คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 403 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และดอกเบี้ยค่าชดเชยที่ไม่สามารถหักได้
เงินบำเหน็จเป็นผลประโยชน์นอกเหนือไปจากค่าชดเชยซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น ข้อบังคับของนายจ้างที่ให้หักค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ จึงหาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ แต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยไว้ด้วย นายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ
เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างเมื่อใด จะถือว่านายจ้างผิดนัดแล้วหาได้ไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ่ายค่าชดเชยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ย่อมผูกพันนายจ้าง แม้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่นายจ้างทำหนังสือยินยอมจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง 6 เดือน ทั้งที่ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 มิได้ห้ามไว้แต่อย่างใด จึงต้องบังคับไปตามสัญญาดังกล่าว และหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอันตกเป็นโมฆะไม่ ข้อตกลงนั้นย่อมผูกพันนายจ้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2629/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826-1833/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างระยะเวลา: การคำนวณอายุงานและค่าชดเชยจากสัญญาจ้างรายปี
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาจ้าง 1 ปี โดยระบุวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ และเมื่อสัญญาครบกำหนดแล้วโจทก์จำเลยก็ทำสัญญากันใหม่ปีต่อปี ดังนี้ต้องถือว่าสัญญาจ้างแรงงานนี้เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเป็นปี ๆ ไป โจทก์จะขอให้นับอายุการทำงานของโจทก์ด้วยการนำระยะเวลาการจ้างในสัญญาทุกฉบับมารวมคำนวณเข้าด้วยกันเพื่อคำนวณค่าชดเชยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197-1206/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงไม่ใช่ค่าจ้างเมื่อลูกจ้างกลับประจำบริษัท เลิกจ้างไม่รวมเบี้ยเลี้ยงคำนวณค่าชดเชย
เมื่อการก่อสร้างอาคารในต่างจังหวัดเสร็จลง โจทก์ต้องเดินทางกลับมาประจำบริษัทจำเลยเพื่อรอฟังคำสั่งให้ไปควบคุมงานในโครงการอื่นต่อไประหว่างรองานที่บริษัทจำเลย โจทก์คงได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินตอบแทนในการทำงานเฉพาะในเวลาที่โจทก์ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ระหว่างรองานอยู่ที่บริษัทจำเลย จึงไม่ต้องนำเบี้ยเลี้ยงมารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการคืนสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้าง
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ระหว่างสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์ทำผิด จึงมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มีผลงานให้แก่จำเลยในชั่วระยะเวลานั้นมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ การยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างย่อมต้องถือเสมือนว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่เคยมีมาก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่สะดุดหยุดลงจึงต้องคืนเข้าสู่ภาวะเดิมโดยไม่ถือว่าขาดช่วงจำเลยตัดระยะเวลาการทำงานของโจทก์ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างออกไม่ชอบด้วยความเป็นธรรมและหามีกฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสนับสนุนหรือให้อำนาจไม่
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่ได้จำกัดเฉพาะคำสั่งตรงๆ การปฏิบัติเปลี่ยนไปถือเป็นการเลิกจ้างได้
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองนั้น ไม่จำเป็นที่นายจ้างจะต้องมีคำสั่งโดยใช้ถ้อยคำเช่นนั้นตรง ๆ การใช้ถ้อยคำอย่างอื่นหรือกระทำการอย่างใดที่มีความหมายว่าให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างได้ โจทก์ขาดงานไปโดยมีเหตุอันควร เมื่อกลับมาทำงานจำเลยได้ปฏิบัติต่อโจทก์เยี่ยงบุคคลภายนอก และได้ให้ผู้อื่นหาคนงานใหม่แทนโจทก์ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4454-4455/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างอันเนื่องมาจากการถูกยึดทรัพย์สินของนายจ้าง ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
การที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยและของกรรมการผู้จัดการของจำเลยไว้ทั้งหมด ตามมาตรา 8 วรรคแรกแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 นั้นจำเลยย่อมไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ซึ่งมีผลต่อไปว่าจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำและจำเลยก็ไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งดังกล่าวถึงวันฟ้องเป็นเวลา 3 เดือนเศษจำเลยจึงอยู่ในฐานะที่ไม่มีความสามารถจะจ้างโจทก์ที่ 2 ไว้เป็นลูกจ้างของจำเลยต่อไปได้กรณีถือได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ที่ 2 แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526-3530/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างลูกเรือมีกำหนดระยะเวลาหรือไม่: พิจารณาจากพฤติการณ์การจ้างจริงและเจตนาของคู่สัญญา
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน หมายถึงการจ้างซึ่งกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ว่าจะจ้างกันกี่วัน กี่เดือนหรือกี่ปี เมื่อถึงกำหนดระยะเวลานั้นแล้วการจ้างเป็นอันระงับสิ้นสุดกันทันที และฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหามีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดนั้นไม่
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำงานในเรือเดินทะเลแผนกลูกเรือการลงเรือแต่ละครั้งได้ทำสัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาจ้างเป็นคราว ๆ โดยปกติมีกำหนดคราวละ 6 เดือน แต่เวลาทำงานจริง ๆ ไม่เป็นไปตามที่สัญญากำหนดไว้อาจเกินหรือไม่ครบกำหนดนั้นแล้วแต่เส้นทางการเดินเรือ จำเลยจะจ่ายค่าจ้างให้ตามวันที่ทำงานเมื่อหมดสัญญาครั้งหนึ่ง ๆ โจทก์จะได้ขึ้นจากเรือไปพักผ่อนระหว่างนั้นจำเลยจะจ่ายเงินลาพักให้แต่ไม่จ่ายค่าจ้างและโจทก์จะรอคำสั่งจากจำเลยว่าจะให้ลงเรือลำใดต่อไปเมื่อทำงานครบ 1 ปีโจทก์จะได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนด้วย ดังนี้แสดงว่ากำหนดระยะเวลาการจ้างเป็นคราว ๆ ไม่มีผลบังคับกันอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหวางจำเลยกับโจทก์ยังคงมีอยู่ติดต่อกันตลอดมาหาได้สิ้นสุดลงเป็นคราว ๆ ตามสัญญาลงเรือที่ทำกันไม่ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ทั้งจำเลยจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน การพิพากษาของศาลต้องวินิจฉัยเหตุผลความจำเป็นและความเพียงพอของการเลิกจ้าง
ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างประจำ แต่หาใช่ลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่ เพราะนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างเสียได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าเหตุผลที่การทดลองปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจเกิดแต่เหตุอันใด พฤติการณ์เป็นอย่างใด มีความจำเป็นแท้จริง และเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง มีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาในประเด็นนี้ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอาหาร/ค่าครองชีพไม่ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้แก่โจทก์หรือลูกจ้างอื่นซึ่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้จัดอาหารเลี้ยงดังเช่นลูกจ้างที่โรงงานสีคิ้ว การจ่ายค่าอาหารให้จึงเป็นการให้ความสงเคราะห์แก่ลูกจ้างของจำเลย อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกว่า เป็นค่าอาหารหรือค่าครองชีพและจะจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินค่าอาหารมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยได้.
of 41