้ลูกจ้างเคยกระทำผิดวินัยตามระเบียบของนายจ้างและถูกตักเตือนเป็นหนังสือมาครั้งหนึ่งแล้วมากระทำผิดวินัยข้อเดียวกันนั้นอีก แต่มิใช่เรื่องเดียวกันกล่าวคือความผิดครั้งก่อนเป็นเรื่องปล่อยให้บุคคลนำอาหารเข้าไปรับประทานในโรงงานครั้งนี้เป็นเรื่องหลับยามดังนี้นายจ้างยังหามีสิทธิเลิกจ้างได้ทันทีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อำนาจศาลในการสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย และดอกเบี้ย
คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงผู้วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปขององค์การโทรศัพท์ฯจึงไม่มีฐานะเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2 ส่วนกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการขององค์การโทรศัพท์ฯ มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงาน ถือได้ว่าเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามความหมายของกฎหมาย จึงต้องรับผิดต่อลูกจ้างขององค์การโทรศัพท์ ฯ แต่หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อจัดระเบียบในการจ้างการใช้แรงงานและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจโดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาและสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ได้มิใช่เป็นการก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของฝ่ายบริหารส่วนมติของคณะรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารเท่านั้นไม่อาจใช้บังคับในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายได้
หลังจากคณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ มีมติให้ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯพ้นจากตำแหน่งแล้วจึงได้มีคำเสนอขององค์การโทรศัพท์ ฯเชิญให้เป็นที่ปรึกษาขององค์การโทรศัพท์ฯดังนี้เป็นการเลิกจ้างแล้วหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ไม่
เมื่อศาลแรงงานเห็นว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมแต่ทั้งสองฝ่ายไม่อาจทำงานร่วมกันได้ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามที่ลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับแต่ให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายอื่นลูกจ้างฟ้องเรียกให้ชำระพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิได้ทวงถามก่อน ศาลพิพากษาให้ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อจัดระเบียบในการจ้างการใช้แรงงานและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจโดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาและสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ได้มิใช่เป็นการก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของฝ่ายบริหารส่วนมติของคณะรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารเท่านั้นไม่อาจใช้บังคับในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายได้
หลังจากคณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ มีมติให้ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯพ้นจากตำแหน่งแล้วจึงได้มีคำเสนอขององค์การโทรศัพท์ ฯเชิญให้เป็นที่ปรึกษาขององค์การโทรศัพท์ฯดังนี้เป็นการเลิกจ้างแล้วหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ไม่
เมื่อศาลแรงงานเห็นว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมแต่ทั้งสองฝ่ายไม่อาจทำงานร่วมกันได้ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามที่ลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับแต่ให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายอื่นลูกจ้างฟ้องเรียกให้ชำระพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิได้ทวงถามก่อน ศาลพิพากษาให้ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง