คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท การตอกบัตรแทนเพื่อนไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานแทนณ. ลูกจ้าง เพื่อแสดงเวลากลับจากทำงานของ ณ. ซึ่งมิได้กลับมาที่บริษัทจำเลยโดยได้ลงระหว่างทางซึ่งในวันดังกล่าว ณ. ก็ได้ไปทำงานจนสิ้นสุดเวลาทำงานปกติแล้ว เมื่อไม่ปรากฎว่าการตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานกลับในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ ณ. หรือไม่ และไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงประการอื่นใดอีก การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับและละทิ้งหน้าที่ โดยต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงาน ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานไปเสียและเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
ลักษณะงานที่โจทก์ทำอยู่คือหน้าที่ขัดเงาในบริษัทจำเลยซึ่งประกอบกิจการผลิตเครื่องประดับกาย มิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วอาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้างหรือเป็นอันตรายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ทั้งเป็นการดื่มเบียร์ในขณะที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ทำอยู่ไปและไม่ปรากฎว่าโจทก์มึนเมาหรือไม่เพียงใด การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แม้จำเลยจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า จำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยถ้าพนักงานเสพสุรามึนเมาในขณะปฏิบัติงาน ก็มิใช่จะต้องถือว่าการกระทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีที่ร้ายแรงทุกเรื่องไป เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือในเรื่องดังกล่าวมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป ต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกจ้าง นายจ้างต้องใช้ดุลพินิจ เหตุผลต้องสมเหตุสมผล แม้ข้อกล่าวหาไม่เป็นจริง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวอ้างว่า โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่นำใบเสร็จไปเรียกเก็บเงินแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัว มิได้อ้างเหตุความไม่ไว้วางใจเป็นเหตุเลิกจ้าง แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวอ้าง แต่สิทธิเลิกจ้างโดยทั่วไปย่อมเป็นสิทธิของนายจ้างหรือสิทธิในทางจัดการ โดยต้องเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมและมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าโจทก์ทำตัวไม่น่าไว้วางใจ การที่ศาล-แรงงานกลางอ้างเหตุดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำตัวไม่น่าไว้วางใจ และมีเหตุสมควรที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นการวินิจฉัยเพื่อความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง หากไม่ตรง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
เหตุที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างโจทก์ปรากฏตามคำสั่งของโจทก์เรื่องเลิกจ้างพนักงานแล้ว การที่จำเลยอ้างเหตุต่าง ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างนั้นมาในคำให้การ จึงมิใช่เหตุที่จำเลยจะนำมาใช้อ้างในการเลิกจ้างโจทก์ได้ ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อเหตุที่จำเลยอ้างในคำสั่งเลิกจ้างนั้น มิใช่เหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
การที่พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 บัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนด คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของพนักงาน และเป็นบทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น ส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง ที่แก้ไขแล้ว เมื่อจำเลยให้โจทก์ พ้น จากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุ อันเป็นการให้ออกจากงานโดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามข้อ 47 จึงเป็นการเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุเป็นการออกจากงานตามกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ ถึงลักษณะงานว่าได้จ้างโจทก์เป็นครั้งคราว เป็นการจรเป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ อันจะถือเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ แม้ศาลวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ถูกกล่าวหาทางอาญา ศาลแรงงานไม่ผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา และการเลิกจ้างเพราะความผิดทางอาญาไม่ใช่คดีแพ่งต่อเนื่อง
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างถูกจำเลยผู้เป็นนายจ้างร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกปลอมและใช้เอกสารปลอม ร่วมกันฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกง ซึ่งหากจะฟ้องบังคับในทางแพ่งด้วยในกรณีที่ฉ้อโกงได้เงินของจำเลยไปก็ได้แต่ขอให้โจทก์ใช้คืนเงินเท่านั้น จะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไม่ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าร่วมกับพวกกระทำความผิดทางอาญาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม ร่วมกันฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกง จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อจำเลยหรือไม่ ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติชั่วเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์หน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ น. ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารที่ร่วมรับคนโดยสารในกิจการของจำเลยได้ โจทก์ไปขอสุราต่างประเทศจาก น. ถึงที่พักในเวลา 23 นาฬิกาเศษ ครั้นเมื่อ น. ไม่มีสุราต่างประเทศตามต้องการโจทก์ก็ยอมรับเอาเงินจำนวน 200 บาทจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการประพฤติชั่วตามข้อบังคับว่าด้วยวินัยฯ ของจำเลย ข้อ 4.13 ที่กำหนดว่า "พนักงานต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่นประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้หมกมุ่น ในการพนันกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใดซึ่งอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ของตน" ย่อมเป็นเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การกระทำความผิดวินัยตามข้อ 4.13 จำเลยกำหนดให้ลงโทษด้วยการให้ออก โดยกำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อบังคับว่า การลงโทษให้ออกนั้นให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์มาก่อนและกรณีไม่ต้องด้วยข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
โจทก์กระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ โดยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ จึงเป็นเรื่องโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างประจำ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้าง
ในคดีเดิมที่จำเลยอนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า โจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่ เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5213/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความไม่ไว้วางใจและผลกระทบจากการนัดหยุดงาน ศาลไม่อุทธรณ์การรับฟังพยานหลักฐาน
คำวินิจฉัยของศาลแรรงานกลางที่ว่า คดียังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ถอดฝาครอบหลอดแก้ว หรือมีส่วนร่วมกับผู้อื่นถอดฝาครอบหลอดแก้ว หรือเป็นผู้ข่มขู่พนักงานที่ไม่ได้ร่วมนัดหยุดงานนั้น หมายความว่าไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะไม่ไว้วางใจผู้คัดค้าน ทั้งไม่เชื่อว่าผู้คัดค้านจะไม่สามารถทำงานร่วมกับลูกจ้างอื่น เป็นคำวินิจฉัยที่ตรงตามประเด็นแห่งคดีซึ่งกำหนดไว้ว่า มีเหตุที่ศาลจะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านหรือไม่แล้ว
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ตามพฤติการณ์ต่าง ๆ คดียังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ถอดฝาครอบหลอดแก้ว หรือมีส่วนร่วมกับผู้อื่นถอดฝาครอบหลอดแก้วดังกล่าว และการที่ผู้คัดค้านเข้าร่วมกับพวกนัดหยุดงานก็เป็นการนัดหยุดงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ผู้ร้องอุทธรณ์ว่าคดีมีประเด็นที่จะต้องพิเคราะห์เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้หรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวไม่จำต้องถึงขนาดที่ผู้ร้องสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาด ไทย ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานถึงเหตุและพฤติการณ์เกี่ยวกับการที่ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4519/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดร้ายแรง การพิจารณาความผิดตามระเบียบข้อบังคับ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดความผิดและมาตรการการลงโทษไว้ ซึ่งประกอบด้วยโทษสถานเบาสถานปานกลาง สถานหนักและโทษทางวินัย ส่วนกรณีความผิดอื่นที่ไม่ระบุในข้อบังคับให้ทำการพิจารณาโดยหัวหน้างานหรือฝ่ายจัดการเพื่อเปรียบเทียบการลงโทษ ลูกจ้างชกต่อยผู้บังคับบัญชาในขณะกำลังเปลี่ยนกะพนักงานต่อหน้าพนักงานอื่นจำนวนมาก ด้วยสาเหตุเนื่องมาจากการทำงาน ถือว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงเปรียบเทียบได้กับโทษทางวินัย คือ เจตนากระทำผิดอาญาต่อนายจ้าง ซึ่งมีโทษให้ออกโดยไม่จ่ายเงินชดเชย และถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
of 12