พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2973/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าชดเชยให้ถูกต้องตามค่าจ้างที่แท้จริงของลูกจ้าง
ก่อนอ่านคำพิพากษา ทนายโจทก์ที่ 4 แถลงว่าโจทก์ที่ 4 ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 2,730 บาท ขอแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ซึ่งโจทก์ที่ 4 ชอบที่จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 16,380 บาท แต่ศาลแรงงานกลางกลับพิพากษาให้เพียง 13,380 บาท จึงเป็นการผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบบริษัทและเบียดเบียนลูกค้า ถือเป็นเหตุร้ายแรง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคาร ได้มีคำสั่งห้ามพนักงานมีส่วนเกี่ยวพันกับลูกค้าในลักษณะที่อาจจะให้เป็นที่ครหา การกู้ยืมเงินลูกค้า การเรียกร้อง หรือแสวงหาผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนจากลูกค้า ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการเบียดเบียนลูกค้าของธนาคาร โจทก์เป็นพนักงานสินเชื่อทำหน้าที่หัวหน้าหน่วย การที่ค. ภริยาโจทก์ขอยืมเงินจาก อ. ลูกค้าของจำเลยประจำหน่วยนั้น และในการกู้ยืมนี้ โจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่ อ. ด้วย เป็นการรู้เห็นเป็นใจ ความประพฤติของโจทก์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการเบียดเบียนลูกค้าในทำนองเดียวกัน โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ และเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนเวรงานและลงเวลาทำงาน: ไม่ถือเป็นการทุจริตหรือละทิ้งหน้าที่หากมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
โจทก์เป็นยามรักษาความปลอดภัยของจำเลยมิได้เข้าเวรตามวันเวลาที่กำหนด แต่โจทก์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนเวรกับผู้อื่นแล้ว และโจทก์ลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะได้รับค่าจ้างดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังไม่ถึงกับเป็นการละทิ้งหน้าที่และลงเวลาทำงานอันเป็นเท็จโดยทุจริต ไม่เป็นการกระทำผิดร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเมื่อลูกจ้างไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
นายจ้างได้รับอนุญาตให้ใช้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดโดยอธิบดีกรมแรงงานได้อนุญาตตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 11 วรรคสามที่แก้ไขแล้ว โดยมีเงื่อนไขว่าให้ใช้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดตามความจำเป็นแห่งงานด้วยความสมัครใจของ ลูกจ้าง เช่นนี้ การที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือในวันหยุดได้จึงต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างไม่สมัครใจมาทำงานเกินเวลาทำงานตามปกติตามคำสั่งของนายจ้างจึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่ง ันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโดยอ้างธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร ศาลฎีกาตัดสินให้จ่ายค่าชดเชย
โจทก์เบิกอะไหล่ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปหลายชิ้นเพื่อซ่อมรถยนต์โดยสารของจำเลย บางชิ้นได้นำไปเปลี่ยนใส่ในรถยนต์โดยสารของจำเลยแล้ว บางชิ้นก็คงเก็บไว้ในตู้เก็บอะไหล่ที่ที่ทำงานของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มีระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรห้ามกระทำ ดังนั้นจำเลยจะเอาธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาเป็นเวลานานแล้วมาอ้างว่าเป็นระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย โดยถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องระบุเหตุเลิกจ้างในหนังสือแจ้ง หากอ้างเหตุภายหลังศาลไม่รับฟัง
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์เพียงว่าจำเลยมีเหตุผลบางประการของบริษัท มิได้มีข้อความระบุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ฉะนั้นการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มาทำงานสาย เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย อันเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 นั้น จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้าง คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติผิดร้ายแรง ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี แม้มีระเบียบข้อบังคับ
ระเบียบข้อบังคับสำหรับพนักงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลย กำหนดว่า ลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับและถูกตัดสินลงโทษหรือถูกจำคุกในความผิดอาญา ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นประพฤติผิดที่ร้ายแรง แต่จะเป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 หรือไม่และต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 หรือไม่ ต้องพิจารณาจากพฤติการณ์และการกระทำของลูกจ้างเป็นราย ๆ ไป หาใช่เพียงแต่พิจารณาจากข้อกำหนดในระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่
โจทก์วิวาททำร้ายร่างกายเพื่อนพนักงานโดยไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เหตุทะเลาะวิวาทเกิดนอกบริเวณบริษัทจำเลย และจำเลยไม่ได้รับความเสียหาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวจึงยังไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจำเลยจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์วิวาททำร้ายร่างกายเพื่อนพนักงานโดยไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เหตุทะเลาะวิวาทเกิดนอกบริเวณบริษัทจำเลย และจำเลยไม่ได้รับความเสียหาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวจึงยังไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจำเลยจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดข้อบังคับบริษัท: การพิจารณาความร้ายแรงและการจ่ายค่าชดเชย
การกระทำของลูกจ้างเป็นความผิดต่อข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างหรือไม่ ย่อมพิจารณาจากข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างเป็นเบื้องต้น และเมื่อได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว การกระทำนั้นจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานประกอบอีกชั้นหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671-675/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือที่ไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยและบริษัท บ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกัน แต่บริษัทดังกล่าวก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยเลิกกิจการแล้วมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานที่บริษัท บ. โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง การพิจารณาคำตักเตือนเก่า และการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต
ก่อนที่โจทก์จะกระทำความผิด อันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างนั้นโจทก์เคยถูกจำเลยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว 2 ครั้ง เนื่องจากเหตุที่โจทก์ไม่มาทำงานโดยมิได้ยื่นใบลาล่วงหน้าตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยโดยไม่มีเหตุสมควร แม้การกระทำผิดครั้งก่อน ๆ กับการกระทำผิดครั้งสุดท้ายนี้จะเป็นการกระทำผิดซ้ำในเหตุเดียวกัน แต่คำตักเตือนนั้นล่วงเลยมาแล้วถึง 2 ปีเศษ มีอายุเนิ่นนานเกินสมควรที่จะนำมาพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างในการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับครั้งหลัง ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแต่การกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำไปในประการที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.