คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 56

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการเช่าทรัพย์สิน การเฉลี่ยรายได้ตามประกาศกระทรวงการคลัง และกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี
โจทก์ได้รับค่าตอบแทนในการจดทะเบียนสิทธิการเช่าตึกแถวโดยมีระยะเวลาการเช่าตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2545 จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์เฉลี่ยเงินได้เป็นรายปีจนกว่าจะสิ้นระยะเวลาการเช่าตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2499โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเอาเงินได้ส่วนที่เฉลี่ยนั้นยื่นรายการเงินได้เมื่อถึงกำหนดแต่ละปี จำเลยจะให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ทั้งหมดในคราวเดียวกันตามมาตรา 60 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยอ้างเหตุว่า โจทก์ยื่นรายการเงินได้ปีก่อน ๆ ไม่ถูกต้อง เป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากร เงินได้จากการจดทะเบียนสิทธิการเช่ามีรอบระยะเวลาที่ต้องเสียภาษีนาน ไม่มีหลักประกันว่าจะเสียภาษีภายในกำหนดเวลาและครบถ้วนนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มีหลักทรัพย์และไม่ยากที่จะเรียกเก็บภาษี ทั้งได้เสนอหลักทรัพย์ที่จะประกันการเสียภาษีดังกล่าวสูงกว่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียมาก ย่อมเห็นได้ว่าสามารถเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ได้แน่นอน ส่วนการหลีกเลี่ยงภาษีอากรโดยยื่นรายการภาษีในปีก่อน ๆ ไม่ถูกต้องนั้น โจทก์จะต้องรับผิดในเรื่องเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับอยู่แล้ว เหตุต่าง ๆดังที่จำเลยอ้างจึงมิใช่กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีตามมาตรา 60 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5504/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหนี้สูญ การเพิกถอนนิติกรรมเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการกระทำที่ทำให้ทรัพย์สินลดลง
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าตนได้ชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนจะต้องถูกประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่ม และหนี้ภาษีอากรที่ชำระไม่ครบถ้วนไว้ในปีใดก็เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้วในปีนั้น ไม่ใช่หนี้จะเกิดมีขึ้นในปีที่มีการแจ้งประเมิน การโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโอนไปโดยรู้อยู่ว่าตนมีหนี้ภาษีอากรที่จะต้องชำระ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะนำมาชำระหนี้ภาษีอากรให้แก่โจทก์ได้ การทำนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งหมดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 สมคบกับจำเลยที่ 1 เพื่อมิให้โจทก์สามารถที่จะนำเอาทรัพย์ที่รับโอนมานั้นบังคับชำระหนี้ได้ แต่จำเลยที่ 6 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทแปลงหนึ่งจากจำเลยที่ 5 ไม่ได้รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้จำเลยที่ 5 เป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงไม่อาจจะเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 6 ได้ โจทก์คงมีอำนาจที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทสามแปลงที่เหลือเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร และการระบุหน้าที่เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าสำหรับคณะบุคคล
โจทก์ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งแล้วขายไปได้กำไรเพียงเล็กน้อย แต่โจทก์ซื้อมาแล้วขายไปภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษ และก่อนขายที่ดินแปลงนี้ โจทก์ก็ได้ขุดหน้าดินไปถมที่ดินของคนอื่นซึ่งโจทก์รับเหมาถมที่ดินไปแล้ว เมื่อรวมเงินจากการขายที่ดินและเงินที่โจทก์ได้รับจากการขุดหน้าดินขายดังกล่าวแล้ว โจทก์มีกำไรมิใช่น้อย อีกทั้งโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินแปลงนี้และขอยกเว้นการเสียภาษีดังกล่าวตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากรจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ที่ดินแปลงนี้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินแปลงนี้ การที่โจทก์ซึ่งมีอาชีพรับจ้างถมดินซื้อที่ดินสองแปลงในระยะเวลาเดียวกันเพื่อขุดเอาหน้าดินไปถมที่ดินแปลงอื่น แล้วขายหรือจำหน่ายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นหลังจากขุดหน้าดินไปแล้ว นั้นถือได้ว่าโจทก์ขายที่ดินเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ซื้อขายที่ดินร่วมกับ ส. เข้าลักษณะของคณะบุคคลมีเงินได้พึงประเมินและรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 และ 77โจทก์จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีของคณะบุคคลนั้นทั้งหมดเต็มจำนวนมิใช่รับผิดเพียงครึ่งเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการเสียภาษี: การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าสำหรับผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งแล้วขายไปได้กำไรเพียงเล็กน้อย แต่โจทก์ซื้อมาแล้วขายไปภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษ และก่อนขายที่ดินแปลงนี้ โจทก์ก็ได้ขุดหน้าดินไปถมที่ดินของคนอื่นซึ่งโจทก์รับเหมาถมที่ดินไปแล้ว เมื่อรวมเงินจากการขายที่ดินและเงินที่โจทก์ได้รับจากการขุดหน้าดินขายดังกล่าวแล้ว โจทก์มีกำไรมิใช่น้อย อีกทั้งโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินแปลงนี้และขอยกเว้นการเสียภาษีดังกล่าวตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากรจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ที่ดินแปลงนี้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินแปลงนี้
การที่โจทก์ซึ่งมีอาชีพรับจ้างถมดินซื้อที่ดินสองแปลงในระยะเวลาเดียวกันเพื่อขุดเอาหน้าดินไปถมที่ดินแปลงอื่น แล้วขายหรือจำหน่ายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นหลังจากขุดหน้าดินไปแล้ว นั้นถือได้ว่าโจทก์ขายที่ดินเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์ซื้อขายที่ดินร่วมกับ ส. เข้าลักษณะของคณะบุคคลมีเงินได้พึงประเมินและรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 และ 77 โจทก์จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีของคณะบุคคลนั้นทั้งหมดเต็มจำนวน มิใช่รับผิดเพียงครึ่งเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วน/ทายาทในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วน/คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล และการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา56วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน2คนคือ ห. กับจำเลยที่1เมื่อ ห. ตายจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้นเมื่อจำเลยที่1ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่1แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชีผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา77และ84ฉวรรคสองเมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1055(5)และไม่มีการชำระบัญชีจำเลยที่1ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษีการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่1จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1025เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา89ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น15วันถัดจากเดือนภาษีทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: ห้างหุ้นส่วนเลิกกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหน้าที่ร่วมกันรับผิดชอบภาษีค้างชำระ แม้ต่อมามีการโอนมรดก
ประมวลรัษฎากร มาตรา 56 วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน 2 คน คือ ห. กับจำเลยที่ 1เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการ มีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และ 84 ฉวรรคสองเมื่อห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1025 เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระภาษีอากรตามแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ไม่ครอบคลุมกรณีที่ผู้เสียภาษียื่นรายการล่าช้าเกินกำหนด
แถลงการณ์กระทรวงการคลังเรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติมลงวันที่26กุมภาพันธ์2525มีความประสงค์ที่จะขยายเวลาชำระภาษีอากรโดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือมิได้หักภาษีไว้ณที่จ่ายหรือหักไว้ไม่ครบถ้วนได้มายื่นชำระภาษีอากรหรือเสียภาษีอากรเพิ่มเติมหรือนำส่งภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มใดๆทั้งสิ้นจากข้อความที่ว่าไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้นแสดงอยู่ในตัวว่าในขณะที่กระทรวงการคลังออกแถลงการณ์ได้ล่วงเลยกำหนดเวลาชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรมาแล้วแต่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือมิได้หักภาษีไว้ณที่จ่ายโดยระบุว่าการขยายเวลานั้นไม่รวมถึงภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งที่ถึงกำหนดเวลาเสียหรือนำส่งตามปกติในหรือหลังวันที่ที่ลงในแถลงการณ์แสดงว่าแถลงการณ์กระทรวงการคลังที่ขยายเวลาออกไปถึงวันที่31พฤษภาคม2525นั้นไม่รวมถึงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี2524ที่ต้องยื่นรายการภายในวันที่31มีนาคม2525ดังนี้การที่โจทก์ขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเมื่อวันที่10มีนาคม2524แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในวันที่31มีนาคม2525ตามมาตรา56แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์เพิ่งมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เมื่อวันที่28พฤษภาคม2525ซึ่งล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากแถลงการณ์กระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา42(9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาชำระภาษีสรรพากร: กรณีผู้ยื่นภาษีล่าช้าหลังกำหนด และผลกระทบต่อการได้รับการยกเว้นภาษี
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 มีความประสงค์ที่จะขยายเวลาชำระภาษีอากร โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือมิได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย หรือหักไว้ไม่ครบถ้วน ได้มายื่นชำระภาษีอากรหรือเสียภาษีอากรเพิ่มเติม หรือนำส่งภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มใด ๆ ทั้งสิ้น จากข้อความที่ว่า ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น แสดงอยู่ในตัวว่าในขณะที่กระทรวงการคลังออกแถลงการณ์ ได้ล่วงเลยกำหนดเวลาชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรมาแล้ว แต่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยังมิได้ ยื่นแบบแสดงรายการ หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือ มิได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย โดยระบุว่าการขยายเวลานั้นไม่รวมถึงภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งที่ถึงกำหนดเวลาเสียหรือนำส่งตามปกติในหรือหลังวันที่ที่ลงในแถลงการณ์ แสดงว่าแถลงการณ์กระทรวงการคลังที่ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2525 นั้นไม่รวมถึงการเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี 2524 ที่ต้องยื่นรายการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2525 ดังนี้การที่โจทก์ขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2524 แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2525 ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์เพิ่งมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2525 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากแถลงการณ์กระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว และไม่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาชำระภาษี การยื่นแบบเกินกำหนด และข้อยกเว้นภาษีจากทรัพย์สินที่ไม่ใช่การค้า
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 มีความประสงค์ที่จะขยายเวลาชำระภาษีอากร โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี หรือยื่น แบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือมิได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย หรือหักไว้ไม่ครบถ้วน ได้มายื่นชำระภาษีอากรหรือเสียภาษีอากรเพิ่มเติม หรือนำส่งภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มใด ๆ ทั้งสิ้น จากข้อความที่ว่า ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้นแสดงอยู่ในตัว ว่าในขณะที่กระทรวงการคลังออกแถลงการณ์ ได้ล่วงเลยกำหนดเวลาชำระ ภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรมาแล้ว แต่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยังมิได้ ยื่นแบบแสดงรายการ หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือ มิได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย โดยระบุว่าการขยายเวลานั้นไม่รวมถึงภาษีอากร ที่ต้องเสียหรือนำส่งที่ถึงกำหนดเวลาเสียหรือนำส่งตามปกติในหรือ หลังวันที่ที่ลงในแถลงการณ์ แสดงว่าแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ที่ ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2525 นั้นไม่รวมถึงการเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี 2524 ที่ต้อง ยื่นรายการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2525 ดังนี้การที่โจทก์ขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2524 แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2525 ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์เพิ่งมายื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2525 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ฉบับดังกล่าวและไม่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่และความรับผิดของผู้อำนวยการ/ผู้จัดการคณะบุคคลในการยื่นภาษีและเสียภาษีในนามคณะบุคคล รวมถึงความรับผิดร่วมของหุ้นส่วน
โจทก์เป็นผู้อำนวยการหรือผู้จัดการของคณะบุคคลซึ่งมีเงินได้พึงประเมินจึงมีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ตลอดทั้งเสียภาษีในชื่อของคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยไม่มีการแบ่งแยก เมื่อรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินของคณะบุคคลตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้จัดการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว ย่อมมีอำนาจทำการประเมินแจ้งจำนวนเงินเรียกเก็บภาษีเพิ่มไปยังโจทก์ตามมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรทั้งนี้โดยโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามมาตรา 56 วรรคสอง
การที่ มาตรา 56 วรรคสอง บัญญัติให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคล ร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระด้วย ไม่ทำให้หน้าที่และความรับผิดของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เจ้าพนักงานประเมินหาจำต้องเรียกให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลมาร่วมรับผิดกับโจทก์ไม่
of 5