พบผลลัพธ์ทั้งหมด 383 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าระงับเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ทายาทไม่มีสิทธิในสัญญาเช่าเดิม ผู้ให้เช่ามีสิทธิทำสัญญาใหม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเป็นทายาทของ อ.เจ้ามรดก ก่อน อ.ถึงแก่กรรมได้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 แล้วมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยและทำประโยชน์โดยโจทก์ทำสวนผลไม้ตลอดมาหลังจาก อ.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของอ.ตามคำสั่งศาล จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปขอเช่าที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เช่าที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าฉบับพิพาท เป็นการใช้สิทธิโดยมิชอบฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ สมคบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่คำนึงถึงความยุติธรรมที่โจทก์จะพึงได้รับ ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินพิพาทดังกล่าว แต่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 3 มีข้อความว่าอย่างใดโจทก์มิได้ระบุไว้ให้ชัด เป็นเพียงกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน เมื่อจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีปฏิเสธว่า การทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำโดยสุจริต มิได้สมคบกันฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี
อ.บิดาโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3ถึงแก่กรรม เมื่อสิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว และเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม สัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 3 และ อ.ย่อมเป็นอันระงับไป ไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิที่จะพิจารณาให้ผู้ใดเช่าที่ดินพิพาทต่อไปก็ได้ ไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จะต้องให้โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไป เมื่อการเช่าของจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นการขอเช่าส่วนตัวไม่เกี่ยวกับหน้าที่ผู้จัดการมรดกของ อ.ผู้ตาย ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นอยู่ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ อ.ที่จะฟ้องบังคับให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
อ.บิดาโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3ถึงแก่กรรม เมื่อสิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว และเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม สัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 3 และ อ.ย่อมเป็นอันระงับไป ไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิที่จะพิจารณาให้ผู้ใดเช่าที่ดินพิพาทต่อไปก็ได้ ไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จะต้องให้โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไป เมื่อการเช่าของจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นการขอเช่าส่วนตัวไม่เกี่ยวกับหน้าที่ผู้จัดการมรดกของ อ.ผู้ตาย ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นอยู่ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ อ.ที่จะฟ้องบังคับให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้แผนที่ระบุทางสาธารณะ แต่หากหมดสภาพแล้ว สามารถฟ้องขอทางจำเป็นได้
ทางสาธารณประโยชน์ที่ระบุไว้ในแผนที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ปัจจุบันหมดสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้วนอกจากทางพิพาทแล้วที่ดินโจทก์ไม่มีทางอื่นใดออกสู่ทางสาธารณะอีก ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น ของที่ดินโจทก์ซึ่งโจทก์และบริวารใช้เป็นทางเข้าออกสู่ ทางสาธารณะการที่จำเลยมาล้อมรั้วลวดหนามปิดกั้นทางดังกล่าว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้รื้อถอนรั้วลวดหนามเพื่อเปิดทางพิพาทได้ ตามนัยแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ปัญหาว่า ตามแผนที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ระบุว่า ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ติดกับทางสาธารณประโยชน์อันเป็นเอกสารมหาชนการที่โจทก์นำสืบว่าปัจจุบันทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวสิ้นสภาพ และไม่มีอีกต่อไปเป็นการนำสืบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่นั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยเพิ่งยกขึ้นมากล่าวอ้างในคำแก้ฎีกาจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพทางสาธารณประโยชน์และทางจำเป็น: ข้อจำกัดในการนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารมหาชน
ทางสาธารณประโยชน์ที่ระบุไว้ในแผนที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ปัจจุบันหมดสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้วนอกจากทางพิพาทแล้วที่ดินโจทก์ไม่มีทางอื่นใดออกสู่ทางสาธารณะอีก ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ซึ่งโจทก์และบริวารใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะการที่จำเลยมาล้อมรั้วลวดหนามปิดกั้นทางดังกล่าว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้รื้อถอนรั้วลวดหนามเพื่อเปิดทางพิพาทได้ ตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่า ตามแผนที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ระบุว่า ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ติดกับทางสาธารณประโยชน์ อันเป็นเอกสารมหาชนการที่โจทก์นำสืบว่าปัจจุบันทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวสิ้นสภาพ และไม่มีอีกต่อไปเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 94หรือไม่นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยเพิ่งยกขึ้นมากล่าวอ้างในคำแก้ฎีกา จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ปัญหาว่า ตามแผนที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ระบุว่า ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ติดกับทางสาธารณประโยชน์ อันเป็นเอกสารมหาชนการที่โจทก์นำสืบว่าปัจจุบันทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวสิ้นสภาพ และไม่มีอีกต่อไปเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 94หรือไม่นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยเพิ่งยกขึ้นมากล่าวอ้างในคำแก้ฎีกา จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะต้องมีเจตนาและเปิดให้ใช้จริง สิทธิในการแก้ไขโฉนด
เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) โดย ป.บิดาโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ต่อมาทางราชการออกเดินสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดิน บิดาโจทก์นำเจ้าพนักงานรังวัดชี้แนวเขตออกโฉนดโดยกันที่ดินพิพาทด้านทิศเหนือไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์เนื้อที่ 28ตารางวา และออกโฉนดเป็นโฉนดเลขที่ 643 และแม้จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่าง ป. ด.และ ล.เจ้าของที่ดินข้างเคียงกับที่ดินแปลงพิพาทเพื่อให้มีการอุทิศที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างคนทั้งสามดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติได้ โดย ล.ไม่สามารถแบ่งที่ดินทางด้านทิศตะวันตกให้ ป.ได้ตามข้อตกลง และป.ก็ไม่ยกที่ดินพิพาทที่อยู่ทางด้านทิศเหนือให้เป็นทางเช่นกัน จึงไม่มีการเปิดใช้ที่ดินพิพาทเป็นทาง คงครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ตามเดิม เพียงแต่ที่ ป.ได้แจ้งต่อช่างรังวัดไว้โดยมิได้ไปแจ้งยกเลิกการแลกเปลี่ยนที่ดินกัน กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพราะมิได้มีเจตนาอุทิศมาตั้งแต่ต้น และมิได้เปิดที่ดินพิพาทให้ใช้เป็นทางสาธารณะให้ผู้คนสัญจรไปมา ฉะนั้น ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป.อยู่ตามเดิม
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนตาม ป.ที่ดินมาตรา 61ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โดยไม่มีกำหนดอายุความ
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนตาม ป.ที่ดินมาตรา 61ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โดยไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ในการแก้ไขโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อน ไม่จำกัดอายุความ
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินของโจทก์ ที่ได้ออกไปโดยคลาดเคลื่อนให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้โดยไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด ไม่ใช่ประมวลกฎหมายอาญา
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติ มาตราการในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 นั้นมีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27 และการร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้ รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 การร้องขอให้ริบทรัพย์คดีนี้เป็นการยื่นคำร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30การริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนี้พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ บัญญัติมิให้นำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36มาใช้บังคับ ดังนั้นการร้องขอให้ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าให้ศาลริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว เป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของข้อความในมาตรา 30 วรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์นำมาใช้ในการวินิจฉัยขึ้นอ้างอิง และบทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฎหมายบทเดียวกับที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ดังนี้ศาลอุทธรณ์จึงมิได้ยกข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามมาตรา 32 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลงบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีของการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามมาตรา 22 อันเป็นคนละกรณีกับกรณีตามมาตรา 30 จึงไม่อาจปรับบทบัญญัติตามมาตรา 32 มาใช้บังคับคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2534 การพิจารณาตามมาตรา 30 และการไม่นำบทบัญญัติ ป.อ.มาตรา 36 มาใช้
การดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27 และการร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 30
การร้องขอให้ริบทรัพย์คดีนี้เป็นการยื่นคำร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครี่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 การริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนี้ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ บัญญัติมิให้นำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 36 มาใช้บังคับ ดังนั้นการร้องขอให้ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าให้ศาลริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว เป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของข้อความในมาตรา 30 วรรคสามที่ศาลอุทธรณ์นำมาใช้ในการวินิจฉัยขึ้นอ้างอิง และบทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฎหมายบทเดียวกับที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ดังนี้ศาลอุทธรณ์จึงมิได้ยกข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ตามมาตรา 32 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลงบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีของการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยตามมาตรา 22 อันเป็นคนละกรณีกับกรณีตามมาตรา30 จึงไม่อาจปรับบทบัญญัติตามมาตรา 32 มาใช้บังคับคดีนี้ได้
การร้องขอให้ริบทรัพย์คดีนี้เป็นการยื่นคำร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครี่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 การริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนี้ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ บัญญัติมิให้นำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 36 มาใช้บังคับ ดังนั้นการร้องขอให้ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าให้ศาลริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว เป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของข้อความในมาตรา 30 วรรคสามที่ศาลอุทธรณ์นำมาใช้ในการวินิจฉัยขึ้นอ้างอิง และบทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฎหมายบทเดียวกับที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ดังนี้ศาลอุทธรณ์จึงมิได้ยกข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ตามมาตรา 32 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลงบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีของการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยตามมาตรา 22 อันเป็นคนละกรณีกับกรณีตามมาตรา30 จึงไม่อาจปรับบทบัญญัติตามมาตรา 32 มาใช้บังคับคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกถูกจำกัดเนื่องจากสถานะทายาทลำดับที่ 4 และการอ้างสิทธิเกินขอบเขตคำร้อง
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกเพียงว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเพียงผู้เดียวโดยมิได้อ้างสิทธิหรือส่วนได้เสียอย่างอื่น เมื่อปรากฎตามคำร้องขอนั้นชัดแจ้งว่า เจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่อีก 2 คน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ 3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3)ซึ่งยัง มีชีวิตอยู่ ส่วนผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดาเดียวกับเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทอันดับ 4 ตามมาตรา 1629(4)ดังนี้ ผู้ร้องจึงถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่งและเมื่อผู้ร้องมิใช่ทายาทของเจ้ามรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713(1) จึงไม่อาจร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้ และแม้ทายาทของเจ้ามรดกที่มีชีวิตอยู่ดังกล่าวถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง และทายาทนั้นไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ และหากไม่มีผู้จัดการมรดกจะทำให้ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกเกิดความเสียหายได้ก็ตามแต่เมื่อผู้ร้องอ้างสิทธิในการขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกตามมาตรา 1713(1) ชัดแจ้งอยู่แล้ว การที่จะไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องยังมีสิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิของการเป็นทายาทโดยธรรม ย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกคำร้องขอและนอกประเด็น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่จำต้องทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเป็นผู้จัดการมรดกจำกัดเฉพาะทายาทตามกฎหมาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิเนื่องจากเป็นทายาทอันดับ 4
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกเพียงว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเพียงผู้เดียว โดยมิได้อ้างสิทธิหรือส่วนได้เสียอย่างอื่น เมื่อปรากฏตามคำร้องขอนั้นชัดแจ้งว่า เจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่อีก 2 คน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ 3 ตามป.พ.พ.มาตรา 1629 (3) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ส่วนผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดาเดียวกับเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทอันดับ 4 ตามมาตรา 1629 (4) ดังนี้ ผู้ร้องจึงถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง และเมื่อผู้ร้องมิใช่ทายาทของเจ้ามรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713 (1) จึงไม่อาจร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้ และแม้ทายาทของเจ้ามรดกที่มีชีวิตอยู่ดังกล่าวถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง และทายาทนั้นไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ และหากไม่มีผู้จัดการมรดกจะทำให้ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกเกิดความเสียหายได้ก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องอ้างสิทธิในการขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกตามมาตรา 1713 (1) ชัดแจ้งอยู่แล้ว การที่จะไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องยังมีสิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิของการเป็นทายาทโดยธรรม ย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกคำร้องขอและนอกประเด็น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่จำต้องทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินตามคำสั่งนายกฯ การพิสูจน์สิทธิในทรัพย์สิน และการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.40/2516 และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ต่างออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆโดยมติของคณะรัฐมนตรีได้และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นรวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งที่ สลร.40/2516ให้อายัดทรัพย์ของจอมพลถ. และภริยากับพวกรวม 6 คน รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 2361 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาท มีชื่อโจทก์และท่านผู้หญิงจ. ภริยาจอมพล ถ.ร่วมกันในโฉนดที่ดิน คณะกรรมการซึ่งดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ได้อายัดที่ดินพิพาทไว้ต่อมามีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ให้ทรัพย์สินของจอมพล ถ. และภริยา กับพวกรวม 6 คน ซึ่งอายัดไว้ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ตกเป็นของรัฐ ให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐ และให้ดำเนินการตามควร ทุกประการในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ การที่ปรากฏชื่อของโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยเท่านั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิตามคำสั่งที่ สลร.39/2517 ข้อ 5 แล้วและต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยตามข้อ 6 ว่า โจทก์มิได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีหลวงจ.เมื่อพันตรีหลวง จ. ได้ทำพินัยกรรม ยกให้ท่านผู้หญิง จ.แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ดังนี้เท่ากับคณะกรรมการวินิจฉัยแล้วว่าที่ดินพิพาท เป็นของท่านผู้หญิง จ. และในชั้นพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อวินิจฉัยดังกล่าวของคณะกรรมการได้ ที่ดินพิพาทก็ย่อมตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515ระบุไว้ชัดว่าต้องการให้การสอบสวนเรื่องทรัพย์สินที่อายัดไว้แล้วนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้น คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจึงมีหน้าที่ทำการสอบสวนให้เสร็จไปโดยเร็ว การที่คณะกรรมการไม่แจ้งให้โจทก์นำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดเข้าสืบประกอบเอกสารซึ่งคณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้วก็ดีหรือนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาเป็นข้อวินิจฉัยก็ดี ย่อมอยู่ ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร อันจักพึงชี้ ให้เห็นได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ซึ่งได้มาโดยสุจริตและโดยชอบหรือไม่ หาใช่จำกัดไว้เฉพาะข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย และได้ปฏิบัติ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 การพิจารณาของ คณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย