พบผลลัพธ์ทั้งหมด 209 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. สัญญาจ้างแรงงาน: ลักษณะของงานเป็นสำคัญ
จำเลยจ้างโจทก์ร้องเพลงประจำร้านอาหาร ในการทำงานโจทก์ต้องมาร้องเพลงวันละประมาณ 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลาประมาณ 22 ถึง23 นาฬิกา และจะต้องตอกบัตรลงเวลาทำงาน หากวันใดโจทก์ไม่มาร้องเพลงตามกำหนดเวลาต้องหาบุคคลอื่นมาร้องเพลงแทน โดยโจทก์ต้องจ่ายเงินให้แก่นักร้องที่มาร้องเพลงแทน หากโจทก์หานักร้องมาแทนไม่ได้จำเลยจะตัดค่าตอบแทนในส่วนนี้ลงตามส่วน เมื่อปรากฏตามสัญญาว่า โจทก์ตกลงรับจะทำงานร้องเพลงให้แก่จำเลยวันละประมาณ 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลาประมาณ 22 ถึง 23 นาฬิกาหากโจทก์ไม่มาร้องเพลงเองก็สามารถจัดหาบุคคลอื่นมาร้องเพลงในช่วงเวลาดังกล่าวแทนได้ แสดงให้เห็นว่า สัญญาจ้างดังกล่าวมุ่งถึงผลสำเร็จของงานคือการร้องเพลงวันละประมาณ 1 ชั่วโมง เป็นสำคัญ โดยโจทก์จะร้องเพลงเองหรือจัดให้บุคคลอื่นมาร้องเพลงแทนก็ได้โดยโจทก์ต้องจ่ายเงินให้นักร้องเอง และไม่ปรากฏว่าในการทำงานนั้นโจทก์ต้องทำตามคำสั่งหรืออยู่ในความควบคุมของจำเลย อีกทั้งในการทำงานของโจทก์ก็ไม่มีการลาหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่มีการลาป่วยหรือลาหยุดในกรณีอื่นเช่นเดียวกับสัญญาจ้างแรงงานทั่วไป แม้โจทก์ต้องตอกบัตรลงเวลาทำงานก็ตามก็เพียงเพื่อแสดงว่าโจทก์มาทำงานครบเวลาวันละประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น เช่นนี้ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงมิใช่สัญญาจ้างแรงงาน แต่หากมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะงานพิเศษนอกเหนือสัญญาจ้าง: ไม่สร้างความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง
การส่งสิ่งพิมพ์ในช่วงบ่าย โจทก์จะเป็นผู้ไปเบิกสิ่งพิมพ์และจำเลยจะลงรายการเบิกหนังสือพร้อมราคาหนังสือที่เบิกไว้โดยคิดค่าสิ่งพิมพ์จากโจทก์ราคา 70 เปอร์เซ็นต์ของราคาปก จากนั้นโจทก์มีหน้าที่เก็บค่าสิ่งพิมพ์และนำเงินไปหักลดยอดหนี้ค่าสิ่งพิมพ์กับจำเลย ทั้งการไปรับสิ่งพิมพ์ในช่วงบ่าย โจทก์จะไปรับหรือไม่ก็ได้ ไม่มีการลงเวลาทำงาน หากไม่ไปรับก็ไม่ถือว่าเป็นการขาดงาน ดังนี้ลักษณะงานในช่วงดังกล่าวจึงเป็นงานพิเศษที่โจทก์และจำเลยตกลงต่อกันนอกเหนือหน้าที่การงานตามปกติที่โจทก์ทำให้แก่จำเลย ถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีความผูกพันต่อกันในฐานะนายจ้างลูกจ้างในงานดังกล่าวนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือนที่ไม่เข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน การคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันและเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ ดังนี้ หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา 19.57 นาฬิกา ถึงเวลา 4 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จ ย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิต จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (1) และ (3) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้าง, การละทิ้งหน้าที่ไม่มีสิทธิรับค่าจ้าง
เงินหรือเงินและสิ่งของใดที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน รวมทั้งวันหยุด วันลา หรือจ่ายให้ตามผลงาน ไม่ว่าค่าตอบแทนนั้นจะเรียกชื่อหรือกำหนดคำนวณอย่างไรก็ล้วนเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ทั้งสิ้นโจทก์ได้รับค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถอีกเดือนละ 20,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน งวดละ 10,000 บาท เมื่อค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถ จำเลยจ่ายแก่โจทก์แน่นอนทุกเดือน จึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2538 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 และจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้แสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ในระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างเช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลานั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575
ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน2538 อันเป็นช่วงเวลาที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรอย่างไรทั้งไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานั้น ปัญหาว่าคำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2538 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 และจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้แสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ในระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างเช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลานั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575
ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน2538 อันเป็นช่วงเวลาที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรอย่างไรทั้งไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานั้น ปัญหาว่าคำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนการขายเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฟ้องคดีเกินอายุความ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่ขายสินค้า โดยมีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ขายสินค้าได้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายอัตราร้อยละ 1.5ของยอดขาย แต่หากโจทก์เป็นเพียงผู้ประสานงานภายหลังการขายโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าตอบแทนการขายตามฟ้องเป็นค่าตอบแทนงวดเดือนธันวาคม2535 ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อตกลงที่กล่าวแล้ว โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่ขายสินค้าหรืออีกนัยหนึ่งคือพนักงานขาย นอกจากโจทก์จะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างประจำแล้ว หากโจทก์เป็นผู้ขายสินค้าได้เองโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายในอัตราร้อยละ 1.5 ของยอดขายด้วย ค่าตอบแทนการขายนี้โจทก์จะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายที่โจทก์สามารถขายได้ค่าตอบแทนการขายจึงเป็นเงินส่วนหนึ่งที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงาน โดยคิดตามผลงานที่โจทก์ทำได้ เมื่อค่าตอบแทนการขายจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้และมีกำหนดงวดเวลาจ่ายไว้แน่นอน เงินค่าตอบแทนการขายจึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
ค่าตอบแทนการขายในคดีนี้เป็นค่าตอบแทนที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในงวดเดือนธันวาคม 2535 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการขายดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม 2536 เป็นต้นมา โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 จึงเกิน 2 ปีนับแต่โจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34(9)
ค่าตอบแทนการขายในคดีนี้เป็นค่าตอบแทนที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในงวดเดือนธันวาคม 2535 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการขายดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม 2536 เป็นต้นมา โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 จึงเกิน 2 ปีนับแต่โจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าอาหาร/ค่ากะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้เงินสนับสนุนร้านค้าเดือนละ 15,000บาท เพื่อนำอาหารราคาถูกมาจำหน่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์เฉพาะลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา และลูกจ้างประเภทพนักงานกะเช้าที่ทำงานตั้งแต่เวลา 6.30 นาฬิกา ถึง 18.30 นาฬิกาเท่านั้น ส่วนพนักงานกะดึกที่ทำงานตั้งแต่เวลา 18.30 นาฬิกา ถึง 6.30 นาฬิกาและลูกจ้างอื่น ๆ ที่ทำงานล่วงเวลาหลังเวลา 18.30 นาฬิกา โจทก์ให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารในอัตราชั่วโมงละ 5 บาท เนื่องจากลูกจ้างที่ทำงานในรอบกลางคืนไม่มีร้านอาหารจัดอาหารราคาถูกจำหน่ายให้ เหตุที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ 5 บาท เนื่องจากโจทก์ไม่ได้จัดอาหารราคาถูกให้ลูกจ้างดังเช่นลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานกลางวันและพนักงานกะเช้า นอกจากนี้โจทก์ยังจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่พนักงานทั่วไปที่ทำงานเวลากลางวันหากต้องมาทำงานล่วงเวลาในช่วงเวลาหลัง 18.30นาฬิกา นอกเหนือจากค่าล่วงเวลาอีกด้วย เห็นได้ว่า การที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นเงินสวัสดิการแก่ลูกจ้างโดยแท้ แม้เงินดังกล่าวโจทก์จะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกเงินดังกล่าวว่าเป็นเงินช่วยเหลือค่าอาหาร หรือเงินค่ากะดึก เงินดังกล่าวก็ไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 5
แม้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม จำเลยที่ 2 พิจารณาและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเป็นการใช้ดุลพินิจและพิจารณาตามอำนาจที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินไปชำระตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องฟ้องบังคับ จำเลยทั้งสองจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
แม้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม จำเลยที่ 2 พิจารณาและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเป็นการใช้ดุลพินิจและพิจารณาตามอำนาจที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินไปชำระตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องฟ้องบังคับ จำเลยทั้งสองจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงออกเสมือนตัวแทนและการผูกพันตามสัญญาจ้าง
ว.เป็นผู้รับโจทก์เข้าทำงานในบริษัทจำเลย เป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลย ซึ่งตามหนังสือจ้างงานดังกล่าวระบุว่า ว.มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรการบุคคลของบริษัทจำเลย และเมื่อมีกรณีที่โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ ว.ก็เป็นผู้เรียกโจทก์ไปตำหนิ เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยได้เชิด ว.ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย หรือรู้แล้วยอมให้ ว.เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างหรือเลิกจ้างโจทก์ได้ ดังนั้น การที่ ว.บอกเลิกจ้างโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่า ว.เป็นตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ.และพาณิชย์ มาตรา 821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาที่ไม่เป็นธรรมและสัญญาจ้างที่ไม่ชัดเจน
ค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ และประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวยังได้กำหนดให้ลูกจ้างประเภทไหนทำงานในระยะเวลาเท่าใดใน 1 สัปดาห์ หากทำเกินจากกำหนดระยะเวลา จะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราที่กฎหมายกำหนดตามข้อ 3, 11, 29,34 และ 42 ซึ่งกำหนดโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างในเวลาทำงานปกติ การที่จะรวมค่าจ้างและค่าทำงานล่วงเวลาย่อมเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเพราะไม่ทราบว่าอัตราค่าจ้างปกติที่จะนำไปคำนวณค่าล่วงเวลานั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หรือต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำย่อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ เมื่อสัญญาว่าจ้างทำงานมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่า จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาจริง ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นมีผลเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานนอกเวลาทำงานปกติโดยไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ย่อมขัดต่อประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งเลิกจ้างที่ไม่สมบูรณ์และการแนะนำให้ลาออกไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
บันทึกของ พ. ถึง ป.ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย มีข้อความว่า "โปรดดำเนินการพิจารณาเลิกจ้าง ค.ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกจัดเลี้ยงด้วย(หมายถึงโจทก์) เหตุผลขาดงาน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2536 ถึง 8พฤษภาคม 2536 โดยมิได้แจ้งให้ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มทราบ อีกทั้งในการปฏิบัติหน้าที่มักจะหยุดงานอยู่เสมอ ให้มีผลวันที่ 8 พฤษภาคม 2536" นั้นเป็นเรื่องที่ พ.มีความเห็นว่าควรเลิกจ้างโจทก์และได้ขอให้ ป.ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชา หาได้มีผลเป็นการสั่งหรือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีไม่ ป.จึงยังมีหน้าที่จะต้องดำเนินการพิจารณา หากเห็นชอบด้วยแล้วก็ต้องดำเนินการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์เป็นขั้นตอนตามระเบียบข้อบังคับและวิธีปฏิบัติของจำเลยต่อไป การที่ ป.มิได้ดำเนินการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติ แต่กลับขอให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่นั้น เป็นเรื่องที่ ป.พิจารณาแล้วดำเนินการไปตามความเห็นของ ป.เอง ในเชิงไม่ต้องการมีการเลิกจ้างโจทก์ และเป็นข้อแนะนำในเชิงให้ทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ต้องถูกเลิกจ้างกรณีเช่นว่านี้จึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามที่ ป.แนะนำหรือไม่ก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า ป.ได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ทำการแทนในการแนะนำโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่าง ป.กับโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง เมื่อยังมิได้มีการบอกเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว
ประเด็นเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย ค่าบริการตามคำขอโจทก์ และเงินประกันการทำงานนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยจึงต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
ประเด็นเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย ค่าบริการตามคำขอโจทก์ และเงินประกันการทำงานนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยจึงต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างประสบอันตรายขณะเดินทางไปปฏิบัติงาน แม้ยังไม่ถึงที่หมาย ก็ถือว่าเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
ลูกจ้างออกเดินทางจากบ้านพักของลูกจ้างเพื่อไปเก็บเงินจากลูกค้าตามคำสั่งของนายจ้างและประสบอุบัติเหตุขณะเดินทาง แสดงอยู่ในตัวว่าลักษณะการทำงานของลูกจ้างในวันเกิดเหตุ ลูกจ้างไม่ต้องเข้าไปยังที่ทำงานของลูกจ้างและกระทำกิจอื่น แต่ลูกจ้างออกจากบ้านพักตรงไปบ้านลูกค้าเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ย่อมชี้ให้เห็นว่า ลูกจ้างได้เริ่มลงมือทำงานแล้ว แต่ยังไม่ถึงที่หมาย กรณีไม่จำต้องปฏิบัติหน้าที่ถึงขนาดที่ลูกจ้างจะต้องเดินทางไปถึงที่หมายและเริ่มลงมือเก็บเงินจากลูกค้าจริง ๆ ถือว่าลูกจ้างได้ประสบอันตรายโดยถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแล้ว ภริยาของลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมาย