พบผลลัพธ์ทั้งหมด 403 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยลูกจ้าง: เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณาขณะเลิกจ้าง หากไม่มีความผิดตามประกาศฯ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ต้องพิจารณาเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะเลิกจ้างว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดในกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ หรือไม่ หากขณะเลิกจ้าง ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดดังกล่าว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะอ้างเหตุต่าง ๆ ขึ้นภายหลังเพื่อเป็นการปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
แม้ข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจะกำหนดว่า ลูกจ้างที่มีข้อผูกพันจะต้องชดใช้ให้แก่จำเลย ให้จำเลยมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ก็ตามการที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำละเมิดได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และพนักงานอัยการกำลังพิจารณาอยู่ ได้ความเพียงเท่านี้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีข้อผูกพันที่จะต้องชดใช้เงินแก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะหักเงินบำเหน็จของโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลย
แม้ข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจะกำหนดว่า ลูกจ้างที่มีข้อผูกพันจะต้องชดใช้ให้แก่จำเลย ให้จำเลยมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ก็ตามการที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำละเมิดได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และพนักงานอัยการกำลังพิจารณาอยู่ ได้ความเพียงเท่านี้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีข้อผูกพันที่จะต้องชดใช้เงินแก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะหักเงินบำเหน็จของโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย (หย่อนความสามารถ) นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
ลูกจ้างป่วยมีอาการคล้ายโรคอัมพาต ลุกเดินนั่งและหยิบจับสิ่งของไม่สะดวกมาประมาณ 2 ปี และไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำได้ ถือได้ว่าลูกจ้างหย่อนความสามารถ แม้นายจ้างจะมีสิทธิตามสัญญาและตามระเบียบข้อบังคับที่จะถอดถอนลูกจ้างออกจากตำแหน่งได้แต่การที่นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างออกจากตำแหน่งในกรณีนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3) นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
กรณีดังกล่าว การที่นายจ้างให้โอกาสแก่ลูกจ้างที่จะพักรักษาตัว ได้และลูกจ้างได้ลาพักรักษาตัวเป็นเวลาถึง 2 ปี ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างประสงค์ให้ลูกจ้างหายเป็นปกติเพื่อจะได้ทำงานต่อไป มิใช่เป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 45 มิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้ลูกจ้างต้องแจ้งความจำนงขอหยุดพักผ่อนประจำปีก่อนแต่อย่างใดเมื่อลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้าง
กรณีดังกล่าว การที่นายจ้างให้โอกาสแก่ลูกจ้างที่จะพักรักษาตัว ได้และลูกจ้างได้ลาพักรักษาตัวเป็นเวลาถึง 2 ปี ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างประสงค์ให้ลูกจ้างหายเป็นปกติเพื่อจะได้ทำงานต่อไป มิใช่เป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 45 มิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้ลูกจ้างต้องแจ้งความจำนงขอหยุดพักผ่อนประจำปีก่อนแต่อย่างใดเมื่อลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานคำนวณเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง: เงินเดือนหลังลดขั้นวินัย
ข้อบังคับของนายจ้างว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานได้กำหนดการคำนวณเงินสงเคราะห์ โดยถือหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นเกณฑ์คำนวณ เมื่อลูกจ้างถูกลงโทษทางวินัยลดขั้นอัตราเงินเดือน แล้วถูกสั่งให้ออกจากงานฐานหย่อนความสามารถ เงินเดือนเดือนสุดท้ายของลูกจ้างที่นำมาเป็นฐานคำนวณจ่ายเงินสงเคราะห์ก็ต้องถือตามเงินเดือนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับภายหลังลดขั้นอัตราเงินเดือนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกออกจากงานเมื่ออายุครบ 60 ปี ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างมีข้อบังคับว่า ถ้าลูกจ้างคนใดมีอายุครบ 60 ปี ในระหว่างปี ลูกจ้างคนนั้นมีสิทธิที่จะเลือกออกจากงานในวันถัดจากวันที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือในวันสิ้นปีงบประมาณที่เกษียณอายุก็ได้ ดังนั้นการที่ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกออกจากงานก่อนสิ้นปีงบประมาณเมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีแล้ว ซึ่งข้อบังคับของนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเลือกทำได้ จึงเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นลาออกจากงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน ไม่เป็นโมฆะ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นข้อยกเว้นค่าชดเชย
กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้าย นั้น เป็นเพียงข้อยกเว้นว่าถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างได้แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ เมื่อเริ่มเข้าทำงานแล้วว่าจะทดลองปฏิบัติงานมีกำหนดไม่เกิน 180 วัน และนายจ้างได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลา 180 วันที่ให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานนั้น นายจ้างก็ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย มิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้จ้างทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104-2105/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายปีหลังเกษียณ: ไม่ถือเป็นการขยายสัญญาเดิม, นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่จำเลยตกลงจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไปเป็นรายปีหลังจากมีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์ออกจากหน้าที่ เพราะเกษียณอายุตามกฎหมายแล้วนั้น มิใช่เป็นการขยายกำหนดเวลาการทำงานของโจทก์ออกต่อไป หากแต่เป็นการตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ จึงเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง และโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยเนื่องจากถูกจำเลยเลิกจ้างตามสัญญาใหม่นี้จำเลยจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานต่อเนื่องและค่าชดเชย กรณีการจ้างงานขาดตอนถือเป็นการจ้างใหม่
จำเลยจ้างโจทก์ 2 ระยะ ระยะแรกจนถึงเกษียณอายุคือวันที่ 22 มิถุนายน 2517 ต่อมาจำเลยต่ออายุการทำงานของโจทก์ไปอีก อันเป็นการจ้างระยะที่สองซึ่งมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2518 ดังนี้วันทำงานของโจทก์สำหรับระยะการจ้างระยะแรกกับระยะที่สองขาดตอนไม่ต่อเนื่องกัน จึงต้องถือว่าการจ้างระยะที่สองเป็นการจ้างใหม่แม้จะ มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แต่จำเลยมิได้เลิกจ้าง โจทก์ตามกำหนดระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ในการจ้างระยะที่สองนี้อีกจำนวนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหนี้ค่าชดเชยจากศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่สู่องค์การเหมืองแร่ตามพระราชกฤษฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าองค์การเหมืองแร่จำเลยว่าจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างประจำ ต่อมาได้เลิกจ้างโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยแม้ได้ความตามทางพิจารณาว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่กรมทรัพยากรธรณีกระทรวงอุตสาหกรรม และถูกเลิกจ้างก่อนที่จะมีการจัดตั้งองค์การจำเลยขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 ก็ตาม แต่ พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมาตรา 8 บัญญัติให้ กรมทรัพยากรธรณีดำเนินการโอนกิจการ ทรัพย์สินสิทธิ หนี้และความรับผิดของศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้แก่องค์การจำเลย ดังนี้หนี้ที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์จึงโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยด้วย จำเลยจึงเข้าใจได้แล้วว่าเป็นการฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยที่จำเลยผูกพันต้องชำระตามที่รับโอนมาข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาจึงหาใช่ข้อเท็จจริงนอกฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบลาออกไม่จำเป็นต้องลงวันที่ให้สมบูรณ์ การลาออกด้วยความสมัครใจ มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ใบลาออกจากงานไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าไม่ลงวันที่แล้วจะเป็นใบลาที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับว่าได้ยื่นใบลาออกจริง ก็ย่อมเป็นการลาออกที่สมบูรณ์มิใช่นายจ้างให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาอย่างน้อย 3 ปี ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ข้อตกลงตามหนังสือสัญญาจ้างมีว่า "กำหนดสัญญาว่าจ้างอย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปี" นั้น สัญญาจ้างหาสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด 3 ปีไม่ แต่ยังมีผลต่อไปจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา สัญญาจ้างดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอของโจทก์ในเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นเงิน 30,000 บาทแก่โจทก์ ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างดังกล่าวหาได้ไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอของโจทก์ในเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นเงิน 30,000 บาทแก่โจทก์ ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างดังกล่าวหาได้ไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์