คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21-23/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่ผูกพันตามกฎหมาย
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานโดยกำหนดว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้และโจทก์จะไม่เรียกร้องอย่างใด ๆ เอากับจำเลยนั้น เป็นเพียงข้อสัญญาซึ่งให้สิทธิจำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้น มิได้หมายความว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเงินซึ่งพึงจะได้รับตามกฎหมาย
ค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 บังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ซึ่งประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอย่างกฎหมาย โจทก์กับจำเลยจะตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานโดยมีข้อตกลงใด ๆ อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศฉบับดังกล่าวหาได้ไม่ การที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันโดยกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ย่อมเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย เป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติลาออกของผู้จัดการโรงงาน: การตีความระเบียบข้อบังคับของนายจ้างตามหลักสุจริตและสภาพบังคับ
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกและผู้จัดการโรงงานลงลายมือชื่ออนุมัติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ถือเอาตัวอย่างใบลาพยานเอกสารเป็นข้อวินิจฉัยในการรับฟัง ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากแต่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักคำเบิกความ ของพยานจำเลยกับคำเบิกความของตัวโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยหรือ กล่าวพาดพิงถึงพยานเอกสารดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง หาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ไม่
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่น ๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 (1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากงาน ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและจ่ายค่าจ้างในระหว่าง ถูกเลิกจ้าง เป็นการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งมีประเด็นว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมหรือไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้ว ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยล่วงเลยไปด้วยว่าความผิดของโจทก์ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์โดยที่โจทก์มิได้มีคำขอมาด้วย เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และไม่ใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความซึ่งศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอได้ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินประกันของลูกจ้างที่ขาดงานเกิน 10 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถือเป็นค่าเสียหายต่อองค์กร
การที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันเกิน 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ถือได้ว่าโจทก์ทำความเสียหายให้แก่จำเลยอยู่ในตัว จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินประกันแทนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311-2313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างประสบปัญหาขาดทุน จำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ขาดทุนและเลิกจ้างลูกจ้างที่ประจำอยู่หน่วยงานนั้น การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของนายจ้าง เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร มิใช่การกลั่นแกล้ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชย ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ แม้เป็นการกระทำต่อสมาคมในเครือเดียวกับนายจ้าง
แม้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์การเกษตรจะได้จดทะเบียนเป็นสมาคมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากสหกรณ์การเกษตรจำเลยก็ตาม แต่สมาคมนี้นับได้ว่าอยู่ในเครือเดียวกับจำเลยโดยมีกำเนิดสืบเนื่องมาจากวัตถุประสงค์ของกิจการจำเลย ผู้สมัครเป็นสมาชิกสมาคมล้วนเป็นสมาชิกของจำเลย เนื่องด้วยสมาคมไม่มีเจ้าหน้าที่ของตนเองจำเลยจึงมอบหมายให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยดำเนินการรับสมัครสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมและยังมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคม ถือได้ว่าจำเลยมอบให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเพื่อกระทำการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยักยอกเงินค่ารับสมัครสมาชิกสมาคมจึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ที่จำเลยมอบหมายแก่โจทก์ จำเลยจึงเลิกจ้างหรือไล่โจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงาน: การกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารจำเลย ทำงานธุรการ ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การที่โจทก์ฉวยโอกาสละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งคราว และการที่มีเจ้าหนี้หลายรายมาทวงหนี้จำเลยที่สำนักงาน ยังถือไม่ได้ว่าพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่าเลิกจ้างโจทก์เพราะกระทำผิด คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ออกจากงานด้วยความสมัครใจเอง มิได้ต่อสู้ว่าเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิด คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์กระทำผิดอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และปัญหาข้อนี้มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำผิดทางอาญาของลูกจ้างต่อเจ้านาย ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การกระทำความผิดอาญาแก่นายจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(1) นั้น แม้มิใช่ตัวการแต่หากเป็นการสนับสนุนการกระทำผิด ก็เป็นการกระทำความผิดอาญาตามความหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างกู้ยืมเงินจากลูกค้า แม้ฝ่าฝืนระเบียบ แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยประกอบกิจการธนาคาร ได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้พนักงานทราบว่าการกู้ยืมเงินลูกค้าถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพนักงาน และหากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษ โจทก์กู้ยืมเงินจากลูกค้าของจำเลยจำนวน 3,000 บาท และใช้คืนแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งบีบบังคับลูกค้าเพื่อให้ยอมให้กู้ยืมเงินแต่อย่างใด การกระทำของโจทก์จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย และฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
of 12