คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 403 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากประพฤติชั่ว ขัดต่อศีลธรรมอันดี และส่งผลเสียต่อชื่อเสียงโรงแรม
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโรงแรมจำเลยว่าด้วยกฎระเบียบทางวินัย ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้พนักงานของจำเลยละเว้นหรือหลีกเลี่ยงการกระทำอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง ทรัพย์สินผลประโยชน์ของโรงแรม หรือการกระทำอันเป็นการขัดต่อศีลธรรมประเพณีอันดีงามพนักงานทุกคนของจำเลยจะต้องไม่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวทั้งในเวลาทำงานหรือนอกเวลาทำงาน ขณะที่อยู่ภายในหรือภายนอกสถานที่ทำงาน ถ้าพนักงานกระทำการใดที่อาจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือในทางอื่นใดแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจพิจารณาลงโทษตามระเบียบข้อบังคับได้
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของโรงแรมจำเลยมีชู้กับพนักงานชายซึ่งเป็นช่างประจำโรงแรมของจำเลย แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นภายในบริเวณโรงแรม หรือในเวลาทำงาน ก็ถือได้ว่าเป็นการไม่รักษาเกียรติและเป็นการประพฤติชั่ว ซึ่งเป็นการละเมิดต่อศีลธรรมอันดีอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะภริยาของพนักงานช่างชู้ของโจทก์ทนพฤติกรรมดังกล่าวของสามีและโจทก์ไม่ไหว จึงได้ไปตามหาสามีถึงโรงแรมจำเลยและร้องเรียนต่อจำเลย ในที่สุดครอบครัวต้องแตกแยก และเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่พนักงานโรงแรมของจำเลย การกระทำของโจทก์และชายชู้ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปกครองบังคับบัญชาพนักงานโรงแรมของจำเลย รวมทั้งชื่อเสียงของโรงแรมจำเลยด้วย เนื่องจากโจทก์มีตำแหน่งฝ่ายบริหารเป็นถึงผู้จัดการแผนกต้อนรับ แต่กลับมีความประพฤติชั่วเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่พนักงานอื่น ๆ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ และกรณีไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาต้องทำเป็นหนังสือตั้งแต่เริ่มจ้าง หากไม่เป็นไปตามนั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
++ คดีแดงที่ 3995-4017/2542 ++
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง จำต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ด้วย กล่าวคือนายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้างแต่เพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือฉบับแรกในภายหลังจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 46 วรรค 4ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การเลิกจ้างที่จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้าง จึงเป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างจำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812-3826/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ ศาลต้องพิสูจน์ว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
คดีแดงที่ 3812 - 3826/2542
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่า โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จึงไม่ชอบ
ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้างวันละ 160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ 160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดตำแหน่งและข้อเสนอให้ลาออก ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งลดตำแหน่งของโจทก์จากหัวหน้าพนักงานขายระดับ 6 เป็นพนักงานขาย ระดับ 5 แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและโจทก์ก็ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกระทำใดที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไปโดยจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้อันถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46วรรคสอง
จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ให้โจทก์พิจารณาว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอกเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทำลายเอกสารตักเตือน ถือเป็นผิดวินัยร้ายแรง
เมื่อโจทก์กระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจนำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้โจทก์และลูกจ้างอื่นของจำเลยทราบได้ การที่โจทก์ไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือนของจำเลยโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของจำเลยต้องสูญเสียหายและขาดประโยชน์ และอาจทำให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยเอาอย่าง ทำให้จำเลยไม่สามารถปกครองบังคับบัญชาลูกจ้างได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลาออกมีผลผูกพัน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงาน และหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 วรรคสอง
จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป
โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้าง โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย
การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: จำเลยอ้างเหตุทุจริต แต่ไม่นำสืบตามคำให้การ ศาลแรงงานพิพากษาให้จ่ายค่าเสียหาย
คดีแรงงาน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหายและทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างที่จังหวัด ล.โดยโจทก์สมรู้กับผู้เข้าร่วมประมูลงานรับเหมาก่อสร้างรายอื่น เพื่อให้ผู้ประมูลงานรายนั้นได้งานก่อสร้างดังกล่าวไปอันเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย และเป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง ในชั้นพิจารณาจำเลยไม่สืบพยานตามคำให้การ แต่กลับนำสืบว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการประมูลงานก่อสร้างศาลากลาง จังหวัด อ. โดยโจทก์รับเงินจากผู้ประมูลรายอื่นมาเป็นประโยชน์ส่วนตน แล้วโจทก์ไม่ยื่นซองประมูลประกวดราคางานก่อสร้าง โดยอ้างว่าโจทก์คำนวณแบบศาลากลางในรายละเอียดไม่ทัน ซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ดังนี้ศาลแรงงานจะยกเรื่องที่โจทก์กระทำการทุจริตตามที่จำเลยนำสืบมาวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ที่จำเลยให้การไว้ โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: ความแตกต่างและการบังคับใช้
แม้การจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงานของจำเลย มีหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายแตกต่างไปจากการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เช่นระยะเวลาการทำงาน เป็นต้น เงินชดเชยตามระเบียบของจำเลยดังกล่าวเป็นเงินประเภทอื่น มิใช่ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ก็ตาม แต่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานมิได้ห้ามนายจ้างที่จะออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือกับค่าชดเชยรวมกันไปจำเลยย่อมมีสิทธิออกระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงานได้ เมื่อปรากฏว่าระเบียบดังกล่าวกำหนดว่า พนักงานอาวุโสจะได้รับเงินชดเชยจำนวนหนึ่ง โดยคำนวณตามสูตรที่จะกล่าวต่อไป แต่ทั้งนี้ให้หักจำนวนเงินค่าชดเชยใด ๆ ที่จำเลยได้จ่ายตามกฎหมายแรงงานออก เห็นได้ว่า เงินซึ่งลูกจ้างได้รับตามระเบียบดังกล่าวมีค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานรวมอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยจ่ายเงินเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 18 เดือน ให้โจทก์ ทั้งจำเลยได้ระบุด้วยว่าเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 6 เดือน กรณีถือได้ว่าจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์แล้ว
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา582 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายที่บอกเลิกสัญญาจ้างจ่ายแก่อีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าต้องรับผิด สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่เงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานการที่จำเลยกำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงาน แม้จำเลยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าเป็นค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นจากจำเลยเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่หนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าภายในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2541 แต่จำเลยไม่ชำระ กรณีถือได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างหลังเกษียณและค่าชดเชย: สัญญาขัดต่อกฎหมายแรงงานเป็นโมฆะ
ข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งศาลแรงงานยกขึ้นวินิจฉัยเมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมานอกสำนวน ย่อมไม่มีผลให้ศาลฎีกาจำต้องถือตาม
เดิมโจทก์เคยทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย หลังจากโจทก์เกษียณอายุการทำงาน จำเลยได้ทำสัญญาจ้างให้โจทก์ทำงานอีก 1 ปี ในหน้าที่เดิมดังนั้น งานที่โจทก์ทำก่อนเกษียณก็ดี หลังเกษียณก็ดีเป็นงานในลักษณะเดียวกันในธุรกิจเดิมของจำเลย เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย จึงมิใช่งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน อันจะเข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม และที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำหนังสือสัญญาการว่าจ้าง โดยกำหนดว่า ผู้รับจ้างขอให้สัญญาว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ 1 และ/หรือ ผู้รับจ้างถูกเลิกสัญญาตามข้อ 5 ผู้รับจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าชดเชย ฯลฯ จากบริษัททั้งสิ้นนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเลยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีเหตุผลทางธุรกิจ แต่ต้องพิจารณาความจำเป็นและความเดือดร้อนของลูกจ้าง
บทบัญญัติเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการคุ้มครองนายจ้างและลูกจ้างมิให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แม้ตามมาตรา 123 ซึ่งมุ่งหมายมิให้นายจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจะได้กำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อนายจ้างมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างไม่ได้ จึงต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญฉะนั้นแม้การเลิกจ้างจะเป็นเหตุให้ผู้ถูกเลิกจ้างเดือดร้อน แต่ถ้าเป็นความจำเป็นทางฝ่ายนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างดำรงอยู่ต่อไป ก็ย่อมเป็นสาเหตุที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้
จำเลยร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและถูกโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ทั้งก่อนที่โจทก์จะยุบตำแหน่งจำเลยร่วม โจทก์ก็ยังประกอบกิจการได้กำไรอยู่ การยุบเลิกตำแหน่งดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายของสำนักงานใหญ่ของโจทก์เท่านั้น ทั้งตำแหน่งงานใหม่ที่โจทก์เสนอให้จำเลยร่วมคือรองนายสนามบิน ก็ต้องทำงานเป็นกะบางครั้งต้องทำงานในเวลากลางคืนและทำงานช่วงวันเสาร์อาทิตย์ จำเลยร่วมมีครอบครัวจึงไม่สะดวก ส่วนตำแหน่งฝ่ายปฏิบัติการประจำสนามบินมีผลประโยชน์ต่ำกว่าตำแหน่งเดิมที่จำเลยร่วมทำงานอยู่ จำเลยร่วมจึงปฏิเสธ โจทก์ไม่สามารถหาตำแหน่งงานใหม่ที่เหมาะสมให้แก่จำเลยร่วมได้ การที่จำเลยร่วมปฏิเสธตำแหน่งงานใหม่ที่โจทก์เสนอจึงมิใช่ความผิดของจำเลยร่วม กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยร่วม ทั้งการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมเพราะเหตุยุบตำแหน่งของจำเลยร่วม ก็ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมในกรณีนี้จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123
of 41