พบผลลัพธ์ทั้งหมด 383 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9212/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดขวางเจ้าพนักงาน-อาวุธปืน: อำนาจตรวจค้น-จับกุมเมื่อพบพฤติการณ์น่าสงสัยและแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงาน
ก่อนเกิดเหตุสิบตำรวจเอก พ. พบเห็นจำเลยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมืออาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำผิด และพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้าแม้สิบตำรวจเอกพ. ไม่มีหมายจับ แต่ได้แสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยทราบแล้ว สิบตำรวจเอก พ.จึงมีอำนาจตรวจค้นและจับจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(1)(2),93การที่จำเลยใช้มือกดอาวุธปืนไม่ให้สิบตำรวจเอก พ.ดึงออกมาจากเอวจำเลยเพื่อยึดเป็นของกลาง จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7231/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถชนคนข้ามถนน ผู้ขับมีหน้าที่ต้องระมัดระวังและให้สิทธิคนเดินเท้า
จำเลยขับรถโดยสารมาติดสัญญาณจราจรไฟสีแดงหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นคันแรกโดยจอดอยู่ช่องขวาสุดริมเกาะกลางถนนเพื่อเลี้ยวขวาไปทางท่าช้าง เวลาเดียวกันส.และผู้ตายกำลังจะข้ามถนนเมื่อส. และผู้ตายก้าวลงจากทางเท้าข้ามถนนตรงทางข้ามนั้นเป็นจังหวะเดียวกับสัญญาณไฟจราจรซึ่งอยู่ข้างหน้าจำเลยเปลี่ยนเป็นไฟสีเขียว จำเลยจึงเร่ง ออกรถโดยไม่ทันดูว่าส. และผู้ตายกำลังข้ามถนนในทางข้ามอยู่ ถึงแม้จำเลยจะเลี้ยงขวาเมื่อสัญญาณจราจรไฟสีเขียว จำเลยก็จะต้องขับรถด้วยความระมัดระวังและต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้ามด้วยตามมาตรา 22(4) วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 จำเลยมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ได้รับอัตราสาหัสและผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 22(4),43(4),152 และ 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7056/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบกำกับภาษีปลอมโดยไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา86/13มิได้ระบุว่าจะต้องออกใบกำกับภาษีในนามของตนเองจึงจะมีความผิดดังนั้นการที่จำเลยซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนและมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้อื่นก็เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ จำเลยใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86/13,90/4(3)ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญาจึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมเพียงกระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา268 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันกระทำผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกันโดยจำเลยกับพวกร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกจำนวนถึง56ใบจำเลยให้การรับสารภาพแม้เจ้าพนักงานจะยึดใบกำกับภาษีปลอมได้จากจำเลยกับพวกในวันเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกับพวกปลอมใบกำกับภาษีทั้งหมดพร้อมกันอันจะเป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย การแบ่งแยกที่ดินไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญา
ข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายได้ระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 160959 เฉพาะส่วนจำนวน 20 ตารางวา ซึ่งขณะนี้จำเลยได้ดำเนินการแบ่งแยกโฉนดอยู่พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2535 ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วนั่นเอง การที่โจทก์นำสืบว่าตกลงโอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อแบ่งแยกที่ดินแล้วจึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อจะขาย และไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การโอนกรรมสิทธิ์หลังแบ่งแยกที่ดินไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญา
ข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายได้ระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยจะขายที่ดินโฉนดเลขที่160959เฉพาะส่วนจำนวน20ตารางวาซึ่งขณะนี้จำเลยได้ดำเนินการแบ่งแยกโฉนดอยู่พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ณวันที่26สิงหาคม2535ดังนั้นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วนั่นเองการที่โจทก์นำสืบว่าตกลงโอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อแบ่งแยกที่ดินแล้วจึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6053/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเฉพาะจำเลยรายบุคคล เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินคดีต่อ
คดีที่มีจำเลยหลายคน เหตุที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเพราะถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรค 2 ไม่จำต้องเกิดขึ้นแก่จำเลยทุกคนในคดีเสมอไป กรณีอาจเกิดขึ้นแก่จำเลยเป็นรายบุคคลก็ได้ ในกรณีที่เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นแก่จำเลยในคดีเป็นรายบุคคล ศาลจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยรายที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเท่านั้น เพราะถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยรายนั้นต่อไป ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีทั้งคดีออกเสียจากสารบบความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6053/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเฉพาะจำเลยรายบุคคลเมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการ
คดีที่มีจำเลยหลายคนเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเพราะถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรค2ไม่จำต้องเกิดขึ้นแก่จำเลยทุกคนในคดีเสมอไปกรณีอาจเกิดขึ้นแก่จำเลยเป็นรายบุคคลก็ได้ในกรณีที่เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นแก่จำเลยในคดีเป็นรายบุคคลศาลจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยรายที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเท่านั้นเพราะถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยรายนั้นต่อไปศาลจะสั่งจำหน่ายคดีทั้งคดีออกเสียจากสารบบความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้และการกระทำโดยทุจริตตาม พ.ร.บ. เช็ค: การที่โจทก์รับรู้หนี้ของคู่กรณีทำให้จำเลยไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยทั้งสองห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คโดยเข้าใจว่ามีสิทธิหักกลบลบหนี้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดท.เนื่องจากโจทก์มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องรับรู้หนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดท.จะต้องชดใช้ให้แก่จำเลยทั้งสองดังนี้ย่อมมิใช่เป็นการกระทำโดยทุจริตจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา4(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5758/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นจะซื้อขาย+สัญญาเช่า: การโอนที่ดินติดจำนอง-สิทธิค่าเช่า-เจตนาไม่ติดจำนอง
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากผู้เช่าประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงที่เช่านี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่สัญญาเช่านี้ยังมีผลบังคับผู้ให้เช่ายินยอมขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้เช่าในราคายุติธรรมซึ่งจะได้เจรจาทำความตกลงกันแต่ราคาที่ดินตามโฉนดทั้งแปลงต้องไม่สูงกว่ายี่สิบห้าล้านบาทถ้วนและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากผู้ใช้ประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงทำสัญญานี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่สัญญานี้ยังมีผลบังคับผู้ให้เช่ายินยอมขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้ใช้ในราคายุติธรรมซึ่งจะได้เจรจาทำความตกลงกันแต่ราคาที่ดินจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่ดินข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่จำเลยได้แสดงเจตนาผูกมัดตนเองว่าจะขายที่พิพาทกันให้แก่โจทก์การแสดงเจตนาของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะแน่นอนไม่มีเงื่อนไขหรือทางเลือกสำหรับจำเลยที่จะบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามเจตนาที่แสดงไว้จึงมีผลเป็นคำมั่นผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ในราคาไม่สูงกว่า25,000,000บาทเมื่อโจทก์แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยจึงก่อให้เกิดเป็นสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้ แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแต่โจทก์ก็ได้แนบสัญญาดังกล่าวมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและในชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่าจำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่าและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินในอันที่จะต้องขายที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดการที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยถูกผูกพันที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวเพราะสัญญาดังกล่าวเป็นคำมั่นของจำเลยที่จะขายที่พิพาทให้แก่โจทก์จึงหาใช่เป็นการพิพากษานอกเหนือคำฟ้องไม่ เมื่อสัญญาเช่าและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองและโจทก์ก็ได้แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยเป็นผลให้เกิดสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และเมื่อกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโอนไปเป็นของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งรวมทั้งสิทธิที่จะเก็บค่าเช่าด้วยบุคคลหาอาจเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ของตนเองได้ไม่กรณีเช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าหนี้เป็นอันระงับด้วยเกลื่อนกลืนกันไปตามมาตรา353โดยโจทก์และจำเลยไม่ต้องมีการตกลงกันหรือแสดงเจตนาต่อกันเมื่อคำมั่นในการซื้อขายเกิดเป็นสัญญาและสิทธิจะเก็บค่าเช่าจากที่พิพาทของจำเลยระงับแล้วจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำมั่นในการซื้อขายขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569และตกเป็นโมฆะ คำมั่นจะขายที่ดินพิพาทกำหนดราคาซื้อขายกัน25,000,000บาทโดยไม่มีข้อความระบุว่าการจดทะเบียนการโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์จะต้องติดจำนองไปด้วยหรือไม่ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้โอนที่พิพาทโดยไม่ติดจำนองจึงเป็นการนำสืบว่ามีข้อตกลงในเรื่องการโอนที่พิพาทต่างหากจากคำมั่นจะขายอีกส่วนหนึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมหรือแก้ไขคำมั่นจะซื้อขายที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5758/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นจะขายที่ดินผูกพันสัญญาซื้อขาย และการระงับหนี้เมื่อกรรมสิทธิ์โอนแล้ว
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า หากผู้เช่าประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงที่เช่านี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่สัญญาเช่านี้ยังมีผลบังคับผู้ให้เช่ายินยอมขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้เช่าในราคายุติธรรมซึ่งจะได้เจรจาทำความตกลงกัน แต่ราคาที่ดินตามโฉนดทั้งแปลงต้องไม่สูงกว่ายี่สิบห้าล้านบาทถ้วน และสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลย ระบุว่า หากผู้ใช้ประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงทำสัญญานี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่สัญญานี้ยังมีผลบังคับ ผู้ให้เช่ายินยอมขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้ใช้ในราคายุติธรรมซึ่งจะได้เจรจาทำความตกลงกันแต่ราคาที่ดินจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่ดิน ข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่จำเลยได้แสดงเจตนาผูกมัดตนเองว่าจะขายที่พิพาทให้แก่โจทก์การแสดงเจตนาของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะแน่นอนไม่มีเงื่อนไขหรือทางเลือกสำหรับจำเลยที่จะบิดพลิ้วไม่ปฎิบัติตามเจตนาที่แสดงไว้ จึงมีผลเป็นคำมั่นผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ในราคาไม่สูงกว่า 25,000,000 บาทเมื่อโจทก์แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยจึงก่อให้เกิดเป็นสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456วรรคสอง เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย แต่โจทก์ก็ได้แนบสัญญาดังกล่าวมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และในชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่า และสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินในอันที่จะต้องขายที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยถูกผูกพันที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว เพราะสัญญาดังกล่าว เป็นคำมั่นของจำเลยที่จะขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงหาใช่เป็นการพิพากษานอกเหนือคำฟ้องไม่
เมื่อสัญญาเช่าและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและโจทก์ก็ได้แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยเป็นผลให้เกิดสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ และเมื่อกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโอนไปเป็นของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งรวมทั้งสิทธิที่จะเก็บค่าเช่าด้วย บุคคลหาอาจเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ของตนเองได้ไม่ กรณีเช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าหนี้เป็นอันระงับด้วยเกลื่อนกลืนกันไป ตามมาตรา 353 โดยโจทก์และจำเลยไม่ต้องมีการตกลงกันหรือแสดงเจตนาต่อกันเมื่อคำมั่นในการซื้อขายเกิดเป็นสัญญาและสิทธิจะเก็บค่าเช่าจากที่พิพาทของจำเลยระงับแล้วจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า คำมั่นในการซื้อขายขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 และตกเป็นโมฆะ
คำมั่นจะขายที่ดินพิพาท กำหนดราคาซื้อขายกัน 25,000,000บาท โดยไม่มีข้อความระบุว่าการจดทะเบียนการโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์จะต้องติดจำนองไปด้วยหรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้โอนที่พิพาทโดยไม่ติดจำนอง จึงเป็นการนำสืบว่ามีข้อตกลงในเรื่องการโอนที่พิพาทต่างหากจากคำมั่นจะขายอีกส่วนหนึ่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมหรือแก้ไขคำมั่นจะซื้อขายที่พิพาท
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย แต่โจทก์ก็ได้แนบสัญญาดังกล่าวมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และในชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่า และสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินในอันที่จะต้องขายที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยถูกผูกพันที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว เพราะสัญญาดังกล่าว เป็นคำมั่นของจำเลยที่จะขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงหาใช่เป็นการพิพากษานอกเหนือคำฟ้องไม่
เมื่อสัญญาเช่าและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและโจทก์ก็ได้แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยเป็นผลให้เกิดสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ และเมื่อกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโอนไปเป็นของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งรวมทั้งสิทธิที่จะเก็บค่าเช่าด้วย บุคคลหาอาจเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ของตนเองได้ไม่ กรณีเช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าหนี้เป็นอันระงับด้วยเกลื่อนกลืนกันไป ตามมาตรา 353 โดยโจทก์และจำเลยไม่ต้องมีการตกลงกันหรือแสดงเจตนาต่อกันเมื่อคำมั่นในการซื้อขายเกิดเป็นสัญญาและสิทธิจะเก็บค่าเช่าจากที่พิพาทของจำเลยระงับแล้วจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า คำมั่นในการซื้อขายขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 และตกเป็นโมฆะ
คำมั่นจะขายที่ดินพิพาท กำหนดราคาซื้อขายกัน 25,000,000บาท โดยไม่มีข้อความระบุว่าการจดทะเบียนการโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์จะต้องติดจำนองไปด้วยหรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้โอนที่พิพาทโดยไม่ติดจำนอง จึงเป็นการนำสืบว่ามีข้อตกลงในเรื่องการโอนที่พิพาทต่างหากจากคำมั่นจะขายอีกส่วนหนึ่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมหรือแก้ไขคำมั่นจะซื้อขายที่พิพาท