คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 47 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การสูบบุหรี่ในโรงงานกับการจ่ายค่าชดเชย แม้ฝ่าฝืนระเบียบ แต่เหตุไม่ร้ายแรงพอที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย
แม้จำเลยจะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามคนงานสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงานผู้ฝ่าฝืนอาจถูกให้ออกจากงานก็ตาม แต่สถานที่โจทก์สูบบุหรี่อยู่โกดังเก็บกระดาษ 2.50 เมตร สภาพกระดาษก็ไม่ใช่วัตถุไวไฟถึงกับมีการสูบบุหรี่ในระยะดังกล่าวแล้วสามารถลุกไหม้ได้ทั้งที่ที่โจทก์ยืนสูบบุหรี่อยู่ก็มีน้ำนองพื้น ยากที่จะเกิดเหตุไฟไหม้เนื่องจากการสูบบุหรี่ จึงยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การตักเตือน, ความร้ายแรงของความผิด, และอายุการทำงาน
หนังสือของโจทก์ผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวเพื่อรับทราบการลงโทษและทำทัณฑ์บนไว้ต่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เนื่องในการที่โจทก์ขับรถประมาทเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดความเสียหายแก่จำเลย ถือไม่ได้ว่ามีลักษณะเป็นหนังสือตักเตือนของจำเลย การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่ออีกซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัย แต่ตามข้อบังคับของจำเลยมิได้ถือว่าเป็นความเสียหายร้ายแรง จำเลยจึงจะเลิกจ้างโจทก์และไม่จ่ายค่าชดเชย โดยมิได้มีการตักเตือนเป็นหนังสือก่อน หาได้ไม่
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย 90 วันของค่าจ้างอัตราสุดท้าย จึงเท่ากับได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันถึงวันเลิกจ้างครบ 1 ปีฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าอายุการทำงานของโจทก์ถึงวันเลิกจ้างไม่ครบ 1 ปีจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ลูกจ้างขัดคำสั่งเนื่องจากเหตุผลส่วนตัวอันสมควร
โจทก์เป็นลูกจ้างที่นายจ้างยอมให้ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานตลอดมาเป็นเวลา 3 ปีเศษ เหตุที่โจทก์ไม่สามารถไปทำงานต่างจังหวัดเพราะต้องดูแลบุตรซึ่งยังเล็กและป่วยเป็นโรคหัวใจพิการ ต่อมาจำเลยผู้เป็นนายจ้างสั่งให้โจทก์ไปทำงานต่างจังหวัดโดยไม่ได้ให้โอกาสและเวลาแก่โจทก์ในการปรับตัวและหาทางแก้ไขข้อขัดข้องดังกล่าวบ้างตามสมควร โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อนจึงต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828-2829/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการสั่งให้ลูกจ้างเบิกความที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
อุทธรณ์ของโจทก์เพียงแต่นำคำเบิกความของตัวโจทก์และพยานมากล่าว แล้วสรุปตามคำเบิกความนั้นว่าคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางคลาดเคลื่อนต่อกฎหมายมิได้โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยนั้นคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรให้ชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
ลูกจ้างเป็นผู้ช่วยสมุหบัญชี ไม่มีหน้าที่ต้องไปศาลการที่นายจ้างให้ลูกจ้างนั้นไปเบิกความที่ศาลจึงไม่เกี่ยวกับการทำงาน ไม่เป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างตามกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน ดังนั้นเมื่อลูกจ้างไม่ไปเบิกความตามที่นายจ้างสั่งจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างฐานหย่อนสมรรถภาพ ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ หากมีข้อบังคับให้อำนาจเลิกจ้างได้
เมื่อจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานหย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติงานและมีความบกพร่องในการปฏิบัติงานอยู่เนือง ๆ ตามข้อบังคับของจำเลยที่ให้อำนาจผู้จัดการเลิกจ้างพนักงานในกรณีดังกล่าวได้ ดังนี้ การที่โจทก์หย่อนสมรรถภาพและมีความบกพร่องในการปฏิบัติงานจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2247/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำผิด
อุทธรณ์ที่ว่าศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนผิดไปจากหลักฐานในสำนวน เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 54
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้เฉพาะเป็นพนักงานที่มีหน้าที่จะต้องต้อนรับหรือบริการแขก มีอาการมึนเมา นำของมึนเมาเข้ามาทำงานหรือดื่มของมึนเมาในเวลาทำงาน เป็นการกระทำผิดกรณีร้ายแรง โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลไม่ใช่พนักงานที่มีหน้าที่ดังกล่าว แม้หากจะฟังได้ว่าโจทก์มีหน้าที่รับแขกที่มาติดต่อกับแผนกบุคคล ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องต้อนรับหรือบริการแขกโดยตรง การที่โจทก์กระทำผิดข้อบังคับนี้จึง มิใช่กรณีร้ายแรง
ส่วนที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์มีสิทธิได้ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าเสียหายเนื่องจากถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และเงินค่าบริการนั้น โจทก์ต้องยื่นเป็นฟ้องอุทธรณ์จะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดโทษฐานดื่มสุราใน ขณะปฏิบัติหน้าที่ของยามไว้ให้มีโทษถึงให้ออกหรือไล่ออก อันเป็นโทษสูงสุด แสดงว่าจำเลยประสงค์ให้การฝ่าฝืนระเบียบข้อนี้เป็นกรณีที่ร้ายแรง ทั้งผู้ว่าจ้างบริษัทจำเลยให้รักษาความปลอดภัยก็ประสงค์ให้ยามปราศจากการมึนเมาอย่างแท้จริง จึงกำหนดไว้ในสัญญาว่ายามที่ปฏิบัติหน้าที่จะต้องงดเว้นการดื่มสุราหรือเสพของมึนเมา 4 ชั่วโมง ก่อนถึงเวลาปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ การที่โจทก์ทั้งสองดื่มสุราในเวลาปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอาจทำให้ปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดหรือบกพร่องได้โดยง่าย เพราะขาดสติสัมปชัญญะ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ทั้งแก่บริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างของโจทก์ และแก่ผู้ที่ว่าจ้างบริษัทจำเลยให้รักษาความปลอดภัยให้ จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างวางข้อบังคับห้ามเล่นแชร์ การเลิกจ้าง และการคำนวณระยะเวลาทำงาน
จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจวางข้อบังคับห้ามมิให้ลูกจ้างเล่นแชร์ได้ แต่การเล่นแชร์เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งใช้บังคับได้ ไม่มีกฎหมายห้ามการเล่นแชร์ การเล่นแชร์ฝ่าฝืนข้อบังคับจึงไม่เป็นกรณีร้ายแรง
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เริ่มทำงานในวันแรก ดังนั้น การนับระยะเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องนับวันแรกแห่งระยะเวลาอันเป็นวันเริ่มทำการงานรวมคำนวณเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158
แม้จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 42 บัญญัติถึงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง ก็มิได้ซ้ำหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ 582 ซึ่งบัญญัติถึงการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง มาตราดังกล่าวจึงยังใช้บังคับในกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่แล้วด้วย
of 7