พบผลลัพธ์ทั้งหมด 209 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน ต้องมีความเชื่อมโยงกับการปฏิบัติหน้าที่ หากเป็นการถูกทำร้ายโดยไม่เกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน
ลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ปิดเปิดเครื่องกั้นถนนถูกคนร้ายใช้ปืนยิงได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างอย่างไร ตามทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนก็เพียงสันนิษฐานว่าคนร้ายยิงผิดตัวเข้าใจว่าลูกจ้างเป็นลูกจ้างของโจทก์อีกคนหนึ่งซึ่งเข้าเวรก่อนหน้านั้น สาเหตุที่ลูกจ้างถูกคนร้ายยิงจึงยังไม่เป็นที่แน่ชัด แม้จะเป็นการได้รับบาดเจ็บระหว่างการทำงานก็ถือไม่ได้ว่าประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด: งานเฝ้าระวังความปลอดภัยนอกเหนือจากงานปกติ ไม่เข้าข่ายต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
'การทำงาน' ตามคำนิยามของค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หมายถึงการทำงานตามปกติที่นายจ้างมอบหมายให้ลูกจ้างทำในกิจการของนายจ้าง เมื่อนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีคำสั่งให้ลูกจ้างอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ อันเป็นหน้าที่พิเศษนอกเหนือจากกิจการตามปกติของนายจ้าง ลูกจ้างที่ต้องอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยจึงไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพตามข้อตกลงสภาพการจ้าง: เงื่อนไขการจ่ายและขอบเขตของข้อตกลง
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายแก่ลูกจ้างเป็น รายเดือนจะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างก็ตาม แต่เมื่อการที่นายจ้างตกลงจะจ่ายเงินค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเกิดจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่จ่ายตามข้อผูกพัน หรือ สัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิม ดังนั้น การจ่ายเงินค่าครองชีพจำต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ ธนาคารมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขได้
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ระยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำใน ธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง แม้ข้อบังคับนายจ้างระบุไม่ใช่ค่าจ้าง
การที่ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานที่ทำงานณโรงกลั่น ฯ ศรีราชา มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดเป็นรายเดือน 15% ของเงินเดือน ถ้าย้ายเข้ากรุงเทพ ฯ ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงนี้นั้น เมื่อเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวนายจ้างจ่ายแก่พนักงานทุกคนที่ทำงาน ณ โรงกลั่น ฯ ศรีราชาเป็นอัตราแน่นอนทุกเดือน ไม่ใช่จ่ายให้เฉพาะพนักงานที่ออกไปทำงานนอกสถานที่เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งเป็นครั้งคราว เบี้ยเลี้ยงนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงคนครัวเรือ: ค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณเงินทดแทน
ส. ลูกจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งคนครัวประจำเรือบรรทุกน้ำมันระหว่างปฏิบัติงานในเรือ โจทก์จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ โดยหนึ่งเดือนจะได้หยุดงาน 7 วันติดต่อกันและไม่ได้เบี้ยเลี้ยง การปฏิบัติงานของ ส. ระหว่างเรือออกปฏิบัติงานขนส่งน้ำมันจึงมิใช่เป็นการไปทำงานนอกสถานที่เป็นครั้งคราว เบี้ยเลี้ยงที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958-971/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยขยันไม่ใช่ค่าจ้าง: ไม่นำมาคำนวณค่าชดเชย
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างวางกฎเกณฑ์ว่า นายจ้างจะจ่ายเงินเพิ่มแก่ลูกจ้างที่ไม่ขาดงานเลยในเดือนหนึ่ง ๆ จำนวนหนึ่ง ถ้าขาดงานบ้างเงินเพิ่มก็จะลดลงตามส่วน เงินเพิ่มนี้เป็นเงินประเภทตอบแทนความขยันหรือที่เรียกกันว่าเบี้ยขยัน ไม่ใช่ตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในข้อตกลงนั้นจะเรียกว่าค่าจ้างก็ตาม เงินเพิ่มนี้ก็หาใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: การคำนวณเงินบำเหน็จ
จำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแก่โจทก์เป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ ให้บทนิยาม คำว่า 'ค่าจ้าง' ไว้ว่า'หมายความว่า ค่าจ้างที่โรงงานน้ำตาลจ่ายให้แก่ พนักงานและคนงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงาน แต่ไม่รวมถึง เงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงหรือประโยชน์ อย่างอื่น' ค่าครองชีพจึงเข้าลักษณะเป็นค่าจ้าง หาใช่ประโยชน์อย่างอื่นอันจะไม่ต้องนำมาคำนวณเงินบำเหน็จไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติของนายจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่าย หากมีข้อตกลงเรื่องการระงับข้อพิพาท ไม่ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาล
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้น ทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใด ๆ ให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ" นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงากลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใด ๆ ให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ" นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงากลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทดแทนกับการจ่ายค่าชดเชย: แม้เปลี่ยนชื่อ แต่หลักเกณฑ์เดิมยังไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย
เงินทดแทนที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างมีหลักเกณฑ์แตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง แม้จำเลยจะแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินนั้นจาก "เงินทดแทน" เป็น "ค่าชดเชย " แต่หลักเกณฑ์การจ่ายและการได้มาซึ่งสิทธิก็ยังเป็นไปตามเดิม จึงหาทำให้เงินดังกล่าวกลายเป็นค่าชดเชยไม่