คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, อุทธรณ์ไม่สุจริต, คำเตือนพนักงานตรวจแรงงาน, การเลิกจ้าง, ทุจริตต่อหน้าที่
โจทก์แพ้คดีและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานจำเลยตามคำพิพากษาศาลแรงงานในคดีนี้ แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์เสียเองว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องอันจะมีผลให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลแรงงาน จึงเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จะอ้างความไม่สุจริตมาอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแรงงานโดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องข้อนี้ของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นั้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า"โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) กรณีจึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาท ละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส. ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรงจึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน, การใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต, และการตีความ 'ทุจริต' ตามประกาศกระทรวงแรงงาน
โจทก์แพ้คดีและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานจำเลยตามคำพิพากษาศาลแรงงานในคดีนี้แล้ว แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง อันจะมีผลให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลแรงงานเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้าง ทุจริตต่อหน้าที่ ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมาย คำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) กรณีจึงต้องใช้ความหมาย คำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่วโกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาทละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส. ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่ว โกง หรือไม่ซื่อตรง จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4699/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อความเสียหายจากเงินหายในตู้นิรภัย อันเกิดจากความประมาทเลินเล่อในการรักษาความปลอดภัย
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาน่านจำเลยจึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารงานของสาขาโจทก์ที่จำเลยเป็นผู้จัดการทั้งหมดทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่ในสาขาเดียวกันกับจำเลยจำเลยจะต้องควบคุมดูแลให้พนักงานปฏิบัติงานตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์โดยเคร่งครัดรวมทั้งตัวจำเลยด้วยทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานจำเลยเป็นผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงและตู้นิรภัยชุดหนึ่งซึ่งจำเลยสามารถจะเจ้าไปเปิดห้องมั่นคงและตู้นิรภัยได้ตลอดเวลาโดยลำพังผู้เดียวส่วนกุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงและตู้นิรภัยอีกชุดหนึ่งมีการแยกเก็บรักษาโดยร.เป็นผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงส่วนพ. ผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสตู้นิรภัยลำพังเพียงร. หรือพ. คนใดคนหนึ่งไม่สามารถจะเปิดตู้นิรภัยได้ก่อนวันเกิดเหตุและระหว่างวันเกิดเหตุพ. กลับจากลาพักผ่อนประจำปีเข้ามาทำงานตามปกติและได้รับมอบกุญแจและรหัสตู้นิรภัยมาเก็บรักษาแล้วดังนั้นระหว่างวันเกิดเหตุผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงหรือรและผู้เก็บรักษากุญแจและรหสตู้นิรภัยคือพ. เมื่อเป็นเช่นนี้ในขณะเกิดเหตุร. หรือพ. จึงไม่อาจจะเข้าไปเปิดตู้นิรภัยตามลำพังเพียงคนเดียวได้แต่จำเลยเพียงผู้เดียวสามารถที่จะเข้าไปเปิดได้เมื่อพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีที่ส่วนหนึ่งของเงินที่หายไปอยู่ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของพ. ซึ่งศาลแรงงานกลางฟังว่าเงินของโจทก์หายไปเกิดจากการกระทำของผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงกับตู้นิรภัยแล้วสำหรับร. และพ. นั้นต่างคนต่างเก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงและตู้นิรภัยอันเป็นการแยกเก็บรักษาตามหน้าที่ของตนตามปกติจึงถือมิได้ว่าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์หายส่วนกรณีเงินที่หายไปจากตู้นิรภัยส่วนหนึ่งกับเงินที่มิได้เก็บไว้ในตู้นิรภัยแต่ไปอยู่ที่ลิ้นชักโต๊ะทำงานของพ. นั้นก็ไม่ทำให้เห็นว่าพ. ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่อเพราะเงินที่หายไปเป็นเงินที่ได้นำไปเก็บไว้ในตู้นิรภัยเรียบร้อยแล้วหากพ. ทำการทุจริตก็คงจะไม่นำเงินที่ตนเอาไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะในที่ทำงานเช่นนี้สำหรับจำเลยนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารงานสาขาโจทก์ที่จังหวัดน่านให้ดำเนินไปด้วยดีโดยจำเลยจะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่โจทก์วางไว้อย่างเคร่งครัดการที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโดยไม่เปลี่ยนรหัสประตูห้องมั่นคงและรหัสตู้นิรภัยเมื่อมีการสับเปลี่ยนพนักงานระดับบริหารที่เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงกับตู้นิรภัยและจำเลยเองก็เป็นผู้เก็บรักษาทั้งกุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงกับตู้นิรภัยซึ่งจำเลยสามารถเข้าไปเปิดตู้นิรภัยตามลำพังได้ตลอดเวลาเมื่อเงินของโจทก์ที่เก็บไว้ในตู้นิรภัยหายไปก็ไม่สามารถที่จะสอบหาตัวผู้ทุจริตได้เช่นนี้ถือได้ว่าความเสียหายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินที่หายแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องมีเหตุร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้างได้ ศาลต้องพิจารณาความผิดฐานทุจริตอย่างรอบคอบ
การที่ศาลจะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา52ได้ต้องปรากฏว่ามีเหตุถึงขั้นให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างคือกระทำผิดร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้างได้ด้วย ผู้ร้องอ้าง เหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็น กรรมการลูกจ้างว่าผู้คัดค้านลักน้ำมันเป็นการ ทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดตาม ระเบียบข้อบังคับการทำงานและ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47(1)ซึ่ง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแสดงว่าผู้ร้อง ขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านเฉพาะกรณีกระทำผิด ร้ายแรง ซึ่งเลิกจ้างแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้นเมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะ เลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลเลิกจ้างเป็นสำคัญ ไม่ใช่การจ่ายค่าชดเชย
มีผู้โดยสารแอบขึ้นรถทางด้าน หลังคันที่โจทก์ขับรับส่งผู้โดยสารและมีเงินค่าโดยสารไม่พอ โจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคา โดยที่ผู้โดยสารเป็นหญิงอายุยังน้อยและมาเพียงคนเดียว ในฐานะที่โจทก์เป็นพนักงานขับรถและเป็นผู้ใหญ่ย่อมมีความเมตตาสงสาร จึงให้ความช่วยเหลือด้วยมนุษยธรรม โจทก์ไม่เจตนาทุจริตหรือกระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นเหตุที่สมควรหรือไม่เพียงไรมิได้อยู่ที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่จากแสวงหาประโยชน์จากลูกจ้างของนายจ้าง ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรม
โจทก์ใช้สอยลูกจ้างของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโจทก์ไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้านขายอาหาร ในเวลาทำงานช่วงเช้าคนหนึ่งและช่วงบ่ายคนหนึ่ง เป็นเวลานานประมาณ 10 วัน เป็นการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่การงานเพื่อประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น เกินสมควรที่ผู้บังคับบัญชาจะพึงกระทำและเสียหายแก่นายจ้าง ถือว่าทุจริตต่อหน้าที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเป็นการเลิกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อ 47(1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน และกรณีลูกจ้างกระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง: จำเลยต้องพิสูจน์สถานะตัวแทน และข้อเท็จจริงการประพฤติชั่วร้ายแรงตามกฎข้อบังคับ
จำเลยเพียงให้การว่าโจทก์ปิดประกาศข้อความโดยมีเจตนาที่จะให้ อ. ผู้จัดการโรงงานซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบว่า อ. เป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างไม่ติดใจสืบพยานและข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า อ. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเท่านั้น ไม่ได้ความว่าได้รับมอบหมายให้กระทำการหรือมีอำนาจหน้าที่อย่างใด บ้างอันจะถือว่าเป็นตัวแทนของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าอ. เป็นตัวแทนของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบและถึงแม้อ. จะเป็นตัวแทนของจำเลย ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับอ. เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยให้การไว้ด้วยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเป็นความผิดตามข้อบังคับของโจทก์ด้วย จำเลยจึงอาจเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ และศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาปัญหาดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย นายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือเว้นแต่ความผิดร้ายแรง
แม้การที่โจทก์ดื่มสุราในหอพักจะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่การฝ่าฝืนนั้นนายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ก็ต่อเมื่อได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงก็ไม่จำต้องตักเตือน ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวโดยไม่เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เพราะการดื่มสุราส่งเสียงดังไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง ทั้งข้อบังคับก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงด้วย
ส่วนการที่โจทก์ไปพูดขอยืมปืนจากยามเพื่อจะไปยิงน้องชายจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง การกระทำของโจทก์ก็ยังไม่เป็นความผิด ไม่เข้าเกณฑ์การกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3908/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่เบียดบังเงินค่าฤชาธรรมเนียม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้จัดการสำนักกฎหมายของจำเลยมีหน้าที่ดำเนินคดีแทนจำเลยโจทก์เบิกเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดีตามหน้าที่ของโจทก์เหลือเท่าใดโจทก์ต้องคืนให้จำเลย โจทก์ถอนฟ้อง ศาลสั่งคืนค่าขึ้นศาลเป็นเงิน 39,283 บาทโจทก์มีหน้าที่ต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้จำเลย แต่โจทก์กลับเบียดบังเอาไว้เป็นของตน ถือได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(1)จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2334/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขใบรับรองแพทย์เพื่อลาป่วยถือเป็นเอกสารปลอม นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์แก้ไขใบรับรองแพทย์ซึ่งต้องยื่นต่อจำเลยตามระเบียบ เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาอนุญาตให้โจทก์ลาป่วย โดยเพิ่มวันที่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวขึ้นอีก1 วัน และได้ยื่นใบรับรองแพทย์ที่แก้ไขแล้วต่อจำเลยนั้น เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม การกระทำของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)ตอนท้าย จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ได้