พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย นายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือเว้นแต่ความผิดร้ายแรง
แม้การที่โจทก์ดื่มสุราในหอพักจะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่การฝ่าฝืนนั้นนายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ก็ต่อเมื่อได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงก็ไม่จำต้องตักเตือน ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวโดยไม่เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เพราะการดื่มสุราส่งเสียงดังไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง ทั้งข้อบังคับก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงด้วย
ส่วนการที่โจทก์ไปพูดขอยืมปืนจากยามเพื่อจะไปยิงน้องชายจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง การกระทำของโจทก์ก็ยังไม่เป็นความผิด ไม่เข้าเกณฑ์การกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีกเช่นกัน
ส่วนการที่โจทก์ไปพูดขอยืมปืนจากยามเพื่อจะไปยิงน้องชายจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง การกระทำของโจทก์ก็ยังไม่เป็นความผิด ไม่เข้าเกณฑ์การกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นอุทธรณ์คดีแรงงาน: การเลิกจ้างและค่าชดเชย
จำเลยให้การต่อสู้เหตุที่ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะ โจทก์ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเพียงประการเดียว มิได้ยกเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรงขึ้นต่อสู้ ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการขาดงานของโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวหรือแจ้งสาเหตุให้จำเลยทราบ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้น ถึงแม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยว่า โจทก์เพียงกระทำผิดเกี่ยวกับการลาซึ่งไม่ใช่ความผิดกรณีร้ายแรง และจำเลยไม่ได้มีคำเตือนเป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อน ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหาเป็นเหตุให้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตตอกบัตรเวลา ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยมีลูกจ้างถึง 2000 กว่าคน ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมีการทำงานตามปกติในวันจันทร์ถึงวันเสาร์และมีการทำงานล่วงเวลาทุกวัน สำหรับวันเสาร์เลิกงาน 13 นาฬิกา หลังจากนั้นเป็นการทำงานล่วงเวลาวันอาทิตย์เป็นวันหยุดแต่มีการทำงานในวันหยุดมีกำหนดไม่เกิน 8 ชั่วโมง ลูกจ้างที่มาทำงานมีสิทธิได้รับค่าจ้างทำงานวันหยุดไม่เกิน 8 ชั่วโมง การเบิกค่าจ้างจะตรวจสอบเวลาทำงานตามใบเบิกกับบัตรตอกเวลาทำงานของลูกจ้าง เมื่อเห็นว่าใบเบิกมีเวลาทำงานไม่เกินไปกว่าเวลาทำงานในบัตรตอกเวลาทำงานก็จ่ายค่าจ้างให้ตามใบเบิกเงินนั้นข้อบังคับการทำงานดังกล่าวเกี่ยวกับตอกบัตรเวลาทำงานนอกจากจะเป็นหลักฐานแสดงถึงระยะเวลาที่ลูกจ้างของจำเลยแต่ละคนปฏิบัติงานในแต่ละวันแล้ว ยังเป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานล่วงเวลา ในกรณีมีการทำงานล่วงเวลาด้วย บริษัทจำเลยเคยมีปัญหาเรื่องการตอกบัตรเวลาทำงานไม่ตรงตามความจริงมาแล้ว จึงได้ประกาศเตือนลูกจ้างว่าหากมีการทุจริตเกี่ยวกับการตอกบัตรเวลาบริษัทจำเป็นจะต้องเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย โจทก์ตอกบัตรเวลาทำงานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลย โดยกลับจากทำงาน 12 นาฬิกาแต่ตอกบัตรเวลากลับ 21 นาฬิกาในวันเสาร์และได้ออกไปจากที่ทำงานตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา แต่ตอกบัตรเวลากลับจากทำงาน 19.02 นาฬิกา จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยเลิกจ้างโจทก์เสียได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่จ่ายค่าชดเชย: การฝ่าฝืนระเบียบงานถือเป็นกรณีร้ายแรงได้ แม้ไม่เกิดความเสียหาย
การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดของนายจ้างจะถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากลักษณะของการกระทำนั้น ๆ มิใช่ว่าจะต้องให้ความเสียหายต่อนายจ้างปรากฏขึ้นด้วยเสมอไปจึงจะนับว่าการฝ่าฝืนนั้น ๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรง
แม้ระเบียบของจำเลยจะมิได้ห้ามมิให้พนักงานดำรงตำแหน่งใดในธุรกิจอื่นโดยเด็ดขาด โดยยังมีข้อยกเว้นให้พนักงานสามารถกระทำได้ก็ตาม โจทก์ก็พึงปฏิบัติตามข้อยกเว้นนั้น กรณีจึงจะไม่เป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเคยไม่ปลดหรือไล่พนักงานที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อนี้ออกจากงานนั้น หากจะเป็นจริงก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะใช้ดุลพินิจ เพราะตามระเบียบนี้ใช้คำว่า 'อาจเป็นผลให้'และความร้ายแรงของการฝ่าฝืนของพนักงานอื่นอาจต่างกับกรณีของโจทก์มากก็ได้
ระเบียบทั่วไปว่าด้วยสภาพการจ้างสำหรับพนักงานของบริษัทจำเลยกล่าวไว้ว่าการฝ่าฝืน ข้อ 87 อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้น มีความหมายว่าในบางกรณีจำเลยอาจถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) แต่การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดจะเป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ว่ามีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ มิใช่ว่าเมื่อนายจ้างกำหนดไว้ในระเบียบว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วศาลจะต้องถือตามเสมอไป
แม้ระเบียบของจำเลยจะมิได้ห้ามมิให้พนักงานดำรงตำแหน่งใดในธุรกิจอื่นโดยเด็ดขาด โดยยังมีข้อยกเว้นให้พนักงานสามารถกระทำได้ก็ตาม โจทก์ก็พึงปฏิบัติตามข้อยกเว้นนั้น กรณีจึงจะไม่เป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเคยไม่ปลดหรือไล่พนักงานที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อนี้ออกจากงานนั้น หากจะเป็นจริงก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะใช้ดุลพินิจ เพราะตามระเบียบนี้ใช้คำว่า 'อาจเป็นผลให้'และความร้ายแรงของการฝ่าฝืนของพนักงานอื่นอาจต่างกับกรณีของโจทก์มากก็ได้
ระเบียบทั่วไปว่าด้วยสภาพการจ้างสำหรับพนักงานของบริษัทจำเลยกล่าวไว้ว่าการฝ่าฝืน ข้อ 87 อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้น มีความหมายว่าในบางกรณีจำเลยอาจถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) แต่การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดจะเป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ว่ามีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ มิใช่ว่าเมื่อนายจ้างกำหนดไว้ในระเบียบว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วศาลจะต้องถือตามเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยต้องพิจารณาความสามารถของลูกจ้าง หากคำสั่งเกินความสามารถ ลูกจ้างไม่ต้องรับผิดชอบ
เหตุที่ลูกจ้างไม่เรียงอิฐให้ได้วันละ 8 คันรถตามคำสั่งของหัวหน้าแผนกเป็นเพราะเกินความสามารถของลูกจ้างที่จะกระทำได้ มิใช่ลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนคำสั่ง กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตาม ข้อ 47(3) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงโทษทางวินัยของนายจ้าง: การไล่ออกที่ไม่ต้องสอบสวน และการไม่ผูกพันตามความเห็นคณะกรรมการสอบสวน
ข้อบังคับของจำเลยข้อ 19 กำหนดว่า การลงโทษไล่ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อพนักงานกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่ระบุไว้ในข้อนี้ โดยใน (4) ได้ระบุการกระทำความผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไว้ด้วยข้อ 20 กำหนดว่าการลงโทษไล่ออกนั้นถ้ามิใช่เป็นกรณีความผิดปรากฏชัดแจ้งให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งกรรมการอย่างน้อย 3 นายเพื่อทำการสอบสวนก่อนและข้อ 21 กำหนดว่า การลงโทษปลดออกนั้นจะกระทำได้เมื่อพนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ยังไม่ถึงกับจะต้องไล่ออกหรือมีเหตุอันควรลดหย่อนในกรณีนี้ให้นำความในข้อ 19 และ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้ ความผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา อาจจะถูกลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใดได้ แล้วแต่ความร้ายแรงของการกระทำหาใช่จะต้องลงโทษไล่ออกหรือปลดออกเท่านั้นไม่หากผู้มีอำนาจสั่งลงโทษอย่างอื่นซึ่งมิใช่โทษไล่ออกหรือปลดออกแล้วก็ไม่ต้องทำการสอบสวนก่อน ฉะนั้น การที่ผู้อำนวยการของจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานแม้มิได้มีการสอบสวนก่อนก็เป็นการชอบแล้ว
ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โดยมิได้ทำการสอบสวนก่อนต่อมาจำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามที่โจทก์ร้องเรียน ว่าถูกสั่งให้ออกโดยไม่เป็นธรรมคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าความผิดของโจทก์ควรลงโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ดังนี้เมื่อตามระเบียบของจำเลยไม่มีกำหนดได้ว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว จำเลยก็หาต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวไม่
ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โดยมิได้ทำการสอบสวนก่อนต่อมาจำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามที่โจทก์ร้องเรียน ว่าถูกสั่งให้ออกโดยไม่เป็นธรรมคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าความผิดของโจทก์ควรลงโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ดังนี้เมื่อตามระเบียบของจำเลยไม่มีกำหนดได้ว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว จำเลยก็หาต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจวางข้อบังคับห้ามเล่นแชร์ของนายจ้าง และการคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อค่าชดเชย
จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจวางข้อบังคับห้ามมิให้ลูกจ้างเล่นแชร์ได้ แต่การเล่นแชร์เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งใช้บังคับได้ ไม่มีกฎหมายห้ามการเล่นแชร์ การเล่นแชร์ฝ่าฝืนข้อบังคับจึงไม่เป็นกรณีร้ายแรง
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เริ่มทำงานในวันแรก ดังนั้นการนับระยะเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องนับวันแรกแห่งระยะเวลาอันเป็นวันเริ่มทำการงานรวมคำนวณเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158
แม้จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 บัญญัติถึงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างก็มิได้ซ้ำหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 ซึ่งบัญญัติถึงการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง มาตราดังกล่าวจึงยังใช้บังคับในกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่แล้วด้วย
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เริ่มทำงานในวันแรก ดังนั้นการนับระยะเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องนับวันแรกแห่งระยะเวลาอันเป็นวันเริ่มทำการงานรวมคำนวณเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158
แม้จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 บัญญัติถึงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างก็มิได้ซ้ำหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 ซึ่งบัญญัติถึงการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง มาตราดังกล่าวจึงยังใช้บังคับในกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่แล้วด้วย