พบผลลัพธ์ทั้งหมด 209 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงตัดสิทธิค่าชดเชยขัดประกาศ ม.46,47 และค่าน้ำมัน/ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีผลบังคับอย่างกฎหมายและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นข้อตกลงที่ตัดสิทธิที่จะพึงได้รับค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ
หนังสือของจำเลยที่กล่าวถึงการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎและระเบียบของจำเลยและในตอนท้ายของหนังสือได้กล่าวให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎและระเบียบของจำเลยมิฉะนั้นอาจมีการเตือนหรือปลดออกจากงาน ถือว่าเป็นคำเตือนถึงความไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตกลงไว้กับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้โจทก์ตามตำแหน่งเป็นประจำทุกเดือนโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะใช้จ่ายในการนี้หรือไม่และหากโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ขายสินค้าได้มากกว่ากำหนดก็จะได้รับค่าน้ำมันรถเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน ถือได้ว่าเงินค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์มีจำนวนแน่นอนและเป็นประจำทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามปกติของโจทก์เช่นเดียวกับเงินเดือนถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
หนังสือของจำเลยที่กล่าวถึงการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎและระเบียบของจำเลยและในตอนท้ายของหนังสือได้กล่าวให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎและระเบียบของจำเลยมิฉะนั้นอาจมีการเตือนหรือปลดออกจากงาน ถือว่าเป็นคำเตือนถึงความไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตกลงไว้กับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้โจทก์ตามตำแหน่งเป็นประจำทุกเดือนโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะใช้จ่ายในการนี้หรือไม่และหากโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ขายสินค้าได้มากกว่ากำหนดก็จะได้รับค่าน้ำมันรถเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน ถือได้ว่าเงินค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์มีจำนวนแน่นอนและเป็นประจำทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามปกติของโจทก์เช่นเดียวกับเงินเดือนถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกับการชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เป็นสิทธิแยกต่างหาก
ค่าชดเชยเป็นเงินที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง เป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ดังนั้น แม้นายจ้างจะได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อได้เลิกจ้างแล้วก็ตาม แต่ถ้าการเลิกจ้างนั้นเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นบทกฎหมายที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง ส่วนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เป็นบทกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์รวมทั้งวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดยวิธีปรองดองและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เป็นกฎหมายคนละส่วน มิได้ขัดแย้งหรือซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นบทกฎหมายที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง ส่วนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เป็นบทกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์รวมทั้งวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดยวิธีปรองดองและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เป็นกฎหมายคนละส่วน มิได้ขัดแย้งหรือซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายจากการทำงาน: การมอบหมายงานกีฬาให้ลูกจ้างถือเป็นงานของหน่วยงาน ลูกจ้างถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติงาน หน่วยงานต้องจ่ายค่าทดแทน
ผู้ตายเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้แข่งกีฬาสำหรับหน่วยงานภายใน จำเลยที่ 2 ได้รับนโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติและมอบให้ผู้ตายเป็นผู้ควบคุมการฝึกซ้อมและลงเป็นคู่ซ้อมทีมแบดมินตันของจำเลยที่ 2 การที่ผู้ตายได้ปฏิบัติตามที่จำเลยที่ 2 สั่งและมอบหมายจึงเป็นการทำงานให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะควบคุมและฝึกซ้อมกีฬาแบดมินตันให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการตายเนื่องจากการทำงานให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย
เงินช่วยเหลือค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221-222/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้าง-นายจ้าง: การเปลี่ยนแปลงสถานะทางธุรกิจและการเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าว
หลังจากจำเลยได้เช่ากิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานทอผ้าพ.มาดำเนินการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2523 โจทก์ทุก คนซึ่งเป็นลูกจ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานทอผ้า พ. ได้ทำงานกับจำเลยต่อมาและจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ แสดงว่าโจทก์ตกลงทำงานให้กับจำเลยจำเลยตกลงให้ค่าจ้างแก่โจทก์ เท่ากับจำเลยยอมรับโจทก์เป็นลูกจ้างและโจทก์ยอมรับจำเลยเป็นนายจ้าง ถือได้ว่าการปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นลูกจ้างนายจ้างกันตามความหมายของคำว่า "ลูกจ้าง"และ "นายจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2523 จำเลยไม่อาจตั้งเงื่อนไขให้โจทก์สมัครงานใหม่กับจำเลยได้
การที่จำเลยปิดโรงงาน 30 วัน โดยไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำงาน ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 และค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46
การขอเลื่อนคดีหลายครั้งโดยไม่มีเหตุสมควร ถือว่าเป็นการประวิงคดีให้ชักช้าศาลชอบที่จะงดสืบพยานฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีนั้นเสียได้
การที่จำเลยปิดโรงงาน 30 วัน โดยไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำงาน ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 และค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46
การขอเลื่อนคดีหลายครั้งโดยไม่มีเหตุสมควร ถือว่าเป็นการประวิงคดีให้ชักช้าศาลชอบที่จะงดสืบพยานฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยและเงินทดแทนการบอกเลิกจ้าง คำนวณจากค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายเท่านั้น เงินจากหน่วยงานอื่นไม่รวม
เมื่อเงินเพิ่มตามวุฒิและค่าครองชีพเป็นเงินของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งมิใช่นายจ้างของโจทก์จ่ายให้โจทก์เงินดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง เพราะมิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง จึงไม่ต้องนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชยและเงินที่ต้องจ่ายแทนการบอกเลิกการจ้างล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าครองชีพที่จ่ายให้ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจถือเป็นค่าจ้าง จึงต้องนำมาคำนวณค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน
เมื่อปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินค่าครองชีพให้ลูกจ้างทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนไม่แตกต่างไปจากการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้าง ถือได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2
เมื่อเงินค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมาคำนวณเป็นค่าทดแทนด้วย
เมื่อเงินค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมาคำนวณเป็นค่าทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง หากรวมกับเงินเดือนแล้วไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ นายจ้างไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
ค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานของจำเลยมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำ เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างและเมื่อรวมกับค่าจ้างบางอัตราที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานของจำเลยแล้ว มิได้ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้พนักงานของจำเลยต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 1 กันยายน 2523
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3768/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: แม้เป็นข้าราชการทหาร แต่หากรับค่าจ้างจากองค์กรอื่น ก็ถือเป็นลูกจ้างได้
แม้โจทก์จะเป็นข้าราชการทหาร ได้รับเงินเดือนจากทางราชการ แต่เมื่อโจทก์ทำงานให้กับองค์การเชื้อเพลิงและได้รับเงินเดือนจากองค์การเชื้อเพลิงด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่องค์การเชื้อเพลิงเพื่อรับค่าจ้าง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างขององค์การเชื้อเพลิง ตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2
การกล่าวหาว่านายจ้างเอาความเท็จมาฟ้องลูกจ้างทำให้ลูกจ้างเสียหายนั้นแม้จะเป็นการกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ก็มิใช่เป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8(5) และไม่ใช่เรื่องอื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในข้ออื่นๆ แห่งมาตราเดียวกัน
การกล่าวหาว่านายจ้างเอาความเท็จมาฟ้องลูกจ้างทำให้ลูกจ้างเสียหายนั้นแม้จะเป็นการกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ก็มิใช่เป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8(5) และไม่ใช่เรื่องอื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในข้ออื่นๆ แห่งมาตราเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มจูงใจไม่ใช่ค่าจ้าง, ไม่อาจนำมารวมคำนวณค่าจ้างในวันหยุดได้
เงินเพิ่มจูงใจเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นกำลังใจในการทำงานเป็นเงินรางวัลตอบแทนความดีของลูกจ้าง ไม่มีลักษณะเป็นค่าจ้างจึงไม่อาจนำมารวมกับเงินค่าจ้างและค่าครองชีพเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าจ้างให้โจทก์ในวันหยุดได้