พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากลูกจ้างมีเหตุผลอันสมควรในการขาดงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน เนื่องจากในวันแรกบุตรของโจทก์ป่วยมากจำเป็นที่โจทก์ต้องคอยดูแล ส่วนอีกสองวันต่อมานั้นปรากฏว่าฝนตกมาก น้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดินทางไปทำงานและโทรศัพท์เสียหายมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดินทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทางโทรศัพท์ได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากมีเหตุจำเป็น ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานป่วยนานเกินกำหนด และการจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบธนาคาร
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยการลา กำหนดให้พนักงานที่ลาป่วยครบกำหนดโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนแล้ว จำเป็นต้องรักษาตัวต่อไป มีสิทธิลาต่อได้ไม่เกิน 120 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือน แต่หากยังลาต่อไปอีกจำเลยปลดออกจากงานได้ ดังนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานจำเลยได้ลาป่วยโดยได้รับเงินเดือนจนครบกำหนดแล้ว และหยุดงานเกินกว่า 120 วันต่อมาอีก จำเลยให้โจทก์ออกจากงาน ระบุว่าโจทก์ป่วยเป็นโรคประสาทเรื้อรัง จึงไม่ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กรณีไม่ใช่ให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากขาดงานเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ที่ศาลแรงงานกลางอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดงานดังกล่าว จึงเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำสั่งเลิกจ้าง ทั้งการที่โจทก์ไม่ยื่นใบลาหลังครบกำหนดลาป่วยแล้วก็มิใช่กรณีที่โจทก์ทำผิด อันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
โจทก์ลาป่วยครั้งสุดท้ายแล้วไม่ได้ยื่นใบลาป่วยต่อจำเลยอีกและโจทก์ไม่ได้มาทำงานอีกเลย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ การไม่มาทำงานเป็นเวลานานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ลาป่วยครั้งสุดท้ายแล้วไม่ได้ยื่นใบลาป่วยต่อจำเลยอีกและโจทก์ไม่ได้มาทำงานอีกเลย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ การไม่มาทำงานเป็นเวลานานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การเรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วม, สิทธิการได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสวัสดิการ (อาหาร/ที่พัก) และค่าบริการไม่ใช่ค่าจ้าง การเลิกจ้างเนื่องจากพฤติกรรมไม่เหมาะสม
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างที่ทำงานเป็นพนักงานเสริฟพักอาศัยอยู่ที่ชั้นบนของภัตตาคารและให้ลูกจ้างรับประทานอาหารวันละ2 มื้อนั้นมีลักษณะเป็นการให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลืออันเป็นสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง กรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้าง ส่วนเงินค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากลูกค้าเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์จะนำเงินดังกล่าวมาแบ่งปันจ่ายให้เป็นรางวัลแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากการจ่ายค่าจ้างตามปกติ ในกรณีที่นายจ้างเรียกเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายเงินค่าบริการแก่ลูกจ้าง เงินค่าบริการดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2 เช่นกัน.
โจทก์เป็นพนักงานเสริฟในภัตตาคารของจำเลย ชอบพูดจาหยาบคายกับลูกค้า ค่าพนักงานอื่นและเคยด่าผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดอันจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เสียได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 แต่พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
โจทก์เป็นพนักงานเสริฟในภัตตาคารของจำเลย ชอบพูดจาหยาบคายกับลูกค้า ค่าพนักงานอื่นและเคยด่าผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดอันจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เสียได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 แต่พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากลาป่วยด้วยโรคประสาท และการจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ถูกงดขั้นเงินเดือนติดต่อกัน 2 ปี เพราะลาป่วยเกินกว่า 30 วัน เนื่องจากป่วยเป็นโรคประสาทแต่ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลย แม้จำเลยให้โจทก์ออกจากงานได้ตามคำสั่งและข้อบังคับของจำเลยก็ตาม ก็มิใช่กรณีที่โจทก์ได้กระทำความผิดอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง เหตุจำเลยอุทธรณ์เกินกรอบประเด็นที่ต่อสู้ไว้
คำให้การของจำเลยอ้างเหตุแต่เพียงว่า โจทก์เล่นการพนันกับพนักงานในขณะทำงาน คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันเกิน 3 วัน หรือดื่มสุราในเวลาทำงานหรือไม่ แม้ทางพิจารณาจำเลยจะได้นำสืบถึงเหตุดังกล่าว ก็เป็นการนำสืบนอกประเด็น
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์มีหน้าที่พิสูจน์อักษรแต่โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่อย่างร้ายแรง ทำให้การพิสูจน์อักษรในหนังสือฉบับพิเศษของหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจฉบับดีเด่นแห่งปี ประจำปี 2528 ผิดพลาดไป 20 แห่ง เป็นข้อผิดพลาดมาก จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นการอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 (5) แต่อุทธรณ์ของจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประกาศ ฯ ดังกล่าวข้อ 47 (2)ซึ่งจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์มีหน้าที่พิสูจน์อักษรแต่โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่อย่างร้ายแรง ทำให้การพิสูจน์อักษรในหนังสือฉบับพิเศษของหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจฉบับดีเด่นแห่งปี ประจำปี 2528 ผิดพลาดไป 20 แห่ง เป็นข้อผิดพลาดมาก จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นการอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 (5) แต่อุทธรณ์ของจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประกาศ ฯ ดังกล่าวข้อ 47 (2)ซึ่งจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากพฤติกรรมทุจริตต่อบุคคลภายนอก และสิทธิการได้รับค่าชดเชย
จำเลยมีอาชีพรับจ้างซ่อมรถยนต์ จำเลยจ้างโจทก์ให้มีหน้าที่ไปประจำอยู่ที่บริษัท ร. เพื่อตีราคาค่าซ่อมรถที่เกิดอุบัติเหตุและหาลูกค้านำรถมาซ่อมที่อยู่ของจำเลย โจทก์หาบุคคลนำรถยนต์ไปประกันกับบริษัท ร. และรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้วกลับนำไปใช้ส่วนตัวไม่นำส่งบริษัท ร. ทำให้บริษัท ร. ไม่ส่งงานให้จำเลยดังนี้เป็นการที่โจทก์ประพฤติในทางไม่สุจริต ทำให้จำเลยขาดรายได้ จึงมีเหตุเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่การกระทำของโจทก์ไม่ต้องตามกรณีหนึ่งกรณีใดตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ทั้งมิใช่การกระทำต่อจำเลยโดยตรง จึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง หรือทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีจึงต้องชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจยังใช้ได้แม้กรรมการลาออก การเลิกจ้างที่เป็นธรรมเมื่อบริษัทขาดทุน
การที่ อ. กับ จ. กรรมการบริษัทจำเลยลงชื่อมอบอำนาจให้ ถ.ดำเนินคดีแทนบริษัทจำเลย เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระทำของบริษัทจำเลย แม้ต่อมา อ. จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยไป หนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นก็หาระงับไปไม่ ถ. จึงยังมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้ ส. ต่อสู้คดีแทนจำเลยโดยทำคำให้การยื่นต่อศาลได้
จำเลยประสบภาวะการขาดทุนมาก มีความจำเป็นเพียงพอต้องเลิกจ้างลูกจ้าง และจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าจะเลิกจ้างผู้ใดก่อนอย่างสมเหตุผล การที่โจทก์เป็นผู้ต้องถูกเลิกจ้างเพราะลากิจ ลาป่วยและมาทำงานสายมากจะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างบางคนมิได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
จำเลยประสบภาวะการขาดทุนมาก มีความจำเป็นเพียงพอต้องเลิกจ้างลูกจ้าง และจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าจะเลิกจ้างผู้ใดก่อนอย่างสมเหตุผล การที่โจทก์เป็นผู้ต้องถูกเลิกจ้างเพราะลากิจ ลาป่วยและมาทำงานสายมากจะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างบางคนมิได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411-2415/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยความยินยอมของลูกจ้าง ยังคงต้องจ่ายค่าชดเชยและบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยเรียกประชุมพนักงานของบริษัท ชี้แจงให้ทราบว่าบริษัทประสบปัญหาทำให้การดำเนินกิจการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ ขอให้ที่ประชุมลงมติเลิกสัญญาจ้างพนักงาน เมื่อมติของที่ประชุมพนักงานบริษัทตกลงเลิกสัญญาจ้างจึงมีผลเท่ากับจำเลยเลิกสัญญาจ้างที่ทำไว้กับโจทก์ เป็นการให้ลูกจ้างออกจากงาน ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และการเลิกจ้างกรณีเช่นนี้จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97-98/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสอนพิเศษนอกเวลาทำงานปกติ ไม่ถือเป็นค่าจ้างสำหรับคำนวณค่าชดเชย
ค่าสอนพิเศษเป็นเงินที่ได้จากการทำงานนอกเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 จึงไม่ใช่ค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย