คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 47 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง: มึนเมาในที่ทำงาน, ก้าวร้าว, ละทิ้งหน้าที่
โจทก์มึนเมาสุราในเวลาทำงาน พูดจาก้าวร้าวท้าทาย ส.หัวหน้าแผนกธุรการแล้วละทิ้งหน้าที่ออกจากโรงงานไป เป็นการก่อให้เกิดสภาพไม่มีระเบียบวินัย ทำลายความสงบเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน ทำลายความสามัคคีก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท เสียหายต่อการปกครองบังคับบัญชา และเสียหายแก่การงานของจำเลยที่โจทก์ละทิ้งไป ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท และการเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกายภรรยาไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทจำเลยที่มอบอำนาจให้ ช. ดำเนินคดีในศาลแรงงานกลางนั้นมี ส. ลงชื่อผู้เดียว จำเลยอุทธรณ์ว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดให้ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. และประทับตราของบริษัทด้วย การมอบอำนาจจึงไม่ผูกพันจำเลยนั้น ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็มีอำนาจที่จะไม่วินิจฉัยให้ได้
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าการทำร้ายร่างกายกันเป็นความผิดทางวินัย มิได้ระบุว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงดังนั้น การกระทำใดจะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไปโจทก์ตบตีภรรยาซึ่งเป็นคนงานด้วยกันแต่ไม่ปรากฏว่าได้รับบาดเจ็บ แม้จะเป็นภายในบริเวณโรงงานแต่ก็นอกเวลาทำงาน และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้าง การกระทำของโจทก์จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขัดคำสั่งย้ายงาน และขอบเขตโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับ
ข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดโทษทางวินัยไว้ 2 สถานคือสถานเบาและสถานหนัก ข้อ 18 ก. เป็นโทษสถานเบาซึ่งกำหนดข้อห้ามในเรื่องไม่มีความสำคัญ ข้อ 18 ก.23 กำหนดว่าละเลยไม่เอาใจใส่ต่อประกาศและคำสั่งต่าง ๆ ของโรงแรม จึงหมายความว่าเป็นเรื่องที่จำเลยออกประกาศหรือคำสั่งใด ๆ ที่กำหนดถึงการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่ไม่มีความสำคัญนัก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่พนักงานขายจัดเลี้ยง การที่โจทก์ขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อจำเลยได้ ซึ่งมิใช่เป็นความผิดเล็กน้อยอันจะพึงได้รับโทษสถานเบา เมื่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดความผิดในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ กรณีต้องปรับด้วยบทกฎหมายที่มีอยู่คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เมื่อโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกล่าวล่วงหน้า
คำว่าค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน หมายความรวมถึงค่าทนายความด้วย คู่ความจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดวินัยร้ายแรง แม้เป็นการกระทำนอกเวลางานและนอกสถานที่ทำงาน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
นายจ้างกำหนดระเบียบข้อบังคับให้ลูกจ้างปฏิบัติก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงาน และป้องกันมิให้ลูกจ้างกระทำการอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของนายจ้าง. ดังนั้นไม่ว่าลูกจ้างจะทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในขณะทำงานหรือนอกเวลาทำงาน กระทำภายในหรือภายนอกสถานที่ทำงาน ถ้าการกระทำนั้นอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือในทางอื่นใดแล้ว นายจ้างย่อมมีอำนาจพิจารณาลงโทษลูกจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับ โจทก์กระทำอนาจารโดยมีอาวุธต่อ ต. สาวใช้ของ อ. เพื่อนร่วมงานที่บ้านของ อ. ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา และผิดต่อศีลธรรม เป็นการไม่รักษาเกียรติและประพฤติชั่ว ทั้งฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุจริตการสอบเลื่อนตำแหน่งเป็นความผิดร้ายแรง สิทธิของนายจ้างในการปลดออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นเข้าสอบเลื่อนตำแหน่งแทน เป็นการทุจริตในการสอบซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงอยู่ในตัว จึงถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินับอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิปลดโจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตลอดจนค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การคำนวณค่าจ้าง และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในการฟ้องร้อง
ข้อที่จำเลยให้การว่าโจทก์ได้กระทำการอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงจงใจขัดคำสั่งหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของโจทก์ นั้น จำเลยมิได้แสดงข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่า โจทก์ได้กระทำการอย่างไร หรือขัดคำสั่งหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในเรื่องใด เป็นคำให้การไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่มีประเด็นที่จำเลยนำสืบ ส่วนคำให้การเรื่องข่มขู่อาฆาตจะทำร้ายหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของโจทก์และข่มขู่จะทำความเสียหายแก่เครื่องจักรของจำเลย มีความหมายอยู่ในตัว โจทก์ย่อมเข้าใจ แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การว่า การข่มขู่กล่าวด้วยถ้อยคำอย่างไรก็เป็นรายละเอียดซึ่งอาจนำสืบได้ คำให้การของจำเลยข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทสำหรับคำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่เคยให้โจทก์ทำงานเกินกว่าข้อตกลง หากทำเกินข้อตกลง จำเลยก็ได้จ่ายค่าทำงานดังกล่าวไปแล้ว เป็นคำให้การที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง จึงมีประเด็นข้อพิพาท แม้จำเลยจะมิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุแห่งการปฏิเสธอันทำให้ไม่มีสิทธิสืบหักล้าง แต่โจทก์ก็มีหน้าที่สืบให้สมฟ้อง จะอ้างว่าจำเลยยอมรับตามฟ้องโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานหาได้ไม่.
แม้สัญญาจ้างจะกำหนดให้โจทก์ทำงานวันละ 12 ชั่วโมงก็ตามเป็นเพียงคู่สัญญาตกลงกำหนดจำนวนชั่วโมงในการทำงานสำหรับวันหนึ่ง ๆ ไว้เท่านั้นกำหนดเวลาดังกล่าวอาจเป็นกำหนดเวลาทำงานตามปกติของลูกจ้างทั้งหมดก็ได้หรืออาจรวมทั้งกำหนดเวลาที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างด้วยก็ได้ เมื่อสัญญาจ้างข้อหนึ่งกำหนดว่า เวลาทำงานที่เกินวันละ 8 ชั่วโมงให้ได้รับค่าล่วงเวลา เวลาที่เกินนี้จึงเป็นการทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติค่าล่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ไม่ต้องนำมารวมกับค่าจ้างพื้นฐาน เพื่อคำนวณเงินประเภทต่าง ๆ
โจทก์ข่มขู่จะก่อวินาศกรรมแก่เครื่องจักรกลของจำเลยนั้นไม่ปรากฏระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดเป็นความผิดหรือโทษไว้ คงมีเฉพาะกรณีที่โจทก์ข่มขู่จะทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลย ที่ระบุว่า 'ข่มขู่ลูกจ้างอื่น' ซึ่งกำหนดโทษลูกจ้างผู้กระทำผิดไว้หลายระดับ เช่น ตักเตือน ลดเงินเดือนพักงาน หรือไล่ออกจากงาน มิได้กำหนดโทษขั้นไล่ออกจากงานไว้สถานเดียว แสดงว่า แม้ลูกจ้างกระทำผิดดังกล่าวจำเลยก็มิได้ถือเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรงอย่างเดียวจึงได้กำหนดโทษไว้หลายระดับ ทั้งการที่โจทก์กล่าวคำข่มขู่ดังกล่าวก็เพียงเพื่อยับยั้งมิให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานที่อื่น หามีเจตนาที่จะกระทำการตามที่ข่มขู่ การกระทำของโจทก์ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกกล่าวล่วงหน้า.
ตามสัญญาจ้างซึ่งกำหนดเงินเดือนพื้นฐานเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า 'เดือน' ไว้ว่า ให้หมายถึงระยะเวลาซึ่งเริ่มต้นในวันแรกของเดือนใด ๆ ในปฏิทินและสิ้นสุดในวันสุดท้ายของเดือนนั้น ๆ ตามปฏิทินดังนั้น เงินเดือนพื้นฐานซึ่งจำเลยจะจ่ายเป็นรายเดือนเต็มจำนวนให้แก่โจทก์นั้นโจทก์ต้องเป็นลูกจ้างของจำเลยเต็มเดือน กรณีที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยไม่เต็มเดือน เงินเดือนพื้นฐานย่อมลดลงตามส่วน แม้โจทก์จะทำงาน 14 วัน หยุด 14 วันและในเดือนที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโจทก์ทำงานครบ 14 วันแล้วก็ตาม โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างพื้นฐานเต็มเดือน เพราะสัญญาจ้างมิได้กำหนดให้สิทธิแก่โจทก์เช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขาดงานซ้ำหลังได้รับการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร สิทธิในการได้รับค่าชดเชย
เอกสารมีข้อความว่า '......เรียนนายบุญมีเนื่องด้วยท่านได้ประพฤติผิดระเบียบของห้างดังนี้......16 ขาดงานบ่อยไม่ตั้งใจทำงาน......ถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบของห้าง ฯ จึงขอแจ้งให้ท่านทราบไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เพื่อท่านจะได้แก้ไขปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมต่อไป โดยการลงโทษดังนี้เตือนด้วยวาจา......' ท้ายเอกสารนี้โจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบต่อท้ายลายมือชื่อผู้ตักเตือนไว้ เอกสารดังกล่าวมีข้อความที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงความผิดที่กระทำ และให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมต่อไป จึงมีลักษณะเป็นการตักเตือนโจทก์ในความผิดนั้นแล้ว หาใช่เป็นเพียงบันทึกการเตือนด้วยวาจาไม่ เมื่อโจทก์ขาดงานเป็นการละทิ้งหน้าที่ซ้ำอีก จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และฐานการคำนวณค่าจ้าง กรณีลูกจ้างถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการปิโตรเลียมตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตทำงานนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างเหตุที่ทำให้การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ว่า โจทก์ได้ทำการถูกต้องตามคำสั่งของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยกเอา เหตุที่กรมทรัพยากรธรณีเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของโจทก์มาเป็นเหตุ เลิกจ้าง โจทก์หาได้อ้างพฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ช่วยเหลือโจทก์ ดังที่ยกขึ้นอุทธรณ์เป็นเหตุสนับสนุนข้อหาตามฟ้องไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์
จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน
ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์
การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งและได้รับการตักเตือน
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างละทิ้งงานไปและถูกตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งข้อความในหนังสือเตือนมีว่า โจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่การงานไป และได้รับการตักเตือนแล้ว โดยโจทก์จำเลยลงชื่อไว้ หนังสือดังกล่าวมีข้อความอยู่ในตัวเองแล้วว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้แสดงความผิดของโจทก์ให้ปรากฏว่าโจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่การงานไป จึงเตือนให้โจทก์ระมัดระวังสังวรณ์ ไว้ เป็นทำนองว่ามิให้ละทิ้งงานอีกจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างที่ได้ตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำการฝ่าฝืนคำสั่ง โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดร้ายแรง และสิทธิในการได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานปากใดและไม่รับฟังพยานปากใดเป็นดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นประการใดแล้วข้อเท็จจริงย่อมยุติคู่ความจะอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอื่นหาได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาในระหว่างที่มีการประชุมพนักงานในบริษัทจำเลยจนปากแตกโลหิตไหล การกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการทำผิดอาญาซึ่งมีโทษตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการประพฤติตนไม่เหมาะสมไม่เคารพยำเกรงผู้บังคับบัญชาซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายด้านการปกครอง และไม่ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดเป็นความผิดรุนแรงมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ความผิดของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องตักเตือน และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ได้กระทำผิดตามข้อ 47 แล้ว จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทั้งสิ้นไม่ว่าปีใด
of 7