คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 403 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับ ผลต่อการเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า เดิมจำเลยบรรจุโจทก์ทำงานในต่างจังหวัด ต่อมาได้ย้ายโจทก์มาประจำในกรุงเทพมหานคร และลดเงินเดือนโจทก์ อ้างว่า โจทก์ทำงานบกพร่อง โจทก์โต้แย้งว่าจำเลยกระทำไม่ถูกต้อง จำเลยไม่พอใจบังคับให้โจทก์เขียนใบลาออก โดยเสนอเงื่อนไขจ่ายค่าชดเชยให้ 2 เดือน โจทก์เขียนใบลาออกล่วงหน้า แต่ถึงกำหนดจ่ายเงิน จำเลยกลับไม่ยอมจ่าย และไม่รับกลับเข้าทำงานอีก การกระทำของจำเลยถือว่าจำเลยมีเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จำเลยให้การว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจมิได้ถูกบังคับ คดีนี้จึงมีประเด็นว่า โจทก์ลาออกด้วยถูกบังคับ หรือด้วยความสมัครใจ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ลาออก จึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น อย่างไรก็ตาม ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้เขียนใบลาออก เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่ง ก็ต้องถือว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจ คู่กรณีจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้น และเมื่อเป็นการลาออกด้วยความสมัครใจแล้ว ปัญหาเรื่องเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมก็ไม่มี คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเงินตามข้อตกลง แต่อาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกษียณอายุตามระเบียบบริษัท: การใช้สิทธิขอปลดเกษียณก่อนกำหนดไม่ใช่การลาออกแต่เป็นการเลิกจ้าง
คู่มือพนักงาน ฯ หมวดที่ 5 ข้อ 5.3 การครบเกษียณอายุ ตามข้อ 5.3.1 นั้น ปกติพนักงานชายจะเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์ แต่มีข้อยกเว้นตามข้อ 5.3.3 ว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานชายที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ละฝ่ายอาจขอให้รับการปลดเกษียณก่อนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็ได้ ซึ่งหากจำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานผู้เป็นลูกจ้างขอให้รับการปลดเกษียณก่อนดังกล่าวแล้ว ย่อมมีผลเป็นการปลดเกษียณโดยได้รับเงินบำเหน็จด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนการลาออกตามข้อ 5.2 นั้น เป็นเรื่องที่ลูกจ้างขอเลิกสัญญาจ้างแรงงานกรณีที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิขอให้ได้รับการปลดเกษียณตามข้อ 5.3.3 หรือมีสิทธิตามข้อ 5.3.3 แต่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะให้ได้รับสิทธิเช่นนั้นเท่านั้นโจทก์มีหนังสือแจ้งแก่จำเลยว่า โจทก์ขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนด ขอได้พิจารณาอนุมัติตามระเบียบต่อไป จึงเป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนดตามข้อ 5.3.3 แม้โจทก์จะอ้างว่า โจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ไว้ด้วย ก็เป็นเพียงเหตุที่โจทก์ไม่ประสงค์จะปฏิบัติงานจนมีอายุครบ 60 บริบูรณ์ จึงขอใช้สิทธิตามข้อ 5.3.3 เท่านั้น รูปเรื่องจึงมิใช่ขอลาออกตามข้อ 5.2 แต่เป็นเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุแล้ว จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: ศาลต้องพิจารณาเหตุเลิกจ้างที่แท้จริงเพื่อวินิจฉัยสิทธิค่าชดเชยและสินจ้าง
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2529 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2528 ตามข้อต่อสู้ของจำเลย ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ยกฟ้อง ศาลจะต้องพิจารณาต่อไปว่าการเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2528 เป็นเพราะโจทก์ได้กระทำความผิดดังข้อต่อสู้ของจำเลยอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ตามประเด็นที่ศาลได้ตั้งไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2731/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องค่าชดเชย แม้ฟ้องชื่อบริษัทเดิมหลังเปลี่ยนชื่อแล้ว ก็ไม่ถือเป็นฟ้องผิดตัว หากมีเจตนาฟ้องนายจ้างที่รับโอนไป
บริษัทจำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัท แล้วจดทะเบียนตั้งบริษัท ส.พรเจริญโภคภัณฑ์คอนติเนตัล จำกัด ขึ้นมาใหม่ โดยใช้สถานที่ตั้งบริษัทเดิม โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยไม่อาจรู้ได้ และบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ก็ได้รับโอนโจทก์กับคนงานอื่นมาเป็นลูกจ้างโดยรับโอนอายุการทำงานมาด้วย มิได้มีการตกลงจ้างกันใหม่แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทที่ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นใหม่ และโจทก์ก็มุ่งประสงค์ที่จะฟ้องบริษัทที่เป็นนายจ้างของโจทก์ให้รับผิดในค่าชดเชยนั่นเอง แม้จะฟ้องในชื่อเดิมก็มิใช่เป็นเรื่องฟ้องผิดตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยปริยายจากเหตุโรงงานเสียหาย และสิทธิการทำงานกับนายจ้างใหม่
หลังจากโรงงานของจำเลยถูกไฟไหม้แล้วเป็นเวลา1 ปีเศษ จำเลยมิได้ดำเนินกิจการแต่ประการใด และไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะเปิดดำเนินกิจการอีกเมื่อใด การที่จำเลยให้โจทก์เข้าทำงานที่บริษัทซึ่งเปิดกิจการทำนองเดียวกันแต่โจทก์ไม่ยอมทำตามจะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ไม่ได้เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไปทำงานกับบริษัทใหม่หรือไม่ก็ได้จึงถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังใช้ได้แม้กรรมการลาออก การเลิกจ้างที่เป็นธรรมเมื่อบริษัทขาดทุน
การที่ อ. กับ จ. กรรมการบริษัทจำเลยลงชื่อมอบอำนาจให้ ถ.ดำเนินคดีแทนบริษัทจำเลย เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระทำของบริษัทจำเลย แม้ต่อมา อ. จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยไป หนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นก็หาระงับไปไม่ ถ. จึงยังมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้ ส. ต่อสู้คดีแทนจำเลยโดยทำคำให้การยื่นต่อศาลได้
จำเลยประสบภาวะการขาดทุนมาก มีความจำเป็นเพียงพอต้องเลิกจ้างลูกจ้าง และจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าจะเลิกจ้างผู้ใดก่อนอย่างสมเหตุผล การที่โจทก์เป็นผู้ต้องถูกเลิกจ้างเพราะลากิจ ลาป่วยและมาทำงานสายมากจะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างบางคนมิได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยความตกลงและผลกระทบด้านค่าชดเชย สิทธิการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างวันหยุด
โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกันตามมติที่ประชุมของพนักงานบริษัทเพราะบริษัทดำเนินกิจการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรประกอบกับค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ เป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง บริษัทจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์และจำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทุกวันที่ 28 ของเดือนจำเลยบอกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2529 การเลิกจ้างย่อมมีผลในวันที่ 28 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างในคราวถัดไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2529 ซึ่งเป็นวันบอกกล่าว จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2529 รวม 57 วัน คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดวันฟังคำพิพากษานั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งแต่มิได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วยมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411-2415/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยความยินยอมของลูกจ้าง ยังคงต้องจ่ายค่าชดเชยและบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยเรียกประชุมพนักงานของบริษัท ชี้แจงให้ทราบว่าบริษัทประสบปัญหาทำให้การดำเนินกิจการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ ขอให้ที่ประชุมลงมติเลิกสัญญาจ้างพนักงาน เมื่อมติของที่ประชุมพนักงานบริษัทตกลงเลิกสัญญาจ้างจึงมีผลเท่ากับจำเลยเลิกสัญญาจ้างที่ทำไว้กับโจทก์ เป็นการให้ลูกจ้างออกจากงาน ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และการเลิกจ้างกรณีเช่นนี้จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานคำนวณเงินบำเหน็จและค่าชดเชย, สิทธิการหักเงินบำเหน็จ, และสิทธิค่าทำงานในวันหยุดของกัปตันเรือ
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า '..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือน คูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท' คำว่า เงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริง ค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจา และการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัย โดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้ และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะ กำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วย โจทก์ซึ่งเป็นกัปตัน หรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 43 และ 36(1)
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ 9 (ค) ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้ จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วย ก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้าง ทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้ว จึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับกองทุนบำเหน็จไม่ผูกพันลูกจ้างเก่า และการแก้ไขข้อบังคับโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เพราะตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ 10 นั้น แม้กรณีที่พนักงานตายหรือลาออกก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ถือได้ว่าเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้ข้อบังคับข้อ 12 วรรคแรกจะระบุว่า 'พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น' ก็ตาม แต่ความในวรรคสองของข้อบังคับดังกล่าวก็ระบุว่า 'ความในวรรคแรก มิให้ใช้บังคับกับพนักงานที่เข้าทำงานอยู่ก่อนวันที่ 30 พฤษภาคม 2526' เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 ข้อบังคับนี้จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์
การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ระบุยกเว้นมิให้ถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย และข้อบังคับใหม่ก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างข้อบังคับในส่วนนี้จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
of 41