คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 403 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด
++ คดีแดงที่ 4800 - 5216/2534
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2534มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
การที่พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 บัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนด คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของพนักงาน และเป็นบทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น ส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง ที่แก้ไขแล้ว เมื่อจำเลยให้โจทก์ พ้น จากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุ อันเป็นการให้ออกจากงานโดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามข้อ 47 จึงเป็นการเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุเป็นการออกจากงานตามกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ ถึงลักษณะงานว่าได้จ้างโจทก์เป็นครั้งคราว เป็นการจรเป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ อันจะถือเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ แม้ศาลวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201-3205/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล และมีผลเมื่อศาลมีคำพิพากษา การคำนวณค่าชดเชยต้องรวมค่าครองชีพ
นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วนายจ้างจะต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่ง คดีนี้หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างแต่ โจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าเมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ยังคงมีนิติสัมพันธ์อยู่กับจำเลยอย่างเดิมจนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา ต้องถือว่าการเลิกจ้างมีผลนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลาง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำรายเดือนจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในอัตราเดิมนับแต่วันที่จำเลยหยุดดำเนินกิจการตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้แปรรูปองค์การจำเลยจนถึงวันที่มีคำพิพากษาศาลฎีกา อันเป็นช่ วงเวลาที่โจทก์ไม่ได้ทำงานโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์และจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จโดยจะต้องนำค่าครองชีพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างมารวมเป็นฐานคำนวณให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348-3350/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา แม้มีข้อตกลงให้เลิกจ้างก่อนกำหนด ก็ยังคงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กำหนดวันที่เริ่มมีผลใช้บังคับและวันที่สิ้นสุดไว้แน่นอนแล้ว แม้จะกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า หากโจทก์ผิดสัญญาไม่ว่าจะเป็นข้อหนึ่งข้อใดก็ดี โจทก์ยินยอมให้จำเลยเลิกจ้างหรือไล่ออกได้ทันทีก่อนที่จะครบกำหนดเลิกจ้างตามสัญญาและโจทก์ไม่ขอเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทน หรือค่าเสียหายหรือค่าชดเชยจากจำเลยแต่อย่างใดทั้งสิ้นก็มีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ทำผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดโจทก์ยอมให้จำเลยเลิกจ้างหรือไล่โจทก์ออกจากงานได้ทันทีก่อนที่จะครบกำหนดเลิกจ้างตามสัญญาได้เท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ทำให้ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่อเนื่องและการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยโดยการทำสัญญาใหม่ซ้ำๆ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ฉบับแรกไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อมาได้ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 2 และที่ 3 โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเช่นเดียวกัน และสัญญาจ้างฉบับหลังไม่มีข้อความให้ยกเลิกสัญญาจ้าง ฉบับแรก เมื่อโจทก์ได้ทำงานกับจำเลยติดต่อกันตลอดมา ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์รวมสามฉบับเพื่อประสงค์ที่จะให้อายุการทำงานของโจทก์น้อยลงโดยไม่นับอายุงานติดต่อกัน เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือจ่ายให้น้อยลง อันเป็นการหลีกเลี่ยงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน กรณีของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 46 แล้ว
จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติชั่วเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์หน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ น. ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารที่ร่วมรับคนโดยสารในกิจการของจำเลยได้ โจทก์ไปขอสุราต่างประเทศจาก น. ถึงที่พักในเวลา 23 นาฬิกาเศษ ครั้นเมื่อ น. ไม่มีสุราต่างประเทศตามต้องการโจทก์ก็ยอมรับเอาเงินจำนวน 200 บาทจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการประพฤติชั่วตามข้อบังคับว่าด้วยวินัยฯ ของจำเลย ข้อ 4.13 ที่กำหนดว่า "พนักงานต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่นประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้หมกมุ่น ในการพนันกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใดซึ่งอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ของตน" ย่อมเป็นเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การกระทำความผิดวินัยตามข้อ 4.13 จำเลยกำหนดให้ลงโทษด้วยการให้ออก โดยกำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อบังคับว่า การลงโทษให้ออกนั้นให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์มาก่อนและกรณีไม่ต้องด้วยข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
โจทก์กระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ โดยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ จึงเป็นเรื่องโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการสั่งพักงานมิใช่การเลิกจ้าง และมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน
เมื่อตามคำฟ้อง คำให้การ และคำแถลงรับของคู่ความมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้คู่ความสืบพยานต่อไปอีก ศาลก็ชอบที่จะสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสียได้
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากระทำด้วยวิธีใด โดยทำให้สภาพของการเป็นนายจ้างและลูกจ้างหมดไป การพักงานที่เป็นเพียงจำเลยให้โจทก์หยุดทำงานชั่วคราว สภาพของการเป็นลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีอยู่ต่อไปโดยจำเลยยังมิได้แสดงเจตนาเลิกจ้างนั้น หาเป็นการเลิกจ้างตามประกาศดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายลูกจ้างและบำเหน็จ, การเลิกจ้างเพราะขาดคุณสมบัติ, การนับอายุงาน
การโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหม สังกัดกรมการพลังงานทหาร ไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 60 ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิมเพราะเหตุยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่นับอายุการทำงานติดต่อกัน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลย ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 11 (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391-1442/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการออกข้อบังคับเงินบำเหน็จของรัฐวิสาหกิจ และการบังคับใช้ข้อบังคับใหม่แทนระเบียบเดิม
เดิมจำเลยไม่มีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างเป็นของตนเอง จึงนำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับโดยอนุโลมตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2521 จำเลยจึงได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จประกาศใช้บังคับ แต่ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 กำหนดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้แก่ราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหลายเป็นการทั่วไป จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งจึงหามีอำนาจที่จะยกเลิกเพิกถอนระเบียบดังกล่าวไม่ แต่มีอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจำเลยมาตรา 15 (3) และมาตรา 18 ที่จะวางข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จและเงินรางวัลของจำเลยเอง ซึ่งเมื่อได้ประกาศใช้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 แล้วย่อมมีผลเท่ากับไม่นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป ดังนั้น จะนำความในข้อ 5 วรรคท้าย และข้อ 6 ของระเบียบดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ได้รับความยินยอม เป็นเหตุเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ลูกจ้างทำหน้าที่เลขานุการกรรมการผู้จัดการของนายจ้าง ทำงานวันจันทร์ถึงวันเสาร์ระหว่างเวลา 8.30 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกา เป็นประจำและได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานเป็นพนักงานต้อนรับผู้โดยสารบนรถยนต์โดยสารและมีฐานะเป็นลูกจ้างรายวันค่าจ้างวันละ 73 บาท ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ในวันจันทร์ อังคาร และพุธ ตั้งแต่เวลาประมาณ 9 นาฬิกาถึง 18 นาฬิกาหรือกว่านั้น จึงเป็นคำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย คำสั่งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ได้
of 41