คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 209 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง และสิทธิวันหยุดพักผ่อนของลูกจ้างรถไฟ: การตีความสัญญาจ้างและข้อกำหนดกฎหมายแรงงาน
โจทก์ทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนขบวนรถไฟดีเซลราง เริ่มเข้าทำงานก่อนที่ขบวนรถจะออก 1 ชั่วโมง และทำงานอยู่บนขบวนรถตลอดทางจนถึงสถานีปลายทาง ส่วนในเที่ยวกลับก็เข้าทำงานในลักษณะเดียวกัน การทำงานของโจทก์ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเดินทางของขบวนรถไฟดีเซลรางแต่ละครั้ง จึงเป็นการทำงานตามปกติของโจทก์ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์แต่ละเที่ยวของการเดินทางจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติด้วย เพราะนอกจากงานต้อนรับบนขบวนรถแล้วโจทก์ไม่มีหน้าที่อื่นอีก แม้เวลาทำงานบนขบวนรถจะเกินกำหนดเวลาตามที่กำหนดในข้อ 3แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ก็ตาม โจทก์ก็ได้ทำงานกับจำเลยโดยได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงรวมกันตลอดมา แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างกันในลักษณะดังกล่าว เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นค่าจ้าง เมื่อนำเบี้ยเลี้ยงไปคิดรวมกับเงินเดือนแล้ว ถือได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
งานที่จำเลยให้โจทก์ทำเป็นงานขนส่ง แม้จำเลยจะให้โจทก์ทำงานเกินเวลาที่กำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดในการกระทำของตนเป็นอีกกรณีหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36
การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเกือบหนึ่งเท่า เมื่อพิจารณาตามลักษณะงานกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกือบ 4 ปี และโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการจ่ายค่าจ้างในลักษณะดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ส่วนที่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นค่าทำงานเกินเวลา ทั้งกรณีไม่ใช่การใช้แรงงานไม่เหมาะสม จึงใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยจ่ายเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินส่วนนี้อีก
ลักษณะงานของโจทก์จะต้องทำต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันในวันที่ติดต่อกัน ไม่อาจหยุดเต็มวันในวันเดียวกันได้ จำเลยมีเวลาให้โจทก์หยุดทำงานติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งกรณีถือได้ว่าในแต่ละสัปดาห์จำเลยได้ให้โจทก์หยุดทำงานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 7 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์
จำเลยไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี ไม่มีข้อตกลงล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปหยุดปีอื่น ทั้งจำเลยไม่ได้ให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้จำเลยกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172-2173/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการร่วมรับผิดในฐานะนายจ้าง และการฟ้องซ้ำฐานะบุคคลต่างกัน
จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับบริษัทจำเลยที่ 2
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ถือว่าจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมและคดีนี้เป็นคนละคนกัน จึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกอันจะเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน: ระยะเวลาพักผ่อนไม่ใช่ช่วงเวลาทำงาน จึงไม่เข้าข่ายค่าทดแทน
โจทก์ได้รับคำสั่งจากนายจ้างให้เดินทางจากกรุงเทพมหานครเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ตบแต่งอาคารธนาคารกสิกรไทย สาขาประจวบคีรีขันธ์ในตอนบ่ายของวันรุ่งขึ้น โจทก์ไปถึงเวลากลางคืนจึงได้นอนหลับบนรถยนต์บรรทุกของนายจ้างที่โดยสารไป ไม่ได้เข้าพักกับลูกจ้างคนอื่นในโรงแรมที่นายจ้างจัดไว้ให้ การที่โจทก์พลัดตกจากรถยนต์บรรทุกจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายในคืนนั้นซึ่งเป็นระยะเวลาที่โจทก์ต้อพักผ่อนเพื่อเตรียมปฏิบัติหน้าที่ตามกำหนด ไม่ใช่เวลาที่โจทก์ปฏิบัติงานตามหน้าที่ จึงหาใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าจ้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ไม่เข้าข่ายหนี้ที่ขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เงินค่าจ้างประจำเดือนค้างจ่ายเป็นหนี้ประเภทหนึ่งที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องจ่ายให้ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้าง แต่เมื่อจำเลยนายจ้างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว แล้วไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโดย จ.พ.ท. ต่อไป และหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่อเนื่องและการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยโดยการทำสัญญาใหม่ซ้ำๆ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ฉบับแรกไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อมาได้ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 2 และที่ 3 โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเช่นเดียวกัน และสัญญาจ้างฉบับหลังไม่มีข้อความให้ยกเลิกสัญญาจ้าง ฉบับแรก เมื่อโจทก์ได้ทำงานกับจำเลยติดต่อกันตลอดมา ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์รวมสามฉบับเพื่อประสงค์ที่จะให้อายุการทำงานของโจทก์น้อยลงโดยไม่นับอายุงานติดต่อกัน เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือจ่ายให้น้อยลง อันเป็นการหลีกเลี่ยงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน กรณีของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 46 แล้ว
จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างจากการฝึกซ้อมกีฬา แม้ไม่มีวัตถุประสงค์ในกฎหมายจัดตั้ง
วัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจที่ระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งเป็นเพียงการกำหนดประเภทของกิจการ ซึ่งรัฐวิสาหกิจจะดำเนินการเท่านั้น งานของรัฐวิสาหกิจหาได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะเท่าที่ระบุไว้ดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง พ.ศ. 2498 ไม่ได้กำหนดให้องค์การฟอกหนังมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาก็ตาม แต่เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อสัมพันธ์แล้ว การกีฬาจึงเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง การที่ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังแต่งตั้งผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฯ โดยให้มีสิทธิฝึกซ้อม เมื่อใดก็ได้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานแก่องค์การฟอกหนังแล้ว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายขณะฝึกซ้อมกีฬาเนื่องจากออกกำลังกายเกินควร ย่อมเป็นกรณีผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสาม กับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 แก้ไขโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับ ที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ค่าทดแทนตามข้อ 54 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีความหมายว่า กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีกำหนดห้าปี
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนดังกล่าวมีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้องรู้เอง แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างต้องรับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานโดยคณะกรรมการอาคารชุด: ไม่อาจถือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน
เดิมจำเลยที่ 1 จ้างเหมาบริษัทเอกชนดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2526 จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 ซึ่งเป็นคณะกรรมการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่นรับงานดังกล่าวมาดำเนินการเอง จำเลยที่ 1 เพียงแต่ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น ส่วนการบริหารงานจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารงาน กรณีไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบห้าซึ่งจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จ้างเข้ามาทำงานดังกล่าว และแม้กิจการของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจก็หาทำให้กิจการของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 กลายเป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไปด้วยไม่ การจ้างงานของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จึงไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการสิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง: การสั่งพักงานและคำสั่งเลิกจ้างมีผลเมื่อใด
โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกจำเลยตั้งกรรมการสอบสวน และจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ตามข้อบังคับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2530 เพื่อรอฟังผลการสอบสวน ต่อมาวันที่ 20 มกราคม 2531 จำเลยออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันแรกที่พักงาน ความเป็นลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในช่วงนับแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2530 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2531

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสคำนวณจากรายได้ประจำ: ค่าล่วงเวลา/เบี้ยขยันไม่รวม
รายได้ตลอดปีของพนักงานที่จะใช้คำนวณเงินโบนัสให้แก่พนักงานตามข้อบังคับของจำเลย หมายถึง เฉพราะรายได้ที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำตามปกติและมีจำนวนแน่นอนอันได้แก่ค่าจ้างรายเดือนหรือเงินเดือน ฉะนั้นค่าล่วงเวลาและเบี้ยขยันซึ่งเป็นเงินที่ลูกจ้างได้รับในระหว่างปีเป็นบางครั้งบางคราว และมีจำนวนไม่แน่นอน จึงไม่เป็นรายได้ของพนักงานที่จะนำมารวมเป็นหลักฐานคำนวณเงินโบนัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว หญิงมีสามีฟ้องเองได้ ค่าคอมมิชชั่นนับเป็นค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้ โบนัสจ่ายเมื่อทำงานครบปี
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นสินสมรสการฟ้องเรียกเก็บเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส หญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังตน โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
เงินค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนการขายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการขายอันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชดเชยด้วย
นายจ้างกำหนดว่าเงินโบนัสพิเศษจะจ่ายให้เมื่อสิ้นปี ย่อมแสดงว่าลูกจ้างต้องทำงานถึงสิ้นเดือนธันวาคมจึงจะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนถึงสิ้นเดือนธันวาคม ถูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสพิเศษ
of 21