คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 209 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำงานเกินเวลาและค่าจ้าง: สัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันและรับค่าจ้างรายเดือนไม่ขัดกฎหมาย หากได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน
กรณีที่อธิบดีกรมแรงงานอนุญาตให้นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายได้นั้น นายจ้างกับลูกจ้างย่อมทำสัญญาให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาและจ่ายค่าจ้างกันเท่าใดก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยรับค่าจ้างเป็นรายเดือนอันมิใช่เป็นกรณีที่นายจ้างเพิ่มชั่วโมงทำงานในภายหลังและไม่ปรากฏว่าค่าจ้างต่ำกว่าอันตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ข้อตกลงนี้ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและผูกพันลูกจ้างกับนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแทนค่าล่วงเวลาสำหรับงานขนส่งรถไฟ
จำเลยให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่เป็นนายสถานีหรือผู้ช่วยทำงานวันละ 12 ชั่วโมงมานานแล้ว โดยจำเลยจ่ายแต่เงินค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มให้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น และลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา เพราะงานที่ทำเป็นงานขบวนการจัดงานรถไฟและงานขนส่ง ดังนี้ ลูกจ้างต้องผูกพันได้รับเพียงค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว หามีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาที่ทำเกินวันละ 8 ชั่วโมงอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจอดรถไม่ใช่ค่าจ้าง: การจ่ายเหมาเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน
โจทก์ต้องเสียค่าจอดรถในการออกปฏิบัติงาน แม้จำเลยจะจ่ายค่าจอดรถให้โจทก์ประจำเป็นรายเดือน ก็เพราะค่าจอดรถเป็นรายจ่ายปลีกย่อยไม่สะดวกที่จะจ่ายตามความเป็นจริง เห็นได้ว่าเป็นการจ่ายเหมาเพื่อชดเชยการที่โจทก์ต้องเสียค่าจอดรถไป ค่าจอดรถจึงไม่เป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง, ค่าครองชีพเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลา, และดอกเบี้ยจากเงินที่ค้างจ่าย
กรณีที่สหภาพแรงงานและนายจ้างต่างแจ้งข้อเรียกร้องฝ่ายละหลายข้อ ซึ่งต้องแบ่งข้อเรียกร้องเจรจากันเป็นคราว ๆ ไป แม้ในการเจรจาคราวแรกจะตกลงกันได้และทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ในการเจรจาข้อเรียกร้องข้ออื่น ๆ ต่อมา สหภาพแรงงานก็มีอำนาจที่จะตกลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกได้ ดังนั้น เมื่อข้อตกลงในการเจรจาคราวแรกกำหนดเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จไว้ประการหนึ่ง แล้วต่อมาทำความตกลงเพิ่มเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จอีกประการหนึ่ง อันเป็นเงื่อนไขซึ่งจะตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะกระทำผิดในอนาคต ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของลูกจ้างทั่วไปที่ได้รับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกอยู่ก่อนแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังนี้จึงมีผลใช้บังคับ
เมื่อค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาฯ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น การที่สหภาพแรงงานตกลงกับนายจ้างว่าไม่ให้นำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงนี้จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง
ลูกจ้างฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากเงินบำเหน็จ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดจากนายจ้างก่อนวันฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใดจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักจากการทำงาน: การจัดเวลาพักที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการคำนวณเวลาทำงานปกติ
โจทก์เป็นพนักงานตัดกระจก ทำงานอยู่ในจุดตัดกระจก ใช้เวลาตัดกระจกประมาณ 50 นาที เสร็จแล้วหยุดพักรอกระจกที่จะส่งมาใหม่เป็นเวลา 20 นาที ทำสลับกันเช่นนี้จนกว่าจะออกกะทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาทีกะหนึ่ง ๆ โจทก์จึงมีเวลาพัก 2 ชั่วโมง 20 นาที
เมื่อปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 6 เพียงกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องกำหนดในลักษณะที่เป็นรูปแบบอย่างใดไม่ แม้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของจำเลยจะระบุให้หัวหน้าแผนกเป็นผู้กำหนดเวลาพัก แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้กำหนดก็หาทำให้เวลาดังกล่าวไม่ใช่เวลาพักไม่ ที่โจทก์จะต้องขออนุญาตก่อนออกนอกโรงงานในช่วงระยะเวลา 20 นาที ก็เพียงเพื่อให้รู้ว่าระยะเวลาดังกล่าวโจทก์อยู่ที่ใดเท่านั้น หลังจากได้รับอนุญาตแล้วโจทก์ย่อมใช้เวลาดังกล่าวได้อย่างอิสระ จึงถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้โจทก์มีเวลาพักโดยถูกต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 6 แล้ว
โจทก์ทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาที กำหนดเวลาทำงานตามปกติย่อมหมายถึงเวลาทำงานอย่างแท้จริง ไม่นับเวลาพักเข้าเป็นเวลาทำงาน จึงต้องนำเวลาพัก 20 นาที หักออกจากช่วงระยะเวลาที่โจทก์ทำงาน เวลาทำงานตามปกติของโจทก์จึงไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานจริง การอยู่เวรก็ถือเป็นการทำงาน
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที
การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าทำงานในวันหยุดของลูกจ้างผู้บริหาร: การพิจารณาอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างและข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงแรงงาน
โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของจำเลย การที่โจทก์มีอำนาจออกคำเตือนพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นหนังสือและพนักงานที่ถูกคำเตือน 3 ครั้ง จะไม่ได้ขึ้นเงินเดือนก็ตาม แต่เมื่อหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ เป็นเพียงมีผลให้ผู้ถูกคำเตือนอยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนจากผู้มีอำนาจในการนี้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีอำนาจทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษ และแม้โจทก์จะเป็นผู้เสนอขอเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ก็มิใช่เป็นผู้มีอำนาจที่จะเลื่อนชั้นเงินเดือน 2 ขั้น จึงถือไม่ได้อีกว่าโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการให้บำเหน็จ ส่วนกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนในการจ้างลูกจ้างนั้น โจทก์ต้องมีอำนาจทำการแทนนายจ้างโดยตรง มิใช่เป็นกรณีผ่านการพิจารณาโดยผู้มีอำนาจมาก่อนซึ่งผู้มีอำนาจในการรับลูกจ้างเข้าทำงานนี้ได้แก่คณะกรรมการของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้างดังนั้น โจทก์มิใช่ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ทำการแทนนายจ้าง ตามข้อ 36(1)แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677-1678/2526)
เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด การที่จำเลยมีระเบียบกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไม่มีผลบังคับ
โจทก์เบิกค่าทำงานในวันหยุด จำเลยให้โจทก์คืนเงินโดยอ้างว่าเบิกไม่ถูกต้อง โจทก์จึงคืนเงินนั้นแก่จำเลย ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่อง จงใจผิดนัดในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดที่คืนไป จำเลยตอบปฏิเสธ ถือได้ว่า จำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้า ต่อปีตามข้อ 31 วรรคแรก นับแต่วันที่ จำเลยตอบปฏิเสธ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436-2438/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จและค่าชดเชย แม้มีการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอน ก็ยังต้องนำมาหักออกจากค่าชดเชยตามกฎหมาย
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยระเบียบเดิม ไม่ใช่เป็นสิทธิที่เกิดจากข้อเรียกร้องหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งทำขึ้นใหม่ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างแทนที่จะรอจ่ายเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเฉพาะกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงิน ส่วนสาระสำคัญอื่นๆ เช่น ประเภทของลูกจ้าง หรือคุณสมบัติของลูกจ้างผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ คงใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบเดิม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังเป็นเพียงกำหนดให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะขอเลือกรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี หรือขอรับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานก็ได้เท่านั้น มิได้หมายความเลยไปว่าถ้าลูกจ้างขอรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีไปแล้ว ก็สิ้นความผูกพันที่มีอยู่ตามระเบียบเดิม นายจ้างมีสิทธิจะนำระเบียบเดิมมาใช้บังคับแก่ลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าพาหนะ-ที่พักสำหรับลูกจ้างทำงานต่างจังหวัด ถือเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
โจทก์ได้รับเงินเดือนและได้รับค่าพาหนะค่าที่พักซึ่งโจทก์ต้องไปทำงานต่างจังหวัดทุกเดือนเดือนละ 25 วันอีกต่างหากเป็นการเหมาจ่าย โดยลักษณะงานเวลาทำงานปกติของโจทก์อยู่ในต่างจังหวัด ดังนี้ เงินค่าพาหนะค่าที่พักจึงเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานปกติในวันทำงานของโจทก์ และถือได้ว่าเป็นค่าจ้างโดยไม่คำนึงว่าจะเรียกเงินดังกล่าวอย่างไร (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 172/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: การพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างโรคประจำตัวและสภาพแวดล้อมการทำงาน
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ผู้ตายเป็นลูกจ้างได้ประสบอันตรายถึงแก่ความตายและเรียกเงินทดแทนแยกเป็นค่าทดแทนและค่าทำศพ เท่ากับโจทก์อ้างสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว ส่วนจำนวนที่เรียกร้องจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลจะวินิจฉัยต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โรคหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายอันเป็น ผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงดังนี้ เมื่อผู้ตายเดินตรวจสต๊อกในโชว์รูมแล้วลื่นล้มศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายโดยมีบาดแผลบริเวณแก้มขวาเพียงเล็กน้อย ประกอบทั้งการตรวจพิสูจน์ของแพทย์ว่าสาเหตุของการตายเกิดจากหัวใจวาย และปรากฏว่าผู้ตายเป็นโรคหัวใจโตและลิ้นหัวใจรั่วอยู่ก่อนแล้ว โอกาสที่จะประสบอันตรายเพราะเกิดภาวะหัวใจวายโดยฉับพลันมีขึ้นเมื่อใดก็ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน
of 21