พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชยตามกฎหมาย แม้ข้อบังคับบริษัทจะระบุเป็นอื่น ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จ่ายค่าชดเชยเพิ่ม
เงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 29 ผู้ปฏิบัติงานจะมีสิทธิได้รับต่อเมื่อมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เว้นแต่การออกจากงานเพราะเหตุที่ระบุไว้ เช่นเจ็บป่วยไม่สามารถทำงานต่อไปได้ มีระยะเวลาทำงานถึงกำหนดที่กล่าวแล้ว และกรณีผู้ปฏิบัติงานตาย จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่ทายาทของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานจะไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จเมื่อถูกลงโทษไล่ออกหรือให้ออกตามข้อบังคับของจำเลยและทายาทไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จถ้าผู้ปฏิบัติงานถึงแก่ความตายเพราะกระทำผิดอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยซึ่งถ้าไม่ตายเสียก่อนจะถูกลงโทษไล่ออกหรือให้ออก ดังนี้ เงินบำเหน็จเป็นเงินที่มีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน ข้อ 46, 47 และเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในข้อ 11 วรรคแรกว่า "การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ ให้ถือเป็นการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน" เมื่อข้อบังคับดังกล่าวออกโดยอาศัยความในมาตรา 18 (8)แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509แต่บทบัญญัติดังกล่าวเพียงให้คณะกรรมการมีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์ ผู้จัดการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ซึ่งพ้นการเป็นผู้จัดการพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารและครอบครัวของบุคคลดังกล่าวหาได้ให้อำนาจกำหนดให้เงินตามข้อบังคับที่ออกเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานด้วยไม่ ข้อบังคับของจำเลย ข้อ 11 วรรคแรกจึงไม่มีผลให้เงินบำเหน็จ ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นกลายเป็นค่าชดเชย
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในข้อ 11 วรรคแรกว่า "การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ ให้ถือเป็นการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน" เมื่อข้อบังคับดังกล่าวออกโดยอาศัยความในมาตรา 18 (8)แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509แต่บทบัญญัติดังกล่าวเพียงให้คณะกรรมการมีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์ ผู้จัดการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ซึ่งพ้นการเป็นผู้จัดการพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารและครอบครัวของบุคคลดังกล่าวหาได้ให้อำนาจกำหนดให้เงินตามข้อบังคับที่ออกเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานด้วยไม่ ข้อบังคับของจำเลย ข้อ 11 วรรคแรกจึงไม่มีผลให้เงินบำเหน็จ ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นกลายเป็นค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2967-2971/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิของนายจ้างในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การนัดหยุดงานนั้น เมื่อพิจารณาในแง่ของการกระทำแล้ว ก็ย่อมเรียกได้ว่าลูกจ้างแต่ละคนซึ่งร่วมในการนัดหยุดงานนั้นต่างได้ละทิ้งการงานซึ่งตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติให้แก่นายจ้างด้วย โจทก์นัดหยุดงานในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 34 (6) และกระทำไปในระหว่างที่มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ข้อพิพาทแรงงานเข้าสู่การชี้ขาดและห้ามนายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2519 ที่ห้ามลูกจ้างนัดหยุดเวลาโดยเด็ดขาด การนัดหยุดงานของโจทก์จึงเป็นความผิดอันมีโทษทางอาญาตามมาตรา 139 และ 141 ได้ และเมื่อการหยุดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่อยู่ในตัวและนัดหยุดงานกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน จึงต้องถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรด้วยกรณีต้องด้วยมาตรา 31 (4) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อ 47 (4) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองงานฯ จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, ค่าชดเชย, ค่าจ้างที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า, ดอกเบี้ย, หลักฐานเอกสาร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างค่าจ้างในการที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินที่โจทก์ออกทดรองไปก่อน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากงานแต่โจทก์ลาออกเอง เนื่องจากทราบว่าจำเลยกำลังจะดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหายักยอก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชย ค่าเสียหายและค่าจ้างที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางจึงตั้งประเด็นวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ออกจากบริษัทจำเลยนั้นเป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือว่าโจทก์ลาออกเอง แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยไล่โจทก์ออก มิใช่โจทก์ลาออกเอง ดังนี้ จะถือว่าศาลมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้เลยหาได้ไม่
เอกสารเรื่องเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายเป็นเพียงภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสาร จำเลยแถลงไม่รับรองความถูกต้อง โจทก์มิได้แถลงว่าต้นฉบับมีอยู่หรือไม่ อยู่ที่ใด เหตุใดโจทก์จึงไม่อ้างมาแสดงต่อศาล ดังนี้ ไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่ายให้โจทก์เนื่องจากเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 มิใช่ค่าจ้างตามบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ 31 แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 เกิดขึ้นในทันทีที่นายจ้างเลิกจ้างเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้จ่ายเงิน 2 จำนวนนี้แก่โจทก์ ก็ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแต่นั้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี
เอกสารเรื่องเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายเป็นเพียงภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสาร จำเลยแถลงไม่รับรองความถูกต้อง โจทก์มิได้แถลงว่าต้นฉบับมีอยู่หรือไม่ อยู่ที่ใด เหตุใดโจทก์จึงไม่อ้างมาแสดงต่อศาล ดังนี้ ไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่ายให้โจทก์เนื่องจากเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 มิใช่ค่าจ้างตามบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ 31 แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 เกิดขึ้นในทันทีที่นายจ้างเลิกจ้างเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้จ่ายเงิน 2 จำนวนนี้แก่โจทก์ ก็ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแต่นั้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งและขาดงาน แม้ขาดงานเพียงวันเดียว ก็ชอบด้วยกฎหมาย หากเคยตักเตือนแล้ว
ประมวลการลงโทษผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฯ อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย ซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจัดให้มีการประกาศกระทรางมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ว่า กรณีลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานมีโทษให้ไล่ออกจากงาน ข้อนี้มิได้ระบุว่าต้องขาดงานกี่วันจึงจะมีความผิด ดังนั้น หากโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานแม้เพียง 1 วัน ก็มีความผิดและถูกลงโทษให้ออกจากงานได้ กรณีนี้เป็นเรื่องที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานฯ ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามข้อ 47 (4) ฉะนั้น ประมวลการลงโทษฯ จึงหาได้ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำหนดว่าลูกจ้างต้องขาดงานติดต่อกัน 3 วันไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนแล้ว 3 ครั้ง ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้มาตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนแล้ว 3 ครั้ง ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้มาตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่