คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 403 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายให้ลูกจ้างไปทำงานบริษัทอื่นถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่จำเลยให้โจทก์ไปทำงานกับอีกบริษัทหนึ่ง แม้การทำงานของโจทก์ในบริษัทใหม่ จะเป็นการทำงานเช่นเดิม ในสถานที่เดิม ก็เป็นงานของบริษัทใหม่ โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลย ถือว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน อันเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องและการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นหัวหน้าคนงานได้บอกให้คนงานเก็บเครื่องมือและหยุดงานประท้วงจำเลยเพราะไม่พอใจที่จำเลยไล่ลูกจ้างบางคนออกจากงาน เมื่อการนัดหยุดงานดังกล่าวยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยจึงเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 การกระทำของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้าง ได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2) จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์ลักเอาใบลาและบัตรลงเวลาของโจทก์ไป แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในภายหลังหาใช่เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เอาใบลาและบัตรลงเวลาคืนไป จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสะสมของลูกจ้างและค่าชดเชยเป็นสิทธิแยกต่างหาก แม้ข้อบังคับบริษัทจะรวมไว้ด้วยก็ใช้ไม่ได้
เงินสะสมที่จำเลยจ่ายให้โจทก์มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ จึงเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชย แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินทุนสะสม ฯ จะกำหนดว่าเงินสะสมที่โจทก์ได้รับมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยก็ไม่มีผลบังคับ เพราะขัดกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งมีผลบังคับเป็นกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: สัญญาประนีประนอมยอมความครอบคลุมค่าชดเชย
จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์เคยฟ้องคดีนี้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว และโต้เถียงข้อแถลงของโจทก์ที่ว่าจำเลยยินยอมจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ ข้อเท็จจริงก็รับฟังไม่ได้ตามที่โจทก์แถลง ดังนั้น การที่ศาลแรงงาน ฯ วินิจฉัยว่า จำเลยได้ให้คำมั่นกับโจทก์ว่าจะจ่ายค่าชดเชยให้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์เคยฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและเงินประกันคืน แล้วตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่า จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่ง โจทก์ยอมตามที่จำเลยตกลงโดยไม่ติดใจเรียกร้องประโยชน์ใด ๆ และไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไปทั้งทางแพ่งและอาญาจากการเลิกจ้างนี้ ดังนี้ สิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยต่างมีมูลมาจากการเลิกจ้างซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากจำเลยตั้งแต่จำเลยเลิกจ้างแล้วข้อความตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลรวมไปถึงโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าชดเชยด้วย การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีฝ่าฝืนระเบียบและแสดงกิริยาไม่สุภาพ ไม่ถึงขั้นร้ายแรงเพียงพอต่อการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างเมาสุรา ไม่สวมเสื้อในขณะปฏิบัติงาน อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนั้น หาเป็นกรณีฝ่าฝืนที่ร้ายแรงไม่ และเมื่อนายจ้างบอกให้ลูกจ้างสวมเสื้อก็พูดว่า "คุณไม่เกี่ยว" นายจ้างสั่งให้ออกไปจากโรงงานก็พูดว่า "กูจะอยู่ที่นี่ได้ไหม" และเมื่อออกไปหน้าโรงงานก็พูดว่า "กูจะเข้าไปไม่ได้หรือ" ถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงคำไม่สุภาพและก้าวร้าวหาเป็นความผิดทางอาญาฐานดูหมิ่น ซึ่งหน้าอันจะเป็นข้อยกเว้นที่นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเลยต้องสอบสวนและพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างก่อนเลิกจ้าง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ตามระเบียบของจำเลย โจทก์ที่ 1 มีหน้าที่สอบถามผู้ที่ขอใช้กุญแจกลางว่าเป็นผู้เช่าที่มาพักจริงหรือไม่ การที่โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ว่าตนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบว่าผู้ที่ขอกุญแจกลางเป็นผู้เช่า จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54
จำเลยต่อสู้เรื่องความเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นประเด็นไว้ในคำให้การแล้วแม้จำเลยจะนำสืบไม่ชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม เมื่อทรัพย์สินของผู้ที่มาพักในโรงแรมสูญหายไปเพราะความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโรงแรม จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดไว้ในเรื่องการสอบสวนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกโจทก์ทั้งสองมาสอบถามและให้เขียนรายงานกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือได้ว่ามีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเมื่อได้ความว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 1 ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรง การที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ศาลฎีกาสั่งให้รับฟ้องโจทก์ข้อที่กล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้สอบสวนตามระเบียบเมื่อได้ความว่าจำเลยได้สอบสวนตามระเบียบแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยไม่มีความผิดและเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2 และศาลแรงงานกลางมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยใช้แก่โจทก์ที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงตัดสิทธิค่าชดเชยขัดประกาศ ม.46,47 และค่าน้ำมัน/ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีผลบังคับอย่างกฎหมายและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นข้อตกลงที่ตัดสิทธิที่จะพึงได้รับค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ
หนังสือของจำเลยที่กล่าวถึงการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎและระเบียบของจำเลยและในตอนท้ายของหนังสือได้กล่าวให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎและระเบียบของจำเลยมิฉะนั้นอาจมีการเตือนหรือปลดออกจากงาน ถือว่าเป็นคำเตือนถึงความไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตกลงไว้กับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้โจทก์ตามตำแหน่งเป็นประจำทุกเดือนโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะใช้จ่ายในการนี้หรือไม่และหากโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ขายสินค้าได้มากกว่ากำหนดก็จะได้รับค่าน้ำมันรถเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน ถือได้ว่าเงินค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์มีจำนวนแน่นอนและเป็นประจำทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามปกติของโจทก์เช่นเดียวกับเงินเดือนถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างต้องชัดเจน คำขู่หรือหนังสือเตือนที่ไม่ระบุการเลิกจ้าง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์หยุดงานโดยยื่นใบลาย้อนหลังอันเป็นการผิดระเบียบของจำเลย จำเลยจึงออกหนังสือเตือนและให้โจทก์ลงชื่อรับทราบ โจทก์ไม่ยอมลงชื่อ ผู้จัดการฝ่ายโรงงานของจำเลยจึงพูดกับโจทก์ว่า "ถ้าคุณไม่ยอมเซ็นผมปลดคุณ" โจทก์พากันกลับไปและไม่มาทำงานอีกพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงานไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหากผลงานไม่เป็นที่พอใจตามข้อตกลง
การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่มาทำงานสายเป็นประจำ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่กำหนดว่า "ในกรณีที่พนักงานมาทำงานในวันหยุดพิเศษ (วันหยุดตามประเพณี) นายจ้างตกลงจ่ายเงินให้ในอัตราสองเท่าของเงินเดือนและค่าบริการโดยเฉลี่ยเป็นรายวัน ส่วนการขาดงานให้ตัดเงินเดือนและค่าบริการโดยเฉลี่ยเป็นรายวันในกรณีที่พนักงานสายเกินกำหนด ซึ่งไม่ถือว่าขาดงานจะทำโทษเฉพาะตัดเงินเดือนเท่านั้น" เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับระเบียบการทำงานเฉพาะในวันหยุดพิเศษ หรือวันหยุดประเพณี มิได้หมายความถึงการทำงานในวันทำงานตามปกติ ซึ่งมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยวางไว้ต่างหาก
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างได้กำหนดมาตรการในการลงโทษลูกจ้างผู้มาทำงานสายไว้เป็นลำดับ ซึ่งระดับโทษมีตั้งแต่ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ตัดค่าจ้าง พักงานชั่วคราวโดยไม่จ่ายค่าจ้าง และเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างที่มาทำงานสายเป็นประจำ ซึ่งนายจ้างได้ออกหนังสือเตือนหลายครั้งโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้
การที่ลูกจ้างมาทำงานสายเป็นประจำและนายจ้างได้เตือน แล้วถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างย่อมมีสิทธิที่จะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583
of 41