พบผลลัพธ์ทั้งหมด 209 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เวลาพักงาน: นายจ้างต้องจัดเวลาพักให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน การกำหนดเวลาพักน้อยกว่าถือเป็นการขัดกฎหมาย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 และข้อ 2 นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง โดยจะให้มีเวลาพักเป็นหลายครั้งก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาพักแล้วจะต้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเวลาพักจะต้องเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการทำงานด้วย การที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานระหว่างเวลา 8.00 นาฬิกา - 16.00 นาฬิกา และระหว่างเวลา 16.00 นาฬิกา ถึง 24.00 นาฬิกาโดยให้มีเวลาพักกะละครึ่งชั่วโมง จึงเป็นการกำหนดเวลาพักที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
กรณีดังกล่าวแม้ลูกจ้างทำงานในช่วงเวลาพักก็เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ หาใช่นอกเวลาทำงานปกติอันจะทำให้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาไม่ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้แต่เพียงค่าจ้างโดยคำนวณเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละเดือนเท่านั้น.
กรณีดังกล่าวแม้ลูกจ้างทำงานในช่วงเวลาพักก็เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ หาใช่นอกเวลาทำงานปกติอันจะทำให้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาไม่ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้แต่เพียงค่าจ้างโดยคำนวณเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละเดือนเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงาน: การจ่ายเงินเดือนให้ยามรักษาการณ์ของบริษัทที่ถูกยึดทรัพย์ ไม่ถือเป็นการจ้างงาน
คดีมีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ ที่โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัท ข. เป็นผู้รักษาทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวเนื่องจากจำเลยนำยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ และจำเลยได้จ่ายเงินเดือนให้โจทก์เป็นค่ารักษาทรัพย์นั้น เป็นการแถลงรับกันในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เพียงพอจะวินิจฉัยได้แล้วว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ แม้โจทก์จะมีพยานมาสืบข้อเท็จจริงอย่างใดก็หาอาจรับฟังนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันไม่ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยาน จึงชอบแล้ว
เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้ จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับทำหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข. มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์สินของบริษัท ข. ขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่ แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตามยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย.
เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้ จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับทำหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข. มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์สินของบริษัท ข. ขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่ แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตามยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. สัญญาจ้างแรงงาน: อิสระในการทำงานบ่งชี้สัญญาจ้างทำของ
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยจ้างบริษัทจำเลยผลิตข่าว โจทก์ทำงานกับจำเลยในฐานะบรรณาธิการข่าว เรียบเรียงข่าวผู้ประกาศข่าว โจทก์มีหน้าที่ผลิตข่าวให้มีคุณภาพ ต้องมาเรียบเรียงข่าวให้ทันกับเวลาของรายการ แต่จำเลยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานได้ โจทก์ได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่ทำงาน ไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการใด ๆ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาการทำงานของโจทก์ ดังนี้ แม้โจทก์ตกลงผลิตข่าวให้แก่จำเลยโดยได้รับสินจ้างเพื่อการนั้นก็ตาม แต่โจทก์ปฏิบัติงานโดยอิสระ ไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยอันเป็นลักษณะของสัญญาจ้างแรงงานประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงมิใช่สัญญาจ้างแรงงาน แต่เป็นสัญญาจ้างทำของ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างมีสิทธิยกเหตุผลในคำให้การได้ แม้คำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ระบุเหตุ
แม้คำสั่งเลิกจ้างโจทก์จะมิได้ระบุความผิดและสาเหตุการเลิกจ้างไว้ก็มิได้หมายความว่า โจทก์ไม่มีความผิดหรือไม่มีสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยก็ชอบที่จะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้ว่า การเลิกจ้างนั้นมาจากสาเหตุใด การที่จำเลยมิได้ระบุความผิดและอ้างระเบียบข้อบังคับไว้ในคำสั่งเลิกจ้างไม่เป็นเหตุให้การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย
เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197-1206/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงไม่ใช่ค่าจ้างเมื่อลูกจ้างกลับประจำบริษัท เลิกจ้างไม่รวมเบี้ยเลี้ยงคำนวณค่าชดเชย
เมื่อการก่อสร้างอาคารในต่างจังหวัดเสร็จลง โจทก์ต้องเดินทางกลับมาประจำบริษัทจำเลยเพื่อรอฟังคำสั่งให้ไปควบคุมงานในโครงการอื่นต่อไประหว่างรองานที่บริษัทจำเลย โจทก์คงได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินตอบแทนในการทำงานเฉพาะในเวลาที่โจทก์ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ระหว่างรองานอยู่ที่บริษัทจำเลย จึงไม่ต้องนำเบี้ยเลี้ยงมารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างประสบอันตรายระหว่างเดินทางกลับจากการปฏิบัติงานนอกสถานที่ ถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน
อ.เป็นลูกจ้างการสื่อสารแห่งประเทศไทยโจทก์ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ อ.นำหลักฐานการอนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนไปให้ผู้สมัครรับจัดตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนลงชื่อ อ.จึงเดินทางไปตามคำสั่ง ถือได้ว่าอ.เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงานในทางการที่จ้างของโจทก์ ดังนั้นในระหว่างที่ อ.เดินทางกลับก็ยังต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน อ.ประสบอุบัติเหตุถูกรถคันอื่นชนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายไม่ใช่ค่าจ้าง หากไม่มีเวลาทำงานปกติและมิใช่การคำนวณตามผลงาน
โจทก์ไม่มีเวลาทำงานปกติ จะทำวันใดหรือไม่ทำวันใดก็ได้การที่โจทก์ขายสินค้าแต่ละชิ้นแล้วได้เปอร์เซ็นต์นั้นมิใช่เป็นการคำนวณค่าจ้างตามผลงาน เงินเปอร์เซ็นต์จากการขายที่โจทก์ได้รับจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานและไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460-4462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานตามสิทธิและผลต่อการพิจารณาขึ้นค่าจ้าง นายจ้างมิอาจถือเป็นการขาดงานได้
ในระหว่างนัดหยุดงานลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างเพราะมิได้ปฏิบัติงานให้แก่นายจ้าง แต่ก็ไม่ถือว่าลูกจ้างที่นัดหยุดงานตามสิทธิที่ตนมีอยู่ตามกฎหมายนั้นได้ขาดงานตามหลักเกณฑ์ของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกมาเป็นเหตุที่จะพิจารณาไม่ขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ได้ อย่างไรก็ตามการให้บำเหน็จความดีความชอบโดยการขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้นเป็นสิทธิของนายจ้าง ซึ่งจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่นายจ้างได้กำหนดไว้ ในชั้นนี้จึงไม่อาจบังคับจำเลยขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ได้โดยชอบที่จะบังคับเพียงให้จำเลยพิจารณาความดีความชอบของโจทก์เสียใหม่ตามที่เห็นสมควรต่อไปโดยมิให้ถือว่าการนัดหยุดงานของโจทก์เป็นการขาดงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างเกิน 3 วัน ถือเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 8 ถึงวันที่ 15 ในชั้นแรกหยุดงานไปโดยไม่ได้ลาในวันที่ 8 และวันที่ 10 (วันที่ 9 เป็นวันหยุด) ต่อมาได้โทรศัพท์ขอลากิจในวันที่ 11 ถึงวันที่ 13 และโทรศัพท์ลาป่วยในวันที่ 14 และวันที่ 15 ต่อเนื่องมาอีก ครั้นมาทำงานก็มิได้ส่งใบลาตามระเบียบ ถือได้ว่าลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902-1909/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา: การอยู่เวรเพื่อรอซ่อมเครื่องจักร ไม่ถือเป็นการทำงานปกติ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
จำเลยให้โจทก์มาอยู่เวร ณ สถานที่ประกอบกิจการของจำเลยหากเครื่องจักรของจำเลยเสียซึ่งต้องทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้ต่อไป จำเลยก็จะมีคำสั่งหรือใบแจ้งงานให้โจทก์ซ่อมแซมและโจทก์ต้องลงเวลาการทำงานในบัตรลงเวลา ถ้าเครื่องจักรไม่เสียโจทก์ก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ได้รับเบี้ยเลี้ยงในอัตราคนละ 40 บาท ดังนี้การที่โจทก์มาอยู่เวรดังกล่าว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานตามปกติของโจทก์ที่ได้รับมอบหมายให้ทำในกิจการของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดแล้วแต่กรณี