พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: ระเบียบข้อบังคับนายจ้างต้องไม่ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ให้ความคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างโดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้... (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว... การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย 3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้น กลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นได้ให้ความคุ้มครองไว้ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างนักการภารโรงฐานประพฤติตนไม่เหมาะสมและแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งนักการภารโรงเรียกและรับเงินจากบริษัท อ. เป็นค่าจัดการโอนย้ายและติดตั้งโทรศัพท์ตามหมายเลขของ ป. ให้แก่บริษัทดังกล่าว แล้วไม่นำเงินไปชำระแก่ ป. เป็นเหตุให้ ป. ไม่ดำเนินการโอนโทรศัพท์ให้การกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ที่จะขอใช้บริการของจำเลยโดยมิชอบและเป็นการกระทำในเรื่องที่นอกเหนือจากตำแหน่งหน้าที่ เป็นที่เสื่อมเสียและอาจเกิดความเสียหายแก่จำเลย ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติงานของจำเลยที่กำหนดว่าประพฤติตนไม่เหมาะสมซึ่งจำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ และการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) อีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางวินัยเกินข้อบังคับ: การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ทำงานล่วงเวลา
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุไม่มีข้อความกล่าวถึงสิทธิของนายจ้างในการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติ และโทษของลูกจ้างซึ่งฝ่าฝืนไว้ ต่อมานายจ้างได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติได้ นายจ้างจึงกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับคำสั่งลงลายมือชื่อในบัญชีพนักงานทำงานล่วงเวลา และได้กำหนดโทษลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นขั้น ๆ ไว้ในเอกสารดังกล่าวถือว่าเป็นกรณีที่ นายจ้าง กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมนายจ้างจึงต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับที่เพิ่มเติมนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบการเงินอย่างร้ายแรง กรณีไม่นำเงินฝากตามกำหนด
จำเลยได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเป็นเงินสดว่า ให้หัวหน้าหน่วยอำเภอเป็นผู้เก็บรักษาเงินสดที่ได้จากการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเป็นผู้รับผิดชอบส่งเงินสดที่มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไปฝากธนาคารหรือส่งให้สาขา โจทก์เป็นหัวหน้าหน่วยสินเชื่ออำเภอสุไหงปาดีมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงิน จึงต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวอย่างเคร่งรัด มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อกิจการธนาคารของจำเลย จนอาจทำให้ไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ การที่โจทก์รับเงินจากลุกค้าการเกษตรไว้จำนวน 1,074 บาท แม้จะเกินจำนวนที่โจทก์สามารถเก็บรักษาไว้ได้โดยไม่ต้องส่งฝากเข้าบัญชีเงินฝากของสาขาเพียง 74 บาท แต่เมื่อโจทก์ส่งฝากเข้าบัญชีสาขาล่าช้าถึง 5 วัน ทั้งที่โจทก์สามารถนำเงินไปฝากได้ทันทีตามกำหนดนั้น ถือได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างขัดแจ้งอันเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนทางวินัยต้องชัดเจนและเฉพาะเจาะจง การเลิกจ้างโดยอ้างซ้ำคำเตือนกว้างๆ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ลูกจ้างระบุว่าลูกจ้างทำผิดวินัย และมีคำเตือนว่าหากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีก นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่คำสั่งดังกล่าวมิได้ระบุว่าลูกจ้างกระทำการใดที่ถือว่าเป็นการผิดวินัย ทั้งได้ระบุข้อวินัยที่อ้างว่าลูกจ้างทำผิดไว้ถึง 5 ข้อ เช่นนี้ จึงเป็นการเตือนที่กว้างเกินไป ลูกจ้างย่อมไม่อาจทราบและปรับปรุงตนเองเพื่อมิให้กระทำผิดซ้ำคำเตือนนี้ได้ นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนดังกล่าวและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47 (3) มิได้
ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือ ได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือ ได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทะเลาะกับภริยาในที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการประพฤติชั่วร้ายแรง หรือจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
ลูกจ้างมีเรื่องด่าและทำร้ายภริยาของลูกจ้างในสถานที่ทำการของนายจ้าง การที่ลูกจ้างไม่ยอมเชื่อฟังและแสดงกิริยาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาก็เนื่องจากการทะเลาะกับภริยาอันเป็นเรื่องส่วนตัวที่เกิดจากความหึงหวงเพราะภริยาไม่กลับบ้านและลูกจ้างไม่พอใจที่มีผู้อื่นมาห้ามปราม การกระทำดังนี้ยังไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และไม่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ส่วนการที่ผู้บังคับบัญชาห้ามปรามลูกจ้างนั้นก็ไม่ใช่เป็นคำสั่งที่มีกิจจะลักษณะแต่อย่างใด คงมีความประสงค์เพียงให้ลูกจ้างกับภริยาเลิกทะเลาะวิวาทกันเท่านั้นการที่ลูกจ้างไม่เชื่อฟังจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันจะเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำเตือนลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิใช้วิธีการอื่นนอกเหนือจากการให้ลงชื่อรับทราบได้ การไม่ลงชื่อไม่ใช่ความผิด
เมื่อนายจ้างออกคำเตือนเป็นหนังสือแก่ลูกจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดวิธีการแจ้งคำเตือนให้ลูกจ้างทราบ การให้ลูกจ้างลงชื่อทราบคำเตือนมิใช่วิธีการอย่างเดียวสำหรับการแจ้งคำเตือน นายจ้างอาจใช้วิธีการอย่างอื่นแทนได้ เช่น การแจ้งด้วยวาจาหรือปิดประกาศให้ทราบ ดังนั้น การที่ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำเตือนเป็นหนังสือตามที่นายจ้างสั่งจึงไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าจ้างค้างจ่าย: การพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้างจากหนังสือเลิกจ้างและคำให้การ
แม้หนังสือเลิกจ้างโจทก์จะมิได้ระบุสาเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้โดยตรงว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงาน ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อความในหนังสือทั้งหมดที่มีใจความว่า ว. กรรมการบริษัทจำเลยนายจ้างขอให้โจทก์ไปพบเกี่ยวกับงานของโจทก์ในวันที่ 15 ตุลาคม 2529 โจทก์ไม่ติดต่อกับ ว.และไม่ได้ไปที่สำนักงานหลีกเลี่ยงไม่เข้ารับหน้าที่และไม่มีการติดต่อจากโจทก์อีกจนถึงวันที่ 21 ตุลาคม และหลังจากนั้นบริษัทจำเลยจึง เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2529 ดังนี้ย่อมสามารถเข้าใจได้แล้วว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าหนังสือเลิกจ้างดังกล่าวจะถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ได้จึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงาน: กรณีร้ายแรงเพียงพอหรือไม่
การที่โจทก์ทำร้ายร่างกายด้วยการชกต่อย ว. ลูกจ้างของจำเลยในระหว่างเปลี่ยนกะการทำงาน เป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ว่า ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่พนักงานอื่น แต่ไม่ปรากฏว่า ว. ได้รับบาดเจ็บมากน้อยเท่าใด หรือเป็นการกระทบกระเทือนกิจการงานของจำเลยและรบกวนการทำงานของพนักงานอื่นอย่างไรแม้ศาลจะลงโทษจำคุกโจทก์ 1 เดือน ปรับ 500 บาท และให้รอการลงโทษจำคุกไว้ก็ยังไม่เพียงพอจะถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง อันจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่เป็นธรรมเนื่องจากพนักงานมีส่วนร่วมในธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง
ตามคู่มือพนักงานของบริษัทจำเลย ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ได้ออกข้อกำหนดห้ามพนักงานประกอบหรือร่วมกับบุคคลอื่นประกอบธุรกิจที่บริษัทจำเลยได้กระทำอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลย ไม่ว่าจะได้กระทำในหรือนอกเวลาปฏิบัติงานของบริษัทจำเลยก็ตาม หรือจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม พนักงานซึ่งกระทำการดังกล่าวก็ย่อมมีความผิดทั้งสิ้น กรณีคงมีข้อยกเว้นให้กระทำได้ต่อเมื่อรับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยเพียงประการเดียวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทจำเลยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบผลไม้แช่แข็งกับห้างอื่น อันเป็นธุรกิจที่บริษัทจำเลยประกอบอยู่และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลย โจทก์ก็ย่อมมีความผิดตามคู่มือพนักงานอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้วการที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม.