พบผลลัพธ์ทั้งหมด 383 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8256/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีนอกประเด็น และการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยซึ่งคู่ความรับกันแล้วว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 378 ของจำเลยออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 15 ของโจทก์คือที่ดินพิพาททั้งแปลง การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าที่ดินแปลงที่สามคือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 15 ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่โจทก์นำชี้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่ติดที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 196 และ 202 แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างการยื่นฎีกานั้นจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 การที่โจทก์ขอถือเอาอุทธรณ์ของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่มิชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารและการรื้อถอนส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร โดยคำนึงถึงอาคารเดิมที่สร้างก่อนมีข้อบัญญัติ
จากแบบแปลนแผนผังที่นายตรวจอาคารงานโยธาทำขึ้นไม่ปรากฏว่ามีห้องน้ำห้องส้วมในตัวอาคาร แสดงว่าขณะที่จำเลยซื้อบ้านพิพาทมีห้องน้ำห้องส้วมรวมกันอยู่ติดกับรั้วกว้างประมาณ 1 วา ยาวประมาณ 1 วาเศษ ต่อมาจำเลยได้แบ่งซอยห้องน้ำห้องส้วม เดิมเป็นสองห้องใหม่โดยไม่ปรากฏว่ามีการเพิ่มหรือขยายพื้นที่ จึงไม่ทำให้พื้นที่ว่างเดิมลดน้อยลง อาคารของจำเลยได้ก่อสร้างมาก่อนพ.ศ.2522 ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479เป็นอาคารที่สร้างขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายมีพื้นที่ว่างไม่ถึงร้อยละ 30 แม้จะขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็หามีผลย้อนหลังใช้บังคับแก่อาคารของจำเลยได้ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรื้อถอนห้องน้ำห้องส้วมที่แบ่งซอย
ห้องส้วมอีก 4 ห้อง ขนาด 1.20 x 1.30 เมตร สูง 2 เมตรเป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้จะก่อสร้างอยู่ใต้ชายคาเดิมเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้ความว่ามีบางส่วนด้านที่ติดกับรั้วบ้านเลขที่8/10 ล้ำออกไปจากชายคาประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้เหลือที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมลดลงไปกว่าเดิม และน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 76 (1) และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนห้องส้วมจำนวน 4 ห้อง ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่
ห้องส้วมอีก 4 ห้อง ขนาด 1.20 x 1.30 เมตร สูง 2 เมตรเป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้จะก่อสร้างอยู่ใต้ชายคาเดิมเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้ความว่ามีบางส่วนด้านที่ติดกับรั้วบ้านเลขที่8/10 ล้ำออกไปจากชายคาประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้เหลือที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมลดลงไปกว่าเดิม และน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 76 (1) และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนห้องส้วมจำนวน 4 ห้อง ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่สมบูรณ์และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องค่ามัดจำที่ดิน ศาลฎีกาอนุญาตให้สืบพยานได้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินและไม่เคยรับเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์เป็นค่ามัดจำที่โจทก์ซื้อที่ดินของจำเลยแต่ตกลงกันทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินไว้เพราะหากจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้ยอมให้โจทก์บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อเรียกค่ามัดจำคืนจำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์เข้าทำประโยชน์แล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินที่เหลือตามกำหนดจำเลยจึงบอกเลิกการขายที่ดินและริบเงินมัดจำโจทก์จะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้ตามคำให้การของจำเลยเท่ากับต่อสู้ว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่สมบูรณ์จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลเข้านำสืบตามข้อต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้สัญญากู้ไม่สมบูรณ์: จำเลยมีสิทธิสืบพยานได้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินและไม่เคยรับเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้ เงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์เป็นค่ามัดจำที่โจทก์ซื้อที่ดินของจำเลย แต่ตกลงกันทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินไว้เพราะหากจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้ ยอมให้โจทก์บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อเรียกค่ามัดจำคืนจำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์เข้าทำประโยชน์แล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินที่เหลือตามกำหนด จำเลยจึงบอกเลิกการขายที่ดินและริบเงินมัดจำ โจทก์จะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้ ตามคำให้การของจำเลยเท่ากับต่อสู้ว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลเข้าสืบตามข้อต่อสู้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้างเมื่อผู้ควบคุมงานละเลยไม่สั่งระงับการก่อสร้างที่เสี่ยงอันตราย
ตามสัญญาจ้างระบุว่าจำเลยที่2ผู้รับจ้างจะต้องก่อสร้างตามรูปแบบและรายการที่จำเลยที่1ผู้ว่าจ้างกำหนดไว้ทุกประการและจำเลยที่1ได้แต่งตั้งให้ว.ช่างโยธาของจำเลยที่1เป็นผู้ควบคุมงานเมื่อว.เห็นว่าจำเลยที่4ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการของจำเลยที่2ใช้คนและเครื่องจักรขุดดินรางระบายน้ำเก่าโดยไม่ได้ใช้ไม้ค้ำยันและอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ดินพังลงมาแต่ว.ก็มิได้สั่งห้ามมิให้ทำเป็นเหตุให้ดินพังลงมาทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายถือว่าจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำด้วยจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่2ผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428เพราะว.ผู้ควบคุมงานของจำเลยที่1มีหน้าที่ควบคุมวิธีการก่อสร้างด้วยมิใช่มีหน้าที่เพียงควบคุมให้ผลของงานเป็นไปตามสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้างในความเสียหายจากการควบคุมงานที่ไม่ปลอดภัย
ตามสัญญาจ้างระบุว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างจะต้องก่อสร้างตามรูปแบบและรายการที่จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างกำหนดไว้ทุกประการ และจำเลยที่ 1ได้แต่งตั้งให้ ว.ช่างโยธาของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมงาน เมื่อ ว.เห็นว่าจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการของจำเลยที่ 2 ใช้คนและเครื่องจักรขุดดินรางระบายน้ำเก่าโดยไม่ได้ใช้ไม้ค้ำยันและอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ดินพังลงมา แต่ ว.ก็มิได้สั่งห้ามมิให้ทำเป็นเหตุให้ดินพังลงมาทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ถือว่าจำเลยที่ 1ในฐานะผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 428 เพราะ ว.ผู้ควบคุมงานของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมวิธีการก่อสร้างด้วย มิใช่มีหน้าที่เพียงควบคุมให้ผลของงานเป็นไปตามสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7737/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่านาตามกฎหมายและการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินเพื่อทำนาแล้วไม่ชำระค่าเช่านาในปี2527ถึงปี2530อ. ผู้รับมอบอำนาจผู้ให้เช่านาแจ้งบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยและคชก.ตำบลแล้วตามสัญญาเช่านานั้นมีกำหนดเวลาเช่าถึงวันที่31มีนาคม2533จึงเป็นการบอกเลิกการเช่านาก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาคชก.ตำบลได้ประชุมและมีมติให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและให้จำเลยเช่าที่ดินต่อไปอ. อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคชก.จังหวัดคชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติให้จำเลยเช่าทีนาถึงวันที่31มีนาคม2533ซึ่งสิ้นสุดตามกฎหมายโดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าที่ค้างมติดังกล่าวเป็นมติที่ได้วินิจฉัยในเรื่องการบอกเลิกการเช่านาและเรื่องให้จำเลยออกจากที่นาที่เช่าด้วยมติของที่ประชุมเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของคู่กรณีดังกล่าวจำเลยเข้าร่วมประชุมและลงชื่อในบันทึกท้ายมติที่ประชุมได้ทราบเรื่องที่ประชุมตลอดจนมติที่ประชุมโดยตลอดแล้วแต่จำเลยไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดมติดังกล่าวย่อมถึงที่สุดจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยผู้ให้เช่านาไม่จำต้องบอกเลิกการเช่านาอีกเมื่อครบกำหนดวันที่31มีนาคม2533จำเลยยังทำนาในที่นาที่เช่าอยู่ต่อมาเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคชก.จังหวัดที่ให้จำเลยออกจากนาโดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7737/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านา การวินิจฉัยของ คชก. และผลผูกพันตามมติ
จำเลยเช่าที่ดินเพื่อทำนาแล้วไม่ชำระค่าเช่านาในปี 2527ถึงปี 2530 อ.ผู้รับมอบอำนาจผู้ให้เช่านาแจ้งบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยและ คชก.ตำบลแล้ว ตามสัญญาเช่านานั้นมีกำหนดเวลาเช่าถึงวันที่ 31 มีนาคม2533 จึงเป็นการบอกเลิกการเช่านาก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาการเช่านา คชก.ตำบลได้ประชุมและมีมติให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและให้จำเลยเช่าที่ดินต่อไปอ.อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อ คชก.จังหวัด คชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติให้จำเลยเช่าทำนาถึงวันที่ 31 มีนาคม 2533 ซึ่งสิ้นสุดตามกฎหมาย โดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าที่ค้าง มติดังกล่าวเป็นมติที่ได้วินิจฉัยในเรื่องการบอกเลิกการเช่านาและเรื่องให้จำเลยออกจากที่นาที่เช่าด้วย มติของที่ประชุมเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของคู่กรณีดังกล่าว จำเลยเข้าร่วมประชุมและลงชื่อในบันทึกท้ายมติที่ประชุม ได้ทราบเรื่องที่ประชุมตลอดจนมติที่ประชุมโดยตลอดแล้ว แต่จำเลยไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด มติดังกล่าวย่อมถึงที่สุด จำเลยต้องปฏิบัติตาม โดยผู้ให้เช่านาไม่จำต้องบอกเลิกการเช่านาอีก เมื่อครบกำหนดวันที่ 31 มีนาคม 2533 จำเลยยังทำนาในที่นาที่เช่าอยู่ต่อมาเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ คชก.จังหวัดที่ให้จำเลยออกจากนาโดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง: การพิจารณาความชอบด้วยกระบวนพิจารณาและกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องจำหน่ายคดี วันที่ 6 มีนาคม 2535 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี เพราะโจทก์ไม่ได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 ว่า เมื่อโจทก์ได้ลงชื่อในท้ายคำร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลในวันนั้นแล้วให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ดังนี้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้นศาลชั้นต้นมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวเสียได้หากมีเหตุผลสมควร กรณีจึงต้องถือว่ากำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2535 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของโจทก์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่8 เมษายน 2535 จึงไม่พ้นกำหนด 1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ทราบภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่ทนายจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วการที่เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี และการทิ้งฟ้องที่มิชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องจำหน่ายคดี วันที่ 6 มีนาคม 2535 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี เพราะโจทก์ไม่ได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 ว่า เมื่อโจทก์ได้ลงชื่อในท้ายคำร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลในวันนั้นแล้วให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 8 เมษายน2535 ดังนี้ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวเสียได้หากมีเหตุผลสมควร กรณีจึงต้องถือว่ากำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2535อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 8เมษายน 2535 จึงไม่พ้นกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ทราบภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่ทนายจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วการที่เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมาย ซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ทราบภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่ทนายจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วการที่เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมาย ซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา