คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 403 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าพาหนะ ที่พัก อาหาร และซักรีด ไม่ถือเป็นค่าจ้างสำหรับการคำนวณค่าชดเชย หากไม่ได้จ่ายเป็นประจำ
ลูกจ้างจะได้รับค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหารและค่าซักรีดจากนายจ้างก็ต่อเมื่อนายจ้างได้อนุมัติให้ลูกจ้างไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดและลูกจ้างมิได้ไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเป็นประจำหรือแน่นอนทุกเดือน ดังนี้เงินทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังเลิกกิจการ: ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้ค่าจ้างให้ลูกจ้าง แม้กิจการจะเลิกแล้ว
แม้ร้านสหกรณ์โรงงานกระดาษบางปะอิน จำกัด จำเลยที่ 1 จะได้เลิกกิจการไปแล้วก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 89 ให้ถือว่ายังคงดำรงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีของผู้ชำระบัญชีสภาพการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่1 ยังไม่สิ้นสุดลง การเป็นนายจ้างลูกจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่สิ้นสุดลงโดยการเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 และเมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยยังมิได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงมีหน้าที่จัดการชำระหนี้แก่โจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 90 และ 94 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีชำระหนี้ดังกล่าวจึงหาเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท ท. ต่อมาได้โอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลย ในครั้งแรกจำเลยใช้ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จเดิมของบริษัท ท. ซึ่งในกรณีที่โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินบำเหน็จและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แต่ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 32 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จใหม่ ซึ่งตามข้อบังคับฉบับนี้โจทก์กลับมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเพียงเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเท่านั้นจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์จะนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ดังนั้น แม้จำเลยจะได้จ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามข้อบังคับ ฉบับที่ 32 แล้วก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยจากจำเลยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากลูกจ้างมีเหตุผลอันสมควรในการขาดงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน เนื่องจากในวันแรกบุตรของโจทก์ป่วยมากจำเป็นที่โจทก์ต้องคอยดูแล ส่วนอีกสองวันต่อมานั้นปรากฏว่าฝนตกมาก น้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดินทางไปทำงานและโทรศัพท์เสียหายมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดินทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทางโทรศัพท์ได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากมีเหตุจำเป็น ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานและการจ่ายค่าชดเชย แม้เลิกจ้างหลังพ้นกำหนดทดลองงานเล็กน้อย นายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 180 วัน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะผลของการทดลองงานไม่เป็นที่พอใจจำเลย โดยให้การเลิกจ้างมีผลเมื่อพ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติงาน 180 วันไป 2 วัน แม้จะเพื่อประโยชน์หรือให้เป็นผลดีแก่ลูกจ้างเพียงใดก็ถือไม่ได้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงาน กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 46 วรรคท้าย แต่เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากผลของการทดลองงานไม่เป็นที่พอใจและจำเลยได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาทดลองงานโดยได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบล่วงหน้าแล้ว แม้จะให้มีผลเลิกจ้างเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาทดลองงานไปแล้ว ก็ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จำเลยจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846-3847/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อตกลงทดลองงานต้องเป็นหนังสือชัดเจน การส่งมอบระเบียบข้อบังคับอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็นการแจ้งทดลองงาน
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยแจ้งด้วยวาจาพร้อมกับมอบระเบียบข้อบังคับในการทำงานและกฎข้อบังคับของพนักงานบริษัทจำเลยให้แก่โจทก์ในวันสัมภาษณ์ว่าโจทก์ต้องทดลองงาน 180 วัน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ 'แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ'ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แต่เป็นเพียงการส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไปศึกษาว่า จำเลยมีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นประการใดเท่านั้น ทั้งในวันสัมภาษณ์นั้นก็ยังมิได้มีการตกลงจ้างกัน ต่อมา จำเลยตัดสินใจจ้างโจทก์ตามหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำงาน ก็หามีข้อความใดแสดงให้ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทดลองปฏิบัติงานหรือไม่ จึงไม่เป็นการแจ้งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทน หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้น ไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตาม มาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้าง ค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนายจ้าง-ลูกจ้าง: ค่าจ้างจากบริษัทอื่น จำเลยเป็นเพียงตัวแทนจ่าย ไม่เป็นนายจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหัวหน้าวงดนตรี มีโจทก์เป็นลูกวงเดิมบริษัท น.ร่วมกับจำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเล่นดนตรี โดยจำเลยรับเงินมาจากบริษัท น. แล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ ต่อมาบริษัท น. และจำเลยได้สั่งให้โจทก์ไปเล่นดนตรีที่บริษัท ซ. จำกัด โดยโอนให้โจทก์ไปรับเงินเดือนจากบริษัท ซ. จำกัด มีจำเลยเป็นผู้รับแทนแล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเท่ากับยืนยันว่า ค่าจ้างที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นเงินของบริษัท ซ. จำกัด ไม่ใช่ของจำเลย จำเลยเพียงเป็นตัวแทนของโจทก์ไปรับค่าจ้างจากบริษัท ซ. จำกัด มาจ่ายแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191-3293/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ถูกยุบเลิก ต้องจ่ายค่าชดเชยและบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายแรงงาน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 การที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ.2520 พ.ศ. 2528 ใช้บังคับมีผลเพียงทำให้จำเลยต้องเลิกกิจการเพื่อสะสางกิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลต่อไปเท่านั้น หามีผลทำให้ลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปในตัวไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างลูกจ้างจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยโดยจำเลยออกคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นรายเดือน แต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจึงไม่ถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันมาเกิน 120 วัน ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ จำเลยถูกยุบเลิกอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งให้ลูกจ้างทำงานในเวลาพักกลางวันช่วงเทศกาล ถือมิได้เป็นเหตุยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยประกอบธุรกิจฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์โดยเก็บค่าดูจากผู้ชม โดยปกติในวันทำงานจะมีเวลาทำงานระหว่าง8.00 น.ถึง 17.00 น.พักกินอาหารกลางวันระหว่าง 12.00 น. ถึง 13.00 น. การที่มีผู้เข้าชมกิจการของจำเลยในวันเทศกาลตรุษจีนเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าวันปกติธรรมดา ถือไม่ได้ว่าเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ จำเลยจึงจะสั่งให้พนักงานทุกคนรวมทั้งโจทก์อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามจุดที่กำหนดให้ในเวลาหยุดพักกลางวันไม่ได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกคำสั่งเช่นนั้นโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้ว การที่โจทก์ยอมรับข้าวห่อกินในเวลาหยุดพักกลางวันจะถือว่าโจทก์ยินยอมไม่ได้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าเป็นงานที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปหรือไม่ คำสั่งของจำเลยไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 วรรคท้าย ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยคำสั่งดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
of 41