พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9132/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดสิทธิ และไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครองของผู้อื่น
ที่นาพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทางราชการยังมิได้จัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 การที่ พ. เข้ามาครอบครองทำนาในที่ดินพิพาทก็เพียงแต่ถือว่า พ. มีสิทธิในที่นาพิพาทดีกว่าบุคคลอื่น แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติพ. จึงยกเอาการครอบครองของตนใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ ดังนั้น แม้ พ. จะครอบครองหรือทำนาพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในนาพิพาทตามกฎหมาย ทั้งยังอาจถูกฟ้องร้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกด้วย จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่นาพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น แม้จำเลยจะเข้าไปไถนาและปลูกข้าวในที่นาพิพาทก็ไม่เป็นการรบกวนการครอบครองที่อสังหาริมทรัพย์ของ พ. อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม: เหตุบรรเทาโทษและการรอการลงโทษ
แม้ป่าไม้จะเป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญที่ประชาชนควรจะร่วมกันบำรุงรักษาป้องกันไว้ และพื้นที่ป่าที่จำเลยกระทำความผิดจะมีเนื้อที่มากถึง 62 ไร่เศษก็ตาม แต่ตามหลักฐานต่าง ๆ ของจำเลยในสำนวนซึ่งโจทก์มิได้โต้แย้งปรากฏว่าพื้นที่ป่าที่จำเลยกระทำความผิดมีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม มีผู้อื่นได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่มาก่อน บริเวณใกล้เคียงมีราษฎรเข้าไปจับจองทำกินอยู่เป็นจำนวนมาก หลังเกิดเหตุแล้วทางการก็ดำเนินการปักปัน แนวเขตเตรียมการจะให้เป็นที่ทำกินของราษฎร พฤติการณ์แห่งคดีการกระทำความผิดของจำเลยเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงนัก มีเหตุอันควรปรานีที่จะรอการลงโทษให้จำเลย ตามป.อ. มาตรา 56.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้และมีไม้หวงห้ามในป่าสงวน: การแยกความผิดเป็นกรรมต่างกัน และการใช้บทกฎหมายที่มีโทษหนักสุด
การที่จำเลยทั้งสามทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติและมีไม้สักที่มิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง แม้ไม้สักที่จำเลยทั้งสามทำและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันซึ่งต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ส่วนการทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท และโทษตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14,31 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถือว่าโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73วรรคสอง หนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14,31วรรคสอง จึงลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73วรรคสอง อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การโอนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเป็นผู้ครอบครองที่ดินซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิครอบครองอันจะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 3 หรือบุคคลอื่นได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2406/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองที่ดินในเขตป่าสงวนก่อนประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดเป็นป่าสงวน การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติก่อนกฎกระทรวงกำหนดให้ที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติใช้บังคับ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด แม้จำเลยจะไม่ฎีกาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องได้