คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวิช กำเนิดเพ็ชร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 383 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน: โจทก์ผิดสัญญาเนื่องจากไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดได้ จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยต่อไป
โจทก์ยินยอมให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทจนกว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้จำเลยตามสัญญาจะซื้อขายเมื่อโจทก์ผิดสัญญาเพราะไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้สิทธิอาศัยของจำเลยจึงยังคงมีอยู่ตามสัญญาโจทก์ไม่มีสิทธิเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่ดินและอาคารพิพาทการที่จำเลยอยู่ต่อมาจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย - ความผิดของคู่สัญญา - สิทธิอาศัย - การเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินกับโจทก์ ครั้นถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้ อันเป็นความผิดของฝ่ายโจทก์เอง หาใช่ความผิดของจำเลยไม่ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์ยินยอมให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทจนกว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้ สิทธิอาศัยของจำเลยจึงยังคงมีอยู่ตามสัญญา เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่ดินและอาคารพิพาท การที่จำเลยอยู่ในอาคารโดยมีสิทธิตามสัญญาจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, สิทธิการเช่า, และขอบเขตการบังคับคดีความเสียหายจากสัญญาเช่า
ศาลชั้นต้น ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า การ เคหะ แห่งชาติ เคย มี หนังสือ บอกเลิก การ เช่า ห้อง พิพาท แก่ จำเลย แล้ว จำเลย ก็ ยอมรับ แต่ ปฏิเสธ ว่า หนังสือ บอกเลิก สัญญาเช่า ไม่มี ผลบังคับ เพราะ ได้ มี บัญชา ของ นายกรัฐมนตรี ขณะ นั้น ให้ ระงับ โครงการ รื้อถอน และ ให้ ผู้เช่า รวมทั้ง จำเลย เช่า อยู่ ต่อไป แต่ จำเลย ไม่มี พยาน มา สืบ ให้ เห็น เป็น ดัง ที่ จำเลย อ้าง เพียง กล่าวอ้าง ลอย ๆ ถือว่า การ บอกเลิก การ เช่า มีผล สมบูรณ์ จำเลย อยู่ ใน ห้อง พิพาท โดย ละเมิด การ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า โจทก์ และ โจทก์ร่วม ไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ จำเลย เนื่องจาก การ บอกเลิก การ เช่า ห้อง พิพาท ไม่มี ผล ตาม กฎหมาย นั้น เป็น การ โต้เถียง ข้อเท็จจริง ว่า หนังสือ บอกเลิก สัญญา ไม่มี ผลบังคับ เพื่อ นำ ไป สู่ ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย มีสิทธิ การ เช่า ใน ห้อง พิพาท ดีกว่า โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543(3) อุทธรณ์ ของ จำเลย จึง เป็น อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกา ของ จำเลย ใน ข้อ ที่ ว่า โจทก์ จะ เรียก สำนักงาน ทรัพย์สิน ส่วน พระมหากษัตริย์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ไม่ต้อง ด้วย เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3)( ก ) เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย ว่า กรณี ที่ โจทก์ เรียก สำนักงาน ทรัพย์สิน ส่วน พระมหากษัตริย์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ต้องด้วย เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)( ข ) แล้ว ดังนี้ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย จึง ไม่เป็น การ โต้แย้ง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่ วินิจฉัย ให้ ตาม สัญญาเช่า ระบุ ว่า ผู้เช่า สัญญา จะ เป็น ผู้ดำเนินการ ให้ ผู้ครอบครอง ผู้บุกรุก หรือ บุคคลอื่น ออกจาก สถานที่ เช่า และ สิ่งปลูกสร้าง ใน สถานที่ เช่า จน สามารถ ครอบครอง สถานที่ เช่า ได้ ทั้งหมด โดย ผู้ให้เช่า เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ตาม ที่ ผู้เช่า จ่าย จริง ภายใน วงเงิน ไม่เกิน สิบ ล้าน บาท นั้น สัญญา ได้ ระบุ ไว้ ชัดเจน ว่า ผู้เช่า คือ โจทก์ เป็น ผู้ดำเนินการ โดย ผู้ให้เช่า คือ โจทก์ร่วม เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย จึง เป็น เรื่อง การ กำหนด ค่าใช้จ่าย ใน การ ดำเนินการ ของ โจทก์ มิใช่ เป็น สัญญา เพื่อ ประโยชน์ ของ บุคคลภายนอก ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ร่วม ด้วย นั้น เมื่อ ปรากฏ ตาม คำร้อง เข้า เป็น โจทก์ร่วม ว่า โจทก์ร่วม เพียงแต่ ขอให้ บังคับ จำเลย และ บริวาร ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จาก ห้อง พิพาท และ ห้ามเข้า ไป เกี่ยวข้อง อีก เท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง ใน ส่วน นี้ จึง เป็น การ พิพากษา เกิน ไป กว่า คำขอ อันเป็น การ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ศาลฎีกา สมควร แก้ไข เสีย ให้ ถูกต้อง เป็น จำเลย ไม่ต้อง ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำผิดฐานขายยาเสพติด: พยานหลักฐานต้องเชื่อมโยงถึงตัวจำเลย พยานบอกเล่าและการรับสารภาพที่ไม่สมัครใจมีน้ำหนักน้อย
จำเลยที่1เป็นสามีของจำเลยที่2โดยอาศัยอยู่บ้านเดียวกันขณะที่สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่2จำเลยที่2อยู่ใต้ถุนบ้านส่วนจำเลยที่1นอนอยู่บนบ้านและตรวจค้นยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางได้จากกระเป๋ากางเกงของเด็กที่แขวนอยู่ที่เสาใต้ถุนบ้านส่วนธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อก็ยึดได้จากจำเลยที่2และระหว่างนั้นไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1มีพฤติการณ์ที่ส่อแสดงว่าได้ร่วมกับจำเลยที่2กระทำความผิดแต่กลับเป็นผู้นำตรวจค้นบนบ้านโจทก์คงมีแต่คำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่1ซึ่งให้การปฎิเสธในชั้นพิจารณาเป็นพยานบอกเล่าพนักงานสอบสวนดำเนินการไปฝ่ายเดียวโดยฝ่ายจำเลยที่1ไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้านแม้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแต่ก็มีน้ำหนักน้อยโจทก์จะต้องมีพยานอื่นมาสืบประกอบจึงจะรับฟังลงโทษจำเลยที่1ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10157/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเนื่องจากมีการประนีประนอมยอมความระหว่างคู่ความ
ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเสร็จไปแล้ว ฉะนั้นคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ ๑ ว่าจะต้องรับคำให้การของจำเลยที่ ๑ หรือไม่ อีกต่อไป ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9937/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัมปทานทำไม้ไม่ใช่สัญญาแพ่ง การสั่งหยุดทำไม้ชั่วคราวไม่ถือเป็นการผิดสัญญาและไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
สัมปทานทำไม้เป็นเรื่องที่รัฐบาลอนุญาตให้บุคคลเข้าดำเนินการทำไม้ภายใต้เงื่อนไขระเบียบและกฎหมาย มิใช่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น การที่จำเลยสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงวางโครงการทำไม้และเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงไม่เป็นการผิดสัญญาสัมปทานทำไม้และโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัมปทานทำไม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 389 การที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้เป็นการชั่วคราว มิใช่เป็นการสั่งเพิกถอนสัมปทาน กรมป่าไม้จึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันที่โจทก์วางไว้เพื่อเป็นประกันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัมปทาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าจ้างเพิ่มเติม: ศาลไม่วินิจฉัยเกินคำขอ แม้ถ้อยคำในฟ้องไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์รื้อถอนต่อเติมซ่อมแซมและทาสีอาคารของจำเลย ในระหว่างก่อสร้างจำเลยได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ให้ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่ตกลงไว้เดิม รวมเงินค่าจ้างทั้งงานเดิมและงานเพิ่มเติมเป็นเงิน 811,722 บาท จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างตามผลงานที่ทำแล้วเสร็จ550,000 บาท ทั้งงานที่ตกลงว่าจ้างครั้งแรกกับงานที่เพิ่มเติมภายหลังโจทก์ได้ทำแล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าจ้างงานส่วนที่เพิ่มเติมเป็นเงิน261,722 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 261,722 บาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องที่เรียกเอาเงินค่าจ้างที่ค้างชำระอยู่นั่นเอง เพียงแต่โจทก์อาจใช้ถ้อยคำไม่ถูกต้อง ซึ่งจำเลยเองก็เบิกความว่า เงินค่าจ้างจำนวน 550,000 บาทที่จำเลยชำระแก่โจทก์ไปนั้น ไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าส่วนใดเป็นค่างานปกติ ส่วนใดเป็นค่างานที่เพิ่มเติม ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระ จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินคำขอ
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า จำเลยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการเบิกจ่ายเงินโดยประมาทเลินเล่อของพนักงาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้อง
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่1เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม. ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่1เช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม.จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่1ตามคำฟ้องนั่นเองหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้อง: การวินิจฉัยความประมาทเลินเล่อของพนักงานภายในองค์กรยังคงอยู่ในกรอบคำฟ้องเดิม
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม. จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั่นเอง หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน ธนาคารไม่ต้องรับผิดหากจ่ายเงินถูกต้องตามระเบียบ แม้ลายมือชื่อไม่ตรงกับเอกสาร
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า ม. ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของ ม. จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั่นเอง จึงมิได้วินิจฉัยนอกคำฟ้อง โจทก์ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการส่งตั๋วแลกเงินมาแสดงโดยอ้างว่าทำหาย และยังได้ความต่อไปว่าหลังจากส่งตั๋วแลกเงินไปแล้ว โจทก์ทราบว่ามีผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินไปโดยใช้บัตรประจำตัวคนญวนอพยพของ ก. ที่หมดอายุเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บเงินและลายมือชื่อ ก.ที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินเป็นลายมือชื่อปลอม แต่โจทก์เพิ่งแจ้งความหลังจากทราบเหตุแล้วหลายวันซึ่งนับว่าเป็นข้อพิรุธอย่างยิ่ง ส่วนเรื่องการทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพนั้นการออกบัตรใหม่ให้ ทางสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลจะต้องเรียกบัตรเดิมคืน แสดงว่าถ้า ก.ยังไม่มารับบัตรใหม่ก็ยังไม่ต้องคืนบัตรเก่า จึงน่าเชื่อว่าบัตรเก่ายังคงอยู่ที่ ก.การที่ม. พนักงานรับเงินธนาคารจำเลยที่ 1 เบิกความยืนยันว่าก. กับพวกได้นำตั๋วแลกเงินมาเรียกเก็บเงินโดยนำบัตรประจำตัวที่เป็นบัตรเก่าหมดอายุแล้วมาแสดงจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อ ส่วนเหตุที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินมีชื่อ ก. นั้น เมื่อได้พิเคราะห์ตั๋วแลกเงินกับบัตรประจำตัวของ ก. แล้วปรากฏว่ามีการลงรายการดังกล่าวที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินจริง และตรงกับข้อความในบัตรประจำตัวของ ก. ทุกประการลายมือชื่อของ ก.ที่ลงในตั๋วแลกเงินกับที่ลงในบัตรประจำตัวคนญวนอพยพของก. ก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่ ก. โดยถูกต้องตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
of 39