พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การกระทำที่ไม่ถึงขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท และต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้นำเรียกร้องให้จำเลยชี้แจงกรณี ด.ลูกจ้างคนหนึ่งของจำเลยถูกตำรวจจับกุมในข้อหาลักทรัพย์ของจำเลย กับนัดแนะให้ลูกจ้างรวมตัวกันเพื่อกระทำการอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยให้ตำรวจชี้แจงในเรื่องดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังไม่พอใจได้นัดแนะให้ลูกจ้างคอยฟังรายละเอียดในตอนเย็นวันนั้น เมื่อการกระทำของโจทก์ดังกล่าวศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยยังไม่ได้รับความเสียหาย กรณีจึงยังไม่เข้าเหตุตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ว่าลูกจ้างได้ทำให้ทรัพย์สินของบริษัทเสียหาย ซึ่งจำเลยถือเป็นเหตุที่ร้ายแรง ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 และยังไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบซ้ำหลังได้รับคำเตือนแล้ว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน 3 วัน และขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วย หาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1916/2527)
ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ส. กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้าง ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 123 อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ไม่
ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ส. กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้าง ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 123 อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ถูกจับกุมคุมขัง นายจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหากลูกจ้างไม่แจ้งเหตุ
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ถูกจับกุมและควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2529 จนถึงวันที่ 12 มีนาคม 2529 อันเป็นวันที่จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นเวลานานเกือบ 2 เดือน โดยละเลยไม่นำพาที่จะแจ้งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างทราบ เพื่อที่จำเลยจะได้ดำเนินการหาคนมาปฏิบัติหน้าที่แทน ทั้งที่โจทก์มีโอกาสที่จะแจ้งให้จำเลยทราบถึงเหตุที่ไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่า กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตามความหมายของ มาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตอกบัตรแทนกันเป็นเหตุเลิกจ้างได้ หากระเบียบบริษัทกำหนดชัดเจนและถือเป็นการกระทำผิดร้ายแรง
ระเบียบการทำงานของจำเลยกำหนดว่าการตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานแทนผู้อื่นเป็นการกระทำผิดวินัย การตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานมีความสำคัญในการปกครองพนักงานของบริษัทจำเลยให้เป็นไปโดยเรียบร้อยเป็นหลักฐานในการจ่ายค่าจ้าง ป้องกันการทุจริตแสวงหาประโยชน์ได้ค่าจ้างโดยมิได้มาทำงานตามบัตรตอกบันทึกเวลาทำงานนั้น โจทก์ได้กระทำผิดตอกบัตรแทนกันกับผู้อื่น จึงเป็นพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1497/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดวินัย แต่ไม่ร้ายแรง ศาลฎีกาพิพากษาให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าว
การที่โจทก์ออกจากสำนักงานไปสอนหนังสือในเวลาทำงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา เป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่โจทก์ไปสอนหนังสือน้อยครั้งและสอนครั้งละเพียง 2 ชั่วโมง ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยโดยไม่ตักเตือน ต้องพิจารณาเหตุผลและพฤติการณ์ หากไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยเป็นบริษัทรับจ้างเฝ้ายามตามสถานที่ต่าง ๆ โจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยได้รับคำสั่งให้ไปอยู่เวรที่โรงแรม ขณะอยู่เวรโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเพราะเหตุน้อยใจที่ถูกผู้จัดการรักษาความปลอดภัยของโรงแรมต่อว่านั้น แม้จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างและเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวก็มิใช่เป็นกรณีที่ร้ายแรง โดยนายจ้างไม่จำต้องตักเตือน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้ โดยไม่ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือก่อนกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากจดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง หากไม่กระทบต่อการทำงานและชื่อเสียงนายจ้าง
กรณีใดจะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) หรือไม่ ต้องพิจารณาตามข้อ 47 (3) นั้นเอง มิใช่ว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าการกระทำใด ๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จะต้องถือว่าการกระทำนั้น ๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรงตามข้อ 47(3) เป็นการเด็ดขาดไปเลยไม่ การจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์หาได้ส่งผลไปถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิในทางดีหรือไม่ดีประการใดแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ ทั้งไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ในระหว่างหมู่คณะของลูกจ้าง ไม่เป็นเหตุให้ขาดความสามัคคี ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน จนทำให้การทำงานไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น แม้คำสั่งเลิกจ้างจะได้ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย ก็หาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(3) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603-2604/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การมาประชุมสายและการพิจารณาความร้ายแรงของวินัย
จำเลยเรียกประชุมพนักงานทั้งหมดก่อนเวลาทำงานปกติถึงสองชั่วโมง คำสั่งนัดพนักงานมาประชุมก็ระบุเพียงว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอความคิดเห็นและขอความร่วมมือ หาได้ระบุเน้นความสำคัญของหัวข้อประชุมไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าการประชุมในวันนี้มีเรื่องสำคัญอะไร โจทก์ไม่ได้ขาดประชุมเพียงแต่มาประชุมไม่ทันกำหนดเวลานัดเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างไร การกระทำของโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดคำสั่งของจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย หรือเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 และไม่เข้ากรณีที่จะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการลอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558-2559/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานหย่อนความสามารถต้องไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และการลากิจ/ลาป่วยที่ได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน 45 วันต่อปี ติดต่อกัน 2 ปี โดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบ ไม่ถือเป็นความผิดและไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หนังสือทัณฑ์บนมีข้อความเพียงบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่า ถ้าถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง 2 ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือน โจทก์ถูกเลิกจ้างฐานหย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่การงานไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิ่มวงเงินค้ำประกันที่ไม่เกี่ยวข้องงาน ย่อมต้องจ่ายค่าชดเชย
คำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์เพิ่มวงเงินค้ำประกันจาก 30,000 บาท เป็น 50,000 บาท เป็นคำสั่งอันนอกเหนือจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันเพิ่มขึ้นได้ตามความประสงค์ของจำเลย ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)