คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวิช กำเนิดเพ็ชร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 383 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการอุทธรณ์/ฎีกาของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง และการยกประเด็นโดยศาลฎีกา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง ก. และ พ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ก. มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ถูกกระทบสิทธิโดยคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือว่า ก. เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่อยู่ในฐานะที่จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อขอให้ตั้ง ก. เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอุทธรณ์ฎีกาของผู้จัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาหากมิได้ถูกกระทบสิทธิโดยตรง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งก. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้ร้องจึงเป็นคู่ความในคดีนี้ส่วนก. มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ถูกกระทบสิทธิโดยคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือว่าก. เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่อยู่ในฐานะจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ปัญหาว่าก. มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอุทธรณ์ฎีกาของผู้ที่มิได้เป็นคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง ก.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้ร้องจึงเป็นคู่ความในคดีนี้ ส่วน ก.มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ถูกกระทบสิทธิโดยคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถือว่า ก.เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่อยู่ในฐานะจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ปัญหาว่าก.มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยไม่สุจริตของกรรมการบริษัทที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและเพิกถอนสัญญาเช่าได้
จำเลยที่ 1 ขณะเป็นกรรมการของบริษัท ส. ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมอาคารโรงงานที่พิพาทของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของบริษัท ส. โดยมีข้อตกลงว่าระหว่างอายุสัญญาจำนอง จำเลยที่ 1จะไม่นำทรัพย์จำนองไปทำให้เสื่อมสิทธิใด ๆ รวมทั้งให้บุคคลอื่นเช่า เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์ได้เรียกให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังให้บริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการอยู่ด้วยเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยทำสัญญาเช่ากันเพียงอาคารโรงงานเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานที่ดิน แต่ความจริงเป็นการเช่าทั้งที่ดินและอาคารโรงงานที่พิพาทการทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาท จึงเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจำนองและเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต การทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยจดทะเบียนการเช่าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอไว้มีกำหนด 20 ปี ย่อมทำให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์จำนองอันไม่อาจนำที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ และทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่มีผู้เข้าสู้ราคา จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าดังกล่าวทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โดยขณะที่ทำนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งได้ลาภงอกแต่การนั้นได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าดังกล่าวเสียได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน การเลื่อนกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้วยพยานบุคคล
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์ โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายการที่โจทก์นำสืบว่ามีการเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์จากวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหาใช่นำสืบว่าวันที่กำหนดโอนไว้ในสัญญาไม่ใช่วันที่ระบุไว้ในสัญญา จึงมิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจะซื้อขาย: การเลื่อนโอนกรรมสิทธิ์ & การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดิน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายการที่โจทก์นำสืบว่ามีการเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์จากวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหาใช่นำสืบว่าวันที่กำหนดโอนไว้ในสัญญาไม่ใช่วันที่ระบุไว้ในสัญญาจึงมิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4981/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การไม่ชัดเจนเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์, ภาระจำยอมโดยอายุความ, และขอบเขตทางภาระจำยอม
จำเลยให้การว่า โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทตามฟ้องหรือไม่อย่างไร จำเลยที่ 1 ไม่ทราบและไม่รับรอง เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง จึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์เพราะเหตุไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ชาวบ้านซึ่งรวมถึงผู้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ใช้ซอยพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยเจตนาให้ซอยพิพาทเป็นทางภาระจำยอม และระยะเวลาที่ใช้รวมกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
ทางภาระจำยอมในส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง3 เมตร และจำเลยได้สร้างรั้วปิดกั้นทางภาระจำยอมส่วนนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าทางภาระจำยอมตามแผนที่ท้ายฟ้องกว้าง 6 เมตร มีความยาวเท่ากับความยาวของที่ดินตามโฉนดของจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่เป็นทางภาระจำยอมกว้างเท่าใด เพราะตามแผนที่ท้ายฟ้องระบุว่าทางภาระจำยอมอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้าง 3 เมตร และอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2และที่ 3 กว้าง 3 เมตร อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาจึงแก้ในส่วนนี้ให้ชัดเจน
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ทั้งแปด โจทก์ที่ 5 มิได้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ที่ 5ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4981/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความและประเด็นอำนาจฟ้อง การพิพากษาเกินคำขอ
จำเลยให้การว่า โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทตามฟ้องหรือไม่อย่างไร จำเลยที่ 1 ไม่ทราบและไม่รับรอง เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองถือไม่ได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง จึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์เพราะเหตุไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ชาวบ้านซึ่งรวมถึงผู้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ใช้ซอยพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยเจตนาให้ซอยพิพาทเป็นทางภารจำยอม และระยะเวลาที่ใช้รวมกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 ทางภารจำยอมในส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง3 เมตร และจำเลยได้สร้างรั้วปิดกั้นทางภารจำยอมส่วนนี้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าทางภารจำยอมตามแผนที่ท้ายฟ้องกว้าง 6 เมตร มีความยาวเท่ากับความยาวของที่ดินตามโฉนดของจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่เป็นทางภารจำยอมกว้างเท่าใด เพราะตามแผนที่ท้ายฟ้องระบุว่าทางภารจำยอมอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้าง 3 เมตรและอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 กว้าง 3 เมตรอันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาจึงแก้ในส่วนนี้ให้ชัดเจน ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ทั้งแปด โจทก์ที่ 5 มิได้อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนภารจำยอมให้แก่โจทก์ที่ 5 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931-4933/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องการมอบอำนาจ และการครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยที่4และที่5ให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์และโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินขึ้นเองโดยไม่สุจริตเท่านั้นจำเลยที่4และที่5หาได้ให้การว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ช. เป็นตัวแทนของโจทก์เพื่อทำสัญญาเช่าที่พิพาทและกรณีไม่อาจแปลความได้ว่าจำเลยที่4และที5ได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาข้อนี้ไว้แล้วถือได้ว่าปัญหาดังกล่าวจำเลยที่4และที5ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิได้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทซึ่งให้จำเลยเช่าต่อมาไม่ประสงค์ให้จำเลยที่4และที่5และที่6อยู่ในที่ดินดังกล่าวขอให้บังคับจำเลยออกจากที่พิพาทจำเลยให้การว่าจำเลยที่4ที่5และที่6ครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์แล้วการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและพิพากษาว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงตรงตามประเด็นที่ว่าจำเลยแต่ละคนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382หรือไม่แล้วหาขัดต่อมาตรา142แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งข้าราชการภายใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: อำนาจรองอธิการบดีและขอบเขตการสั่งการ
การแต่งตั้งจำเลยที่ 2 ของจำเลยที่ 4 เป็นการแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 18 และ 21 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพ.ศ.2517 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับประโยชน์ในการบังคับบัญชาของรองอธิการบดีที่ให้ถือว่าเป็นอธิการบดี การสั่งแต่งตั้งดังกล่าวจึงเป็นกรณีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติราชการในกองธุรการวิทยาเขตสงขลา มิใช่สั่งการให้เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองธุรการวิทยาเขตโดยให้รับอัตราเงินเดือนในตำแหน่งดังกล่าว การที่จำเลยที่ 4 มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองธุรการวิทยาเขตสงขลาอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงเป็นการชอบแล้ว
of 39