คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 209 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3627/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง แม้จ้างพิเศษแต่มีลักษณะงานประจำ มีสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมาย
แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างพิเศษหรือคนงานจร ทำงานแทนคนงานประจำ แต่เมื่อได้ความว่า ลูกจ้างพิเศษต้องมาทำงานทุกวันสัปดาห์ละ 6 วัน หยุดวันอาทิตย์เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำบางวันก็ต้องทำงานล่วงเวลา ประกอบกับเวลาทำงานก็ต้องลงชื่อในสมุดลงเวลาทำงานทุกคน เมื่อมาทำงานได้รับเลี้ยงอาหารกลางวันและมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของจำเลยเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำดังนี้ วัตถุประสงค์ที่จ้างก็เพื่อจ้างไว้ทำงานอันมีลักษณะงานเป็นงานประจำนั่นเอง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความค่าชดเชยขัดประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นโมฆะ คุ้มครองฐานะลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างเป็นการคุ้มครองและอำนวยประโยชน์แก่ลูกจ้างจึงเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยซึ่งทำขึ้นผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพและค่าพาหนะเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยด้วย
จำเลยจ่ายเงินค่าพาหนะให้โจทก์เนื่องจากตำแหน่งงานของโจทก์มีจำนวนแน่นอนในอัตราเดือนละ 1,200 บาท เงินจำนวนดังกล่าวถือว่าเป็นเงินที่ตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ จึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515
สินจ้างโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 นั้นรวมถึงค่าครองชีพและค่าพาหนะที่โจทก์ได้รับด้วย เพราะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างที่แท้จริง: ค่าจ้างจากงานเหมา ไม่ใช่ของจำเลยที่ 1
'นายจ้าง' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หมายถึงผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ซึ่งมีความหมายว่า งานที่ลูกจ้างทำนั้นจะต้องเป็นงานของนายจ้างเองและค่าจ้างก็ต้องหมายความถึงเงิน หรือเงินและสิ่งของของนายจ้างด้วย เมื่อปรากฏว่างานที่โจทก์รับจ้างทำเป็นงานที่จำเลยที่ 2 รับจ้างเหมามาทำและค่าจ้างก็เป็นเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายให้จำเลยที่ 2 มิใช่งานและเงินของจำเลยที่ 1 ดังนี้ นายจ้างที่แท้จริงของโจทก์คือจำเลยที่ 2 หาใช่จำเลยที่ 1 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิม แม้จะมีการจ่ายเงินตามระเบียบใหม่แล้ว ก็ไม่มีมูลหนี้เรียกร้องเพิ่มเติม
แม้โจทก์จำเลยแถลงว่า ต่างไม่สืบพยานบุคคล ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีต่อไปโดยอาศัยเอกสารที่ส่งไว้ต่อศาลแต่เมื่อโจทก์แถลงต่อไปว่าจะขอให้ศาลหมายเรียกเอกสารอื่นมาประกอบการพิจารณาของศาลอีกและจำเลยก็แถลงว่ายังติดใจส่งเอกสารจำนวนหนึ่งต่อศาลอีกเช่นเดียวกัน ดังนี้แสดงว่าคู่ความประสงค์ให้ศาลนำเอกสารที่คู่ความขอให้เรียกมาหรือส่งไว้ในสำนวนมาประกอบการพิจารณาด้วยหาใช่เพียงแต่พิจารณาจากเอกสารที่ส่งไว้แต่เดิมไม่
ภายหลังจากที่โรงงานกระสอบป่าน กรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำฉบับที่ 1 พ.ศ. 2521 แล้ว ประธานกรรมการอำนวยการจำเลยที่ 1 ได้ออกคำชี้แจงแก่พนักงานและคนงานว่าระเบียบดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521 เป็นต้นไปพนักงานและคนงานประจำที่ได้บรรจุเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521. ต้องมีสิทธิในเรื่องเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ออกระเบียบว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2521 ให้พนักงานและคนงานประจำที่ได้บรรจุเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521 คงมีสิทธิในเรื่องเงินชดเชยและเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมอีก ดังนี้ย่อมฟังได้ว่าก่อนที่จะมีระเบียบโรงงานกระสอบป่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำฉบับที่ 1 พ.ศ. 2521 นั้น ได้มีระเบียบเดิมให้พนักงานและคนงานประจำได้รับเงินบำเหน็จอยู่แล้ว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2517 การรับเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามระเบียบเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลย มีจำนวนเท่ากับเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับจึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกร้องเงินตามระเบียบเดิมอีก ไม่ต้องวินิจฉัยว่าระเบียบเดิมนั้นคือระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ.2519 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างถึงแก่ความตายจากการทำงาน ต้องพิสูจน์ความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างงานและโรค/การเจ็บป่วย
โรคหรือการเจ็บป่ายอย่างอื่นที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตาย อันเป็นผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โรคซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน ฯ ข้อ 22 จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น สืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรง หรืออีกนัยหนึ่งก็คืองานที่ลูกจ้างทำนั้นเป็นมูลให้เกิดโรค หรือการเจ็บป่วยขึ้น และเป็นเหตุให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคและการเจ็บป่วยดังกล่าว ปกติลูกจ้างผู้ตายมีหน้าที่คุมประแจ ทำความสะอาดสถานีรถไฟและแขวนพ่วงทางสะดวก มิใช่เป็นงานที่ก่อให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยเป็นลมในปัจจุบัน เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมิได้ทำงานตรากตรำ แต่ทำงานทุกวันโดยไม่มีวันหยุด และถึงแก่ความตายทันทีทันใดที่ปฏิบัติหน้าที่ และกำลังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชยตามกฎหมาย แม้ข้อบังคับบริษัทจะระบุเป็นอื่น ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จ่ายค่าชดเชยเพิ่ม
เงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 29 ผู้ปฏิบัติงานจะมีสิทธิได้รับต่อเมื่อมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เว้นแต่การออกจากงานเพราะเหตุที่ระบุไว้ เช่นเจ็บป่วยไม่สามารถทำงานต่อไปได้ มีระยะเวลาทำงานถึงกำหนดที่กล่าวแล้ว และกรณีผู้ปฏิบัติงานตาย จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่ทายาทของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานจะไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จเมื่อถูกลงโทษไล่ออกหรือให้ออกตามข้อบังคับของจำเลยและทายาทไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จถ้าผู้ปฏิบัติงานถึงแก่ความตายเพราะกระทำผิดอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยซึ่งถ้าไม่ตายเสียก่อนจะถูกลงโทษไล่ออกหรือให้ออก ดังนี้ เงินบำเหน็จเป็นเงินที่มีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน ข้อ 46, 47 และเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในข้อ 11 วรรคแรกว่า "การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ ให้ถือเป็นการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน" เมื่อข้อบังคับดังกล่าวออกโดยอาศัยความในมาตรา 18 (8)แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509แต่บทบัญญัติดังกล่าวเพียงให้คณะกรรมการมีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์ ผู้จัดการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ซึ่งพ้นการเป็นผู้จัดการพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารและครอบครัวของบุคคลดังกล่าวหาได้ให้อำนาจกำหนดให้เงินตามข้อบังคับที่ออกเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานด้วยไม่ ข้อบังคับของจำเลย ข้อ 11 วรรคแรกจึงไม่มีผลให้เงินบำเหน็จ ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นกลายเป็นค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่อค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับจากทำงาน โดยใช้รถบริการของนายจ้าง
ลูกจ้างเลิกทำงานประจำวันตามหน้าที่แล้วและออกจากโรงงานมานั่งรถยนต์เพื่อเดินทางกลับบ้าน ระหว่างทางเกิดอุบัติเหตุรถยนต์แล่นตกลงข้างถนนและทับลูกจ้างถึงแก่ความตาย ดังนี้ แม้รถที่ลูกจ้างนั่งจะเป็นรถยนต์บริการที่นายจ้างจัดรับส่งพนักงาน ก็เป็นเพียงสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เพื่อความสะดวกแก่พนักงานในการเดินทางกลับบ้านเท่านั้น ลูกจ้างมิได้นั่งรถไปหรือกลับจากการทำงานตามคำสั่งหรือภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของนายจ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการตายของลูกจ้างเกี่ยวข้องกับการทำงานให้แก่นายจ้าง นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทดแทนและค่าทำศพแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไม่ใช่ค่าจ้างสำหรับคำนวณค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน
เมื่อ บ.ลูกจ้างทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานของโจทก์ เงินเดือนปกติที่โจทก์จ่ายให้แก่ เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่แล้ว ส่วนเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางซึ่งโจทก์จ่ายให้ บ.เมื่ออกไปทำงานต่างจังหวัดเป็นครั้งคราวนั้น เป็นการตอบแทนการออกไปทำงานในต่างจังหวัดนอกเหนือจากการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน ไม่มีพฤติการณ์ใดส่อแสดงว่า โจทก์จ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้แก่ บ. เป็นส่วนหนึ่งของการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานด้วยเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกรณีนี้จึงหาใช่ค่าจ้างอันอาจนำมารวมคำนวณค่าทดแทนได้ไม่
of 21